เรื่อง เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ (Creative Economy)
วันที่อบรม วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤษภาคม 2554 (เวลา 09.00 – 12.00 น.)
วิทยากร ผศ. ดร. การดี เลียวไพโรจน์ ผู้อำนวยการ ศูนย์ให้คำปรึกษาทางธุรกิจ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สรุปเนื้อหาการบรรยาย
เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy)
แนวคิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจบนพื้นฐานของการใช้องค์ความรู้ (Knowledge) การศึกษา (Education) การสร้างสรรค์งาน (Creativity) การใช้ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual property) ที่เชื่อมโยงกับรากฐานทางวัฒนธรรม (Culture) การสั่งสมความรู้ทางสังคม (Social wisdom) และเทคโนโลยี/นวัตกรรมสมัยใหม่ (Technology and innovation)
Salient features of the creative global market
- อุตสาหกรรมสร้างสรรค์เติบโตอย่างสูงเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมการบริการและการผลิตในช่วงต้นของปี 2000 มีการพยากรณ์ว่าจะโตเพิ่มขึ้น 10 % ทุกๆ ปี
- อุตสาหกรรมสร้างสรรค์เป็นอุตสาหกรรมที่เติบโตอย่างรวดเร็วและกำลังเป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศกำลังพัฒนา
- อุตสาหกรรมสร้างสรรค์กระตุ้นการสร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นในระดับเมือง
- เป็นแนวทางใหม่สำหรับประเทศกำลังพัฒนาที่จะสามารถพัฒนาไดอย่างก้าวกระโดดในการเพิ่มมูลค่าในแต่ละด้าน
A new dynamic sector of the world economy
- ในทวีปยุโรปเศรษฐกิจสร้างสรรค์เติบโตสูงถึง 12 % ซี่งมีอัตราการเติบโตสูงกว่าเศรษฐกิจโดยรวม และส่งเสริมให้เกิดการจ้างแรงงานสูงถึง 4.7 ล้านคน
- ในปี 2004 ประเทศอังกฤษมีรายได้ประชาชาติเพิ่มขึ้นถึง 8% และมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 1.8 ล้านคน มีมูลค่าการส่งออกสูงถึง 11,600 ล้านปอนด์
- ในปี 2003 ประเทศเดนมาร์คมีรายได้ประชาชาติเพิ่มขึ้นถึง 5.3% มีการจ้างงานเพิ่มสูงขึ้น 12 % การส่งออกเพิ่มสูงขึ้น 16 % และมีมูลค่าสูงถึง 23,400 ล้านยูโร
- ในปี 2003 ประเทศอเมริกา รายได้ประชาชาติมวลร่วมเพิ่มขึ้น 6 % มีการจ้างงานเพิ่มสูงขึ้น 4.7 ล้านคน มียอดการส่งออกจากอุตสาหกรรมด้านลิขสิทธิ์สูงถึง 89,000 ล้านดอลลาร์
Restructuring the country with the Creative Economy concept
1. การต่อยอดอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Enhance Creative Industries)
ขอบเขตอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทย ภูมิสังคมที่แตกต่างกัน ทำให้การจัดขอบเขตของเศรษฐกิจ/อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของแต่ละประเทศมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
- มรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ (Cultural Heritage & Nature)
- งานฝีมือ/หัตถกรรม
- แพทย์แผนไทย
- อาหาร
- ทองเที่ยวเชิงวัฒนธรรม / ความหลากหลายทางชีวภาพ
- ศิลปะ (Arts)
- ศิลปะการแสดง (Performing Arts)
- ทัศนศิลป์ (Visual Arts) : จิตรกรรม / ประติมากรรม / สถาปัตยกรรม
- สื่อ (Media)
- ภาพยนตร์และวิดีทัศน์
- การพิมพ์
- การกระจายเสียง
- ดนตรี
- งานสร้างสรรค์และออกแบบ (Functional Creation)
- การออกแบบ
- แฟชั่น
- สถาปัตยกรรม
- การโฆษณา
- ซอฟต์แวร์
2. การผลักดันให้เกิดความผสมผสานระหว่างมรดกวัฒนธรรมและเทคโนโลยี
(Cultural – Technology Integration)
- มีรูปลักษณ์ เช่น ศิลปหัตถกรรม เครื่องแต่งกาย วรรณกรรม ดนตรี เทคโนโลยี งานช่าง อาหาร สมุนไพร
- แก่นของเศรษฐกิจสร้างสรรค์คือทุนวัฒนธรรม ภาษา ประเพณี พิธีกรรม ระบบตลาด ระบบเครือญาติ ความเชื่อ การค้าขาย น้ำใจ
3. การต่อยอดภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ผลิต บริการ และเกษตร ให้มีมูลค่าสูงขึ้น
- Unconventional ways to creative thinking and implementation
- มองรอบด้าน หาโอกาสรอบตัว (The 360 องศา View : Inspiration from other industries
- หาจุดเด่น หาตลาด (Segment segment sement – get out of dead center)
- ผสมผสาน (Mix it Get new market with innovative combinations)
- เปลี่ยน ถ้าของเดิมไม่เวิร์ค (Change when the conventional doesn’t make sense)
- สร้างความตื่นตา (Building the’ wow effects’ – explore new needs)
ประโยชน์ที่ได้จากการอบรม
- ผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้ด้านเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบัน
- สามารถนำไปใช้ในการวางแผนการดำเนินชีวิตประจำวัน
Post Views: 378