เรื่อง การบริหารแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์
วันที่อบรม วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน 2554 (เวลา 13.30 – 16.30 น.)
วิทยากร คุณจริยา บุณยะประภัศร ที่ปรึกษา บริษัท ซีอาร์เอ็มแอนด์คลาวด์
สรุปเนื้อหาการบรรยาย
แนวคิดการบริหารแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ หมายถึง แนวคิดที่มุ่งเน้นวิธีการบริหารจัดการเพื่อให้เกิดประสิทธิผล โดยมีการวางแผนและ การกำหนดเป้าหมาย เพื่อให้สามารถดำเนินการและติดตาม ประเมินผลเป้าหมายที่กำหนดทั้งในระดับส่วนงานและบุคคล ไปในทิศทางเดียวกันอย่างมีส่วนร่วมและสอดคล้องกับภารกิจ วัตถุประสงค์ และเป้าหมายขององค์กร
ประโยชน์ของการบริหารแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์
สนับสนุนให้หัวหน้างานและผู้ปฎิบัติงานตกลงและหารือเพื่อกำหนดเป้าหมายการปฏิบัติงานเพื่อที่จะดำเนินงานที่จะบรรลุเป้าหมายร่วมกัน กำหนดเป้าหมายของการปฏิบัติงานเพื่อเชื่อมโยงผลตอบแทน ช่วยผลักดันผลผลิตและผลลัพธ์ตลอดจนการสร้างผลงานตามค่าเป้าหมาย ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากรและผลงานของหน่วยงาน
เทคนิคในแต่ละขั้นตอนของการบริหารแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์
- ขั้นตอนการวางแผน (Plan)
- ขั้นตอนการติดตาม (Monitor)
- ขั้นตอนการพัฒนา (Develop)
- ขั้นตอนการประเมิน (Appraise)
- ขั้นตอนการให้รางวัล/ แรงจูงใจ (Reward)
1. เทคนิคในขั้นตอนการวางแผน (Plan)
- การถ่ายทอดตัวชี้วัดผลสำเร็จของเป้าหมายระดับองค์กรลงสู่หน่วยงาน (Goal Cascading Method)
- ความคาดหวังของผู้รับบริการ (Customer Focused Method
- การพิจารณาจาก ประเด็นสำคัญ (Issue-Driven)
- การไหลของงาน (Work Process Method)
** ปัจจัย (Competency -based)
ตัวคัดกรอง
- ตัวชี้วัด และ เป้าหมายของผู้ปฏิบัติ ณ ต้นรอบการประเมิน
- ตัวชี้วัด และ เป้าหมายที่ใช้ในการประเมิน ณ ช่วงเวลาที่ประเมิน
** งานและการเปลี่ยนแปลงระหว่างรอบการประเมินฯ
ตัวอย่าง Customer-focused Method
แนวทางนี้เหมาะกับหน่วยงานที่มีภารกิจหลักเกี่ยวข้องกับการให้บริการไม่ว่าจะเป็นลูกค้าภายในหรือลูกค้าภายนอก ซึ่งเน้นผลลัพธ์ของการปฏิบัติงานจากการให้บริการ ที่จะนำมากำหนด KPI/Target
ตัวอย่าง Work Flow Method
แนวทางนี้เหมาะกับหน่วยงานที่เน้นการปฏิบัติงานให้ได้ตามมาตรฐานงานเป็นหลัก ซึ่งผลลัพธ์ ที่จะนำมากำหนดKPI/Target จะเกิดขึ้นเอง หากปฏิบัติตามกระบวนงาน กระบวนงานหลัก ขั้นตอน ผลลัพธ์
ตัวอย่าง Issue-Driven Method
แนวทางนี้เหมาะสำหรับหน่วยงานที่มีภารกิจปฏิบัติงานเป็นงานโครงการ หรืองานที่ได้รับมอบหมายในเชิงนโยบาย หรืองานเฉพาะกิจที่เกิดขึ้นตามความจำเป็นเร่งด่วนขององค์กร โดยเน้นผลลัพธ์ ที่ต้องการจากการดำเนินการในประเด็นนั้น ๆ และนำมากำหนด เป็น KPI/ Target
ตัวอย่าง Competency-Based Method
– คุณลักษณะสำคัญ (Underlying Characteristics) ความรู้ ทักษะ กรอบความคิด แรงจูงใจ
– พฤติกรรมในการทำงาน (Behaviors)
– ผลการปฏิบัติงาน (Performance)
สมรรถนะ หมายถึง คุณลักษณะสำคัญต่าง ๆ ของบุคลากรที่ส่งผลให้บุคลากรมีพฤติกรรม และผลการปฎิบัติงานที่ส่วนงานและองค์กร ต้องการเพื่อบรรลุเป้าหมายองค์กร
2. เทคนิคการติดตามผลการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชา
– วิเคราะห์เพื่อแยกแยะผู้ใต้บังคับบัญชาออกเป็นประเภท
– เลือกเครื่องมือในการบริหารผู้ใต้บังคับบัญชาได้อย่าง เหมาะสมตามสถานการณ์และตามประเภทผู้ใต้บังคับบัญชา
หลักการของ McGregor theory
- การมองคนแบบ X ลูกน้องไม่ค่อยชอบทำงาน
- การมองคนแบบ Y ลูกน้องชอบที่จะทำงานถ้าหากสภาพแวดล้อมต่าง ๆ เอื้ออำนวย
- การมองคนแบบ X ลูกน้องไม่ค่อยทะเยอทะยานทำงานไปเรื่อย ๆ
- การมองคนแบบ Y ลูกน้องมีความทะเยอทะยานอยากก้าวหน้าในสายอาชีพ
- การมองคนแบบ X ลูกน้องชอบที่จะถูกบงการงานถึงจะเดิน
- การมองคนแบบ Y ลูกน้องชอบที่จะถูกบงการงานถึงจะเดินลูกน้องตระหนักถึงหน้าที่ความรับผิดชอบของเขาเขาควบคุมตนเองได้เพื่อให้งานของเขาสำเร็จ
- การมองคนแบบ X ลูกน้องไม่สามารถใช้ความคิดของตนเองในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการทำงานโดยเฉพาะลูกน้องในระดับล่าง
- การมองคนแบบ Y ลูกน้องไม่สามารถใช้ความคิดของตนเองในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการทำงานโดยเฉพาะลูกน้องในระดับล่างลูกน้องมีความคิดริเริ่มในการทำงานของตนเองให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นถึงแม้จะเป็นลูกน้องในระดับล่าง
- การมองคนแบบ X ลูกน้องเต็มใจทำงานถ้ารู้สึกว่าได้ค่าจ้างและสวัสดิการดี
- การมองคนแบบ Y ลูกน้องจะเต็มใจทำงานอย่างเต็มที่นั้นไม่ใช่เพราะจะได้ค่าจ้างและสวัสดิการดีเท่านั้น ยังมีสิ่งอื่น ๆ อีกเช่น การได้รับการยอมรับและความรู้สึกภูมิใจ
พฤติกรรมควบคุม
- สั่งการบอกให้ทำ (ทำอะไร ที่ไหนอย่างไร เมื่อไหร่ กับใคร)
- ควบคุม สอนงาน สังเกต ติดตามให้คำปรึกษา
พฤติกรรมสนับสนุน
ถาม ฟัง ปรึกษาเขา ชมเชย ให้กำลังใจ สนับสนุน ให้เวลา อำนวยความสะดวก
3. เทคนิคการพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา
ความรู้ ความเข้าใจ ทักษะความชำนาญ ความมุ่งมั่น แรงจูงใจ ความเชื่อมั่น
ตัวอย่างการกำหนดประเด็นในการสอนงานเพื่อพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา
- ตรวจสอบงานต่าง ๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของลูกน้อง เพื่อดูว่างานใดบ้างยังทำได้ไม่ดีเพราะ ขาดความรู้หรือทักษะ
- มีงานอะไรบ้างที่อยู่นอกเหนือความรับผิดชอบของลูกน้องในปัจจุบันแต่หัวหน้าอยากให้ลูกน้องสามารถทำได้
- มีงานอะไรบ้างที่มักจะเกิดปัญหาขึ้นบ่อย ๆ
- มีงานอะไรบ้างที่หัวหน้าไม่ต้องการให้ผิดพลาดเพราะจะมีผลกระทบมาก
- มีงานอะไรบ้างที่หัวหน้าต้องการให้ลูกน้องในส่วนงานส่วนใหญ่สามารถปฏิบัติได้ถึงแม้ปัจจุบันจะไม่ใช่งานในรับผิดชอบของเขาก็ตาม เพื่อความคล่องตัวในการบริหาร
4. เทคนิคการประเมินผล (Appraise) หัวหน้างานควรจะ
- พูดคุยเพื่อสร้างความเป็นกันเอง
- สอบถามถึงผลการปฏิบัติงานที่ผู้ใต้บังคับบัญชารู้สึกประสบความสำเร็จ
- สอบถามถึงผลการปฏิบัติงานที่ผู้ใต้บังคับบัญชารู้สึกยังไม่เป็นไปตามเป้าหมายและปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานพร้อมทั้งประเด็นที่ต้องการการสนับสนุนจากหัวหน้างาน
- แจ้งผลการประเมินทุกด้านแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา
- แจ้งและชมเชยถึงสิ่งที่ผู้ใต้บังคับบัญชาทำได้ดี
- แจ้งถึงประเด็นที่ต้องการให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทำการปรับปรุง
- ร่วมกันวางแผนการพัฒนา
- ถามความรู้สึกของผู้ใต้บังคับบัญชาถึงการประเมินในครั้งนี้
- ร่วมกับผู้ใต้บังคับบัญชากำหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายผลงานและสมรรถนะที่จะใช้ในช่วงการประเมินถัดไป
5. เทคนิคการให้รางวัล / แรงจูงใจ
Reward
– Financial-Based Non – Fixed – Variable
– Non Financial-Based
ผลที่ได้จากการอบรม
- ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจหลักการบริหารผลการปฏิบัติงานที่เชื่อมโยงและสนับสนุนเป้าหมายของส่วนงานและองค์กรตามแนวทางการบริหารเพื่อมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์
- ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจเทคนิคและขั้นตอนต่าง ๆ ของการบริหารแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารผลการปฎิบัติงาน
Post Views: 742