เรื่อง ทิศทางของเศรษฐกิจไทยสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC)
วันที่อบรม วันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน 2554 (เวลา 09.00 – 12.00 น.)
วิทยากร อ.สุภัฒ สงวนดีกุล ผู้อำนวยการสำนักประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
สรุปเนื้อหาการบรรยาย
อาเชียน : สมาคมประชาชาติแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงเหนือ ASEAN (Association of South East Asian Nations) เริ่มต่อตั้งเมื่อปี 1967 (2510) มีสมาชิก ณ ปัจจุบัน 10 ประเทศ ประชากร 580 ล้านคน
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ( ASEAN Economic Community: AEC )
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียนที่ผ่านมา เริ่มปี 2536
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ( ASEAN Economic Community: AEC )
แผนงานในพิมพ์เขียว AEC
1. การลดภาษีนำเข้าสินค้า
1 มค 2553(2010) อาเซียน-6 ลดภาษีนำเข้าสินค้าจากอาเซียน เป็น 0%
1 มค 2558(2015) CLMV ลดภาษีนำเข้าสินค้าจากอาเซียน เป็น 0%
ยกเว้น สินค้าอ่อนไหว (Sensitive List ) ภาษีไม่ต้องเป็น 0% แต่ต้องไม่เกิน 5% และ สินค้าในรายการอ่อนไหวสูง (Highly Sensitive List) ให้กำหนดภาษีได้เป็นพิเศษ แต่ต้องลดลงในระดับที่สมาชิกยอมรับได้ CLMV ภายใน 1มค.2558(2015)
2. การเปิดเสรีการค้าบริการ
ข้อจำกัดของการเข้าสู่ตลาด เช่น การจำกัดสัดส่วนผู้ถือหุ้นต่างชาติ การจำกัดมูลค่าการให้บริการ จำกัดจำนวนสถานบริการ การจำกัดประเภทนิติบุคคล การจำกัดจำนวนบุคคลผู้ให้บริการ การจำกัดประเภทผู้บริการ การไม่อนุญาตให้บุคคลากร (ผู้ให้บริการ) เข้ามาให้บริการ
ปิดเสรีการค้าภาคบริการ
อนุญาตให้ผู้ประกอบกิจการบริการของอาเซียน ไปทำธุรกิจ โดยถือหุ้นได้อย่างน้อยถึง 70% โดยมีลำดับดำเนินการ คือ สาขาเร่งรัด (PIS : Priority Integration Sectors) สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT)/ สุขภาพ/ ท่องเที่ยว/ การขนส่งทางอากาศ โลจิสติกส์ สาขาอื่นๆ ที่เหลือทั้งหมด
3. การเปิดเสรีลงทุน
การลงทุน การเกษตร การประมง ป่าไม้ เหมืองแร่ ภาคการผลิต (อุตสาหกรรม)
สาระสำคัญของ ACIA
1. เปิดเสรีการลงทุน
– ไม่เลือกปฏิบัติ (คนในชาติ = นักลงทุนอาเซียน)
– ให้การปฏิบัติกับนักลงทุนอาเซียนดีกว่าต่างชาติ
– ลด/เลิกข้อจำกัดต่างๆ หรือเงื่อนไขในการลงทุน
2. คุ้มครองการลงทุน
– นักลงทุนฟ้องรัฐได้ หากได้รับความเสียหายจากการผิดพันธกรณีของรัฐ
– การโอนเงินโดยเสรี
– รัฐต้องชดเชยการเวนคืน หรือจากเหตุการณ์ไม่สงบ
– ปกป้องคุ้มครองความปลอดภัย
3. ส่งเสริมการลงทุน
– โดยเฉพาะระหว่างอาเซียนด้วยกันเอง
– นับสนุน SMEs
– สร้าง regional clusters เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์
– ขยายความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมในภูมิภาค
4. อำนวยความสะดวกการลงทุน
– ปรับประสานนโยบายการลงทุนของประเทศสมาชิก
– ปรับปรุงขั้นตอน/ กระบวนการในการลงทุน
– สร้างความโปร่งใสให้กับกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
– เพิ่มการประสานงานในระดับรัฐมนตรี
4. การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือเสรี
5. การเคลื่อนย้ายเงินทุนที่เสรียิ่งขึ้น
หลักการ
เปิดเสรีโดย
การใช้ประโยชน์จาก AEC
ในห่วงโซ่การผลิตฐานการผลิตไม่จำเป็นต้องอยู่ในประเทศใดประเทศหนึ่งเพียงแห่งเดียวกลยุทธ์สำคัญในการแข่งขันคือการใช้ประโยชน์สูงสุดจากฐานการผลิตร่วม ใน AEC
ฐานการผลิตจะอยู่ที่ใดขึ้นอยู่กับ
AEC โอกาส (Opportunities) & ภัยคุกคาม (Threats)
สำหรับผู้ผลิต
1. ภาษีนำเข้าเป็นศูนย์ อาเซียนได้เพิ่มขึ้นอุปสรรคที่มิใช่ภาษีหมดไป
โอกาส ขยายส่งออกไปยังตลาดอาเซียนได้เพิ่มขึ้น
ภัยคุกคาม สินค้าประเทศเดียวกันจากอาเชียนเข้ามาแข่งขันในไทย
โอกาส สามารถนำเข้าวัตถุดิบจากประเทศในอาเซียน ที่มีคุณภาพ / ราคาถูกได้
ภัยคุกคาม สินค้าไทยุคุณภาพด้อยต้นทุนสูงจะเสียตลาด
2. ตลาด 10 ประเทศรวมเป็นหนึ่ง
โอกาส ตลาดใหญ่ขึ้นทำให้เกิด Economy of Scale (ผลิตมากขึ้น ต้นทุนลด) ได้เปรียบด้านราคา
ภัยคุกคาม คู่แข่งอาเซียนอาจใช้ประโยชน์จากตลาดใหญ่ขึ้นได้เช่นกัน ทำให้ต้นทุนของคู่แข่งก็อาจต่ำลงด้วย
3. ทำธุรกิจบริการ/ลงทุนในอาเซียนได้อย่างเสรี
โอกาส ไปตั้งธุรกิจ หรือขยายบริการ ในอาเซียนได้
ภัยคุกคาม ธุรกิจคู่แข่งจากอาเซียน เข้ามาแข่งในไทย
4. การลงทุนเสรีในอาเซียนสามารถใช้ AEC เป็นฐานการผลิตร่วม
โอกาส ย้ายฐานการผลิตทั้งหมด/บางส่วน ไปยังอาเซียนอื่นที่เหมาะเป็นแหล่งผลิตเพื่อเสริมสร้างความสามารถแข่งขัน อาจใช้ CLMV เป็นฐานการส่งออกไปนอก AEC
ภัยคุกคาม คู่แข่งอาเซียนอาจจะเข้ามาแข่งในไทยเพื่อมาใช้ความได้เปรียบของปัจจัยการผลิตบางอย่าง ต่างชาติที่เคยใช้ฐานผลิตไทยอาจย้ายไปใช้ CLMV แทน
5. ความร่วมมือด้านอำนวยความสะดวกทางการค้า
โอกาส ระบบโลจิสติกส์ในภูมิภาคสะดวกและถูกลง
ภัยคุกคาม ต้นทุนโลจิสติกส์ของคู่แข่งในอาเซียนก็จะลดลงด้วยถ้าเขาดีกว่า
6. FTA อาเซียนกับคู่ค้าต่างๆ ASEAN +1, +3, +6
โอกาส ได้เปรียบด้านภาษีนำเข้าเมื่อเทียบกับสินค้าของประเทศคู่แข่งอื่นในตลาดคู่ค้าเหล่านี้
ภัยคุกคาม นอกเหนือจากคู่แข่ง 9 ประเทศอาเซียนแล้วยังมีคู่แข่งเพิ่มจากประเทศ +3 หรือ+6
สำหรับแรงงาน
1. แรงงานฝีมือเคลื่อนย้ายได้โดยเสรี
โอกาส แรงงานฝีมือ นักวิชาชีพสามารถไปทำงานในประเทศอาเซียนอื่น
ภัยคุกคาม แรงงานฝีมือจากอาเซียนจะ เข้ามาทำงานในไทยได้
2. การเป็น AEC ทำให้เศรษฐกิจการค้าในอาเซียนขยายตัว
โอกาส อุตสาหกรรม/ธุรกิจใทยขยายตัวการจ้างงานเพิ่มขึ้น
ภัยคุกคาม หากอุตสาหกรรมไทยแข่งขันไม่ได้ การจ้างงานอาจได้รับผลกระทบ
3. การลงทุนเสรีใน AEC ทำให้ผู้ผลิตไทย อาจย้ายฐานการผลิตไป CLMVV
ภัยคุกคาม หากอุตสาหกรรมไทยแข่งขันไม่ได้ การจ้างงานอาจได้รับผลกระทบ
สำหรับเกษตรกรไทย
1. ภาษีนำเข้าเป็นศูนย์หรือลดลง
โอกาส ตลาดอาเซียนมีความต้องการมากขึ้นสำหรับสินค้าเกษตรไทยที่มีคุณภาพ
2. อุปสรรคนำเข้า สินค้าเกษตรหมดไป
โอกาส ไทยส่งออกสินค้าเกษตรได้มากขึ้น เกษตรกรมีรายได้มากขึ้น
ภัยคุกคาม 1-2 สินค้าเกษตรจากอาเซียนที่คุณภาพดีกว่า/ ราคาถูกจะเข้ามาแข่งขัน และแย่งตลาด หากเกษตรกรไทยไม่เตรียมรับมือ
สำหรับผู้บริโภคและประชาชนทั่วไปของไทย
1. ภาษีนำเข้าเป็นศูนย์
โอกาส สามารถเลือกซื้อสินค้านำเข้าจากอาเซียนที่หลากหลาย/ราคาถูกลง
2. การเป็น AEC ทำให้ผู้ผลิต/ ผู้ให้บริการในประเทศต้องปรับปรุงเพื่อให้แข่งขันได้
โอกาส ทำให้สินค้าและบริการ คุณภาพดีขึ้น ราคาถูกลง
ภัยคุกคาม สินค้าไม่ได้คุณภาพอาจเข้ามาจำหน่ายหากไม่มีการควบคุมที่เข้มงวดเหมาะสม
เตรียมรุก AEC
– นำเข้าวัตถุดิบ สินค้ากึ่งสำเร็จรูปจากแหล่งผลิตใน AEC ที่มีความได้เปรียบด้าน ราคา/คุณภาพ
ควรศึกษาเสาะหาแหล่งวัตถุดิบใน AEC
– ขายให้ตลาดใหญ่ขึ้น และใช้ประโยชน์ economy of scale (ผลิตยิ่งมาก ต้นทุนต่อหน่วยยิ่งต่ำ)
ควรศึกษารสนิยมความต้องการใน AEC
– สามารถย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่เหมาะเป็นแหล่งผลิต
ควรดูความเป็นไปได้การย้ายฐานผลิต
– ใช้ CLMV เป็นฐานการส่งออกไปนอกAEC เพื่อใช้ประโยชน์จากสถานะLeast Developed Countries : LDCs
ควรหันมามอง CLMV โดยวิสัยทัศน์ใหม่
เตรียมรับ AEC
– เกิดคู่แข่งใหม่จากอาเซียน นอกเหนือจากคู่แข่ง 9 ประเทศอาเซียนแล้วยังมีเพิ่มอีก 3 หรือ 6 (อาเซียนบวก3 /บวก 6)
ต้องเรียนรู้คู่แข่ง
– ต้นทุนของคู่แข่งอาจต่ำลง
ไม่ละเลยการลดต้นทุน
– คู่แข่งจะเข้ามาแข่งถึงในเขตแดนเรา
เร่งเสริมจุดแข็ง ลดจุดอ่อน
– บริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมรองรับ หรือเคยผลิตส่งบริษัทแม่ อาจถูกแย่งลูกค้าโดยคู่แข่งในประเทศอื่นที่ได้เปรียบกว่าในการเป็นฐานการผลิต
ผูกมัดใจลูกค้าในทุกรูปแบบ &สร้างความแตกต่างด้วยความคิดสร้างสรรค์ คุณภาพ/มาตรฐาน
– อาจถูกแย่งแรงงานฝีมือ
“ทำอย่างไรให้เขาอยู่ (กับเรา)”
บทบาทภาครัฐในการเตรียมความพร้อมเพื่อมุ่งสู่ AEC
มาตรการเตรียมรุกเพื่อใช้ประโยชน์ AEC
สรุป
อาเซียนจะกลายเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 (2015) ไทยจะเป็นส่วนหนึ่งของตลาดและฐานการผลิตร่วมของอาเซียนผลที่จะเกิดขึ้นมีทั้งได้และเสียต้องกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต้องปรับตัว แนะการเตรียมตัวรับมือ ให้กับผู้ที่อาจเสีย/ได้รับผลกระทบแนะลู่ทางการใช้ประโยชน์ให้กับผู้ที่จะได้ประโยชน์ ภาษีนำเข้าจะเป็นศูนย์ ในอาเซียน-6 ณ วันที่ 1 ม.ค. 2553ใน CLMV ณ วันที่ 1 ม.ค. 2558ควรแนะให้ภาคเอกชนใช้ยุทธศาสตร์เชิงรุก มากกว่าคิดแต่จะรับจะไปทำธุรกิจภาคบริการ หรือไปลงทุนในอาเซียนอื่น ๆ ได้อย่างเสรีขณะเดียวกัน ไทยจะต้องเปิดเสรีถึง 70% ในปี 2558สิ่งแรกคือ ต้องให้ทุกภาคส่วนตระหนัก (รู้) แต่อย่า (ตื่น) ตระหนก
ประโยชน์ที่ได้จากการอบรม