เรื่อง การวางแผนและการบริหารจัดการความรู้ (KM Plan)
วันที่อบรม วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน 2554 (เวลา 09.00 – 12.00 น.)
วิทยากร ศาสตราจารย์ ดร. จีระ หงส์ละดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ
สรุปเนื้อหาการบรรยาย
การจัดการความรู้ (Knowledge Management หรือ KM) คือ เครื่องมือ เพื่อใช้ในการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 3 ประการไปพร้อม ๆ กัน คือ – บรรลุเป้าหมายของงาน – บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน – บรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization หรือ LO)
ความรู้ (Knowledge) แบ่งใหญ่ ๆ ได้ 2 ประเภท คือ
1. ความรู้เด่นชัด (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่อยู่ในรูปแบบที่เป็นเอกสาร หรือ วิชาการอยู่ในตำรา คู่มือปฏิบัติงาน
2. ความรู้ซ่อนเร้น (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่แฝงอยู่ในตัวคน เป็นประสบการณ์ที่สั่งสมมา ยาวนาน เป็นภูมิปัญญา
การจะวิเคราะห์ Knowledge ที่ชัด คือ การจัดการความรู้เพื่อไปสู่มูลค่าเพิ่ม ทฤษฎีมูลค่าเพิ่มจากฐานความรู้
– การเปลี่ยนข้อมูล (DATA) การเก็บ
– ข่าวสาร (INFORMATION) การจัดหมวดหมู่
– ความรู้ (KNOWLEDGE) วิจัย วิเคราะห์
– มูลค่าเพิ่ม (VALUE ADDED) การเปิดโลกทัศน์+ การบริหาร แบบแหวกวงล้อมที่ได้จังหวะ
– ความฉลาดเฉลียว (WISDOM)
จัดการความรู้จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ โลกของเราวันนี้มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันเป็นยุคของสังคมฐานความรู้ซึ่งแนวคิดนี้ได้เริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่ประมาณปี ค.ศ. 1994
โลกและการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคต่าง ๆ ถึงปัจจุบัน Agriculture ndustries IT S,W,C,I,I
จากยุคที่ 1 ยุคเกษตรกรรม สู่ยุคอุตสาหกรรม สู่ยุค Information Technology ปัจจุบันเรากำลังก้าวสู่ยุคที่ 4 หรือ Forth Wave ซึ่งในอนาคตเราจะต้องเน้น sustainability+ wisdom+ creativity+ Innovation+ intellectual capital
การมีความรู้ที่สุดทันสมัย และข้ามศาสตร์ มีประโยชน์ต่อตนเองและองค์กรอย่างมากมาย ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เราจำเป็นที่ต้องพัฒนา “ทุนมนุษย์” (Human Capital) และทุนทางความรู้ (Knowledge Capital) เป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญมาก
8 K’s : ทฤษฎีทุน 8 ประเภท พื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
– Human Capital ทุนมนุษย์
– Intellectual Capital ทุนทางปัญญา
– Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม
– Happiness Capital ทุนแห่งความสุข
– Social Capital ทุนทางสังคม
– Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน
– Digital Capital ทุนทาง IT
– Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะและทัศนคติ
5 K’s (ใหม่) : ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการ เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์
– Creativity Capital ทุนแห่งการสร้างสรรค์
– Knowledge Capital ทุนทางความรู้
– Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม
– Emotional Capital ทุนทางอารมณ์
– Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม
หลักคิดและปรัชญาของพระเจ้าอยู่หัวฯ
พระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเป็นตัวอย่างขององค์กรแห่งการเรียนรู้และเศรษฐกิจพอเพียง วิธีการคิด 4 แนว ก่อนที่จะเริ่มทำงานใดๆ ให้คิดถึงสิ่งต่อไปนี้
1) ทำอะไร
2) ทำอย่างไร
3) ทำเพื่อใคร
4) ทำแล้วได้อะไร
หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ความยั่งยืน ความผาสุข ความพอประมาณ ความมีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันที่ดี มีความรู้ มีคุณธรรมและจริยธรรม
หลักการในการทำงาน
1) คิด Macro ทำ Micro
2) ทำเป็นขั้นเป็นตอน
3) ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย
4) ทำอะไรให้นึกถึงภูมิสังคมของที่นั้น ๆ
5) การสื่อความ การประสานงาน และการบูรณาการ (Communication, Coordination, Integration)
6) ทำอะไรต้องมีผู้เป็นเจ้าของ
รู้ – รัก – สามัคคี
– รู้ คือ จะทำอะไรต้องไปศึกษาให้รู้จริง
– รัก คือ จะทำอะไรต้องสร้างฉันทะกับสิ่งนั้น ๆ
– สามัคคี คือ ทำอะไรก็ให้ทำเป็นทีม ร่วมมือร่วมใจกันทำให้มีประสิทธิภาพ
กฎของ Peter Senge อยู่ในหนังสือ Rethinking the Future
– Personal Mastery รู้อะไร รู้ให้จริง
– Mental Models มีแบบอย่างทางความคิด
– Shared Vision มีเป้าหมายร่วมกัน
– Team Learning เรียนรู้เป็นทีม ช่วยเหลือกัน
– System Thinking มีระบบการคิด มีเหตุมีผล
Habits: 7 อุปนิสัยของผู้ทรงประสิทธิผลสูง ของ Dr. Stephen Covey
1. Be proactive
2. Think with the end in mind
3. Put first thing first
4. Think win – win
5. Try to understand and then to be understood
6. Synergy
7. Sharpen the saw
Edwards De Beno กล่าวไว้ถึงเรื่อง Lateral Thinking ซึ่งแปลว่า การเป็นผู้เรียนรู้ที่ฉลาดและได้ผล ซึ่งจะต้อง
– ถามว่าที่ผ่านมาหรือเป็นมา ถูก หรือ ผิด
– ท้าทายความคิดที่ถูกยอมรับ เช่น ในอดีตมีการถกเถียงว่า โลกแบน หรือ โลกกลม
– หาทางออกใหม่ ๆ เช่น พยาบาลหรือหมอรู้ลึกและแคบ ควรฝึกคิดให้กว้างขึ้น เอาศาสตร์ต่าง ๆ มาใช้
ทฤษฎีเพื่อการสร้างวัฒนธรรมในการเรียนรู้ของ ดร.จีระ 4L’s, 3L’s, 2R’s, 2I’s, 4L’s 4L’s
• Learning Methodology
• Learning Environment
• Learning Opportunities
• Learning Communities
3L’s
Learning from pain
Learning from experiences
Learning from listening
2R’s
Reality
Relevance
2 I’s
Inspiration
Imagination
แนวคิดที่สำคัญเหล่านี้จะเป็นเครื่องช่วยนำพาองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ได้ และวันนี้สำหรับหลาย ๆ ท่านในที่นี้..ถือว่าน่าจะเป็นขั้นที่ 1คือ เล็งเห็นความสำคัญของการจัดการความรู้ (KM) แต่อย่าลืมว่า KM ยังไม่ใช่ LO และทุกท่านต้องมีความมุ่งมั่น ที่จะไปสู่ LO ให้ได้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์กร
สรุป
เมื่อมีความเข้าใจในทฤษฎีและแนวคิดของ KM และ LO แล้วจะทำอย่างไรให้ Awareness เกิดขึ้นอย่างจริงจัง ในวันนี้ ผมคิดว่าเราน่าจะวิเคราะห์
ประโยชน์ทื่ได้จากการอบรม