เรื่อง กลยุทธ์ของ HR ยุคใหม่
วันที่อบรม วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม 2554 (เวลา 09.00 – 12.00 น.)
วิทยากร รองศาสตราจารย์ ดร.จิรประภา อัครบวร อาจารย์ประจำคณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
สรุปเนื้อหาการบรรยาย
องค์ประกอบของการ Hr Revolution ประกอบด้วย
1. การพัฒนาองค์กร (Organization Development)
2. การบริหารทุนมนุษย์ (Human Capital Management)
3. การบริหารผลการปฏิบัติงาน (Performance Management)
4. การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Source Management)
5. การบริหารงานบุคคล (Personnel Management)
องค์การที่มีขีดสมรรถนะสูง
– Frank Buytendijk (2006) ให้ความหมายว่า องคก์ารที่สามารถเข้าใจ และเข้าถึงตลาดก่อน องค์การอื่น สามารถรักษาพนักงานที่มีความสามารถสูงและสามารถรับมือกับแรงกดดันต่างๆ ได้จากภายในและภายนอกองคก์การได้ดี
– Ken Blanchard (2007) ให้ความหมายว่า องค์การที่สามารถสร้างผลงานที่มีประสิทธิภาพสูง ในขณะที่พนักงานมีความพึงพอใจ และมีความมุ่งมั่นต่อความสำาเร็จสูงเช่นกัน
นวัตกรรม
นวัตกรรม หมายถึง สิ่งประดิษฐ์ หรือบริการที่สามารถเพิ่มคุณค่าให้กับลูกค้า หรือผู้รับบริการ เช่น นวัตกรรมผลิตภัณฑ์(Product/Service Innovation) นวัตกรรมกระบวนการ (Corporate Process Innovation) นวัตกรรมเชิงกลยุทธ์ (Strategy Innovation) นวัตกรรมการจัดการองคก์การ (Organization Effectiveness)
องค์การนวัตกรรม” แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. องค์การที่มีการปรับเปลี่ยน ปรับปรุงหรือพัฒนา แนวคิดวิธีการทำและกระบวนการทำงาน ให้ดีขึ้น เร็วขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า
2. องค์การที่ประกอบไปด้วยปัจจัยสนับสนุนที่ส่งผล ให้เกิดนวัตกรรมในองคก์การ ปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ คนที่มีความคิดสร้างสรรค์ วัฒนธรรมองค์การ วิธีการบริหารงาน และกลยุทธ์องค์การ
ประเด็นในงานทรัพยากรมนุษย์
1. ด้านการวางแผนกำลังคน
แนวโน้มในต่างประเทศ
US
– องค์การมีการกำหนดหรือปรับเปลี่ยนนโยบายด้านการวางแผนกำลังคนให้สอดคล้องและรองรับกับบุคลากรที่ใกล้เกษียณอายุ (Baby Boomers) เช่น มีการต่ออายุงานให้กับบุคลากรบางกลุ่ม ปรับให้มีตำแหน่งรองรับบุคลากรที่เกษียณอายุ
– องค์การมีการชะลอการจ้างงานในบางตำแหน่ง
UK
– มีการกำหนดกลยุทธ์เรื่องความหลากหลายของบุคลากร (Workforce Diversity)
– องค์การมีแผนการลดจำานวนชั่วโมงการทำงานของบุคลากรลง
ASIA
– องค์การมีการเตรียมการเพื่อการปรับลดจำนวนบุคลากรบางกลุ่มลง เช่น โครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด
แนวโน้มในประเทศไทย
โครงสร้างบุคลากรในองค์การมีการเปลี่ยนแปลง โดยเริ่มมีบุคลากรกลุ่ม Generation Y (อายุน้อยกว่า 32 ปีเพิ่มมากขึ้น (3.59)
– ในตลาดแรงงานมีการขาดแคลนบุคลากรบางกลุ่มที่สำคัญ ต่อธุรกิจมากขึ้น (3.58) *(2.75)rank3
– องค์การมีการกำหนดกลยุทธ์เรื่องความหลากหลายของ บุคลากร (Workforce Diversity) (3.18)
Richard L. Daft. (2008, 419)
การเห็นคุณค่าในความหลากหลายของคนโดยมีความตระหนัก ยอมรับ และการให้ความเอาใจใส่นั้นจะทำให้คนเหล่านี้ได้รับการพัฒนา ความสามารถที่เป็นอัตลักษณ์ (Unique talents) และสามารถเป็นสมาชิกที่ช่วยให้องค์การประสบผลสำเร็จในเรื่องที่อาจจะเป็นความยากขององค์กรก็เป็นได้การเชื่อว่าคนเราเหมือนกัน และ/หรือ การมีความอคติทางชาติพันธุ์(Ethnocentric) จึงเป็นเรื่องที่เป็นอุปสรรคอย่างยิ่งต่อการเห็นคุณค่าของความหลากหลายของคน
2. ด้านการสรรหาและคัดเลือก
แนวโน้มในต่างประเทศ
US
– องค์การมีการพัฒนาเครือข่ายสังคม (Social Network) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสรรหาและคัดเลือกมากขึ้น เล่น ความร่วมมือกับภาคการศึกษา
UK
– องค์การมีการนำเรื่องสมรรถนะ (Competency) มาใช้ในการคัดเลือกบุคลากรมากขึ้น เช่น Competency-based Interview
– มีการสรรหาจากภายในมากขึ้น โดยมุ่งพัฒนาทักษะบุคลากรในองค์การแทนการสรรหาจากภายนอก
ASIA
– องค์การมีการกำหนดกลยุทธ์เพื่อการสรรหาคนเก่งมาดำรงตำแหน่งสำคัญ
– องค์การมีการวางระบบการพัฒนาบุคลากรควบคู่ไปกับการคัดเลือก เนื่องจากคุณภาพของบุคลากรที่จ้างใหม่ลดลง
แนวโน้มในประเทศไทย
– การพัฒนาภาพลักษณ์หรือการสร้างแบรนด์ขององค์การจะมีความสำาคัญมากขึ้นในการสรรหาบุคลากรในอนาคต (3.95) *(4.00)
– ทักษะการสร้างสัมพันธร์ระหว่างบุคคล และทักษะการสื่อสารเป็นทักษะที่สำคัญในการคัดเลือกบุคลากร (3.92) *(4.00)
– การคัดเลือกบุคลากรมีความเข้มข้นในการพิจารณาคุณสมบัติมากขึ้น (3.91)
– องค์การมีการใช้เว็ปไซต์เพื่อการสรรหาบุคลากรมากขึ้น (3.86)
3. ด้านพนักงานแรงงานสัมพันธ์
แนวโน้มในต่างประเทศ
US
เกิดการร่วมมือระหว่างองค์การในการแก้ปัญหาของบุคลากร เช่น การบรรเทาปัญหาหนี้สินของแรงงานมากขึ้น
– บุคลากรในองค์การมีการเรียกร้องค่าชดเชย และการดำเนินคดีด้านแรงงานมากขึ้น
สหภาพระหว่างองค์การมีความร่วมมือกันมากขึ้น เพื่ออำนาจในการต่อรองกับภาครัฐ
– บุคลากรในองค์การมีการทะเลาะ วิวาท และการใช้ความรุนแรงในที่ทำงานมากขึ้น
กับปัญหาสุขภาพและความเจ็บป่วยทางจิตมากขึ้นส่งผลให้องค์การต้องหันมาให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากยิ่งขึ้นทุกปี
แนวโน้มในประเทศไทย
– องค์การวางกฎระเบียบด้านความปลอดภัยในการทำงานมากขึ้น (3.80) *(3.60)
– ประเด็นความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน (Work-life balance) มีความสำคัญมากขึ้นในองค์การ (3.77)
– งานด้านแรงงานสัมพันธ์ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการรักษา-บุคลากรไว้กับองค์การ (3.61)
4. ด้านการบริหารค่าตอบแทนและสวัสดิการ
แนวโน้มในต่างประเทศ
US
– องค์การมีการใช้ช่องทางการสื่อสารที่หลากหลายในการสื่อสารเรื่องสวัสดิการเพื่อให้บุคลากร
– องค์การมีการศึกษาความแตกต่างของกลุ่มบุคลากรเพื่อการจัดการค่าตอบแทนและสวัสดิการให้สอดคล้องกับความตัองการมากขึ้น
– สวัสดิการเรื่องการดูแลสุขภาพ และค่ารักษาพยาบาลมีสูงขึ้นอย่างมาก
– มีแผนการทบทวนค่าตอบแทนของผู้บริหาร ทั้งค่าตอบแทนพื้นฐานและค่าตอบแทนผันแปร
– องค์การมีการนำผลตอบแทนรวม (Total Compensation) มาใช้เป็นกลยุทธ์ในการจูงใจ หรือสร้างความสัมพันธ์ให้กับบุคลากร
UK
– องค์การมีการให้เงินจูงใจพิเศษในระยะยาวมากขึ้น เช่น การถือครองหุ้นของบุคลากร
– องค์การมีการให้ความสำคัญกับการจัดการเงินเกษียณอายุ (Pension Fund) มากขึ้น
ASIA
– องค์การมีการจัดสวัสดิการแบบยืดหยุ่น (Flexible benefit) ให้แก่บุคลากร เพื่อให้บุคลากรสามารถเลือกสวัสดิการได้
แนวโน้มในประเทศไทย
– การจ่ายค่าตอบแทนตามผลงาน (Performance-based pay) มีมากขึ้น (3.64) *(3.80)
– องค์การให้ความสนใจเข้าร่วมการสำรวจอัตราเงินเดือน (Salary Survey) มากขึ้น (3.47)
– สวัสดิการเรื่องการดูแลสุขภาพ และค่ารักษาพยาบาลมีสูงขึ้นอย่างมาก (3.31)
5. ด้านการฝึกอบรมและพัฒนา
แนวโน้มในต่างประเทศ
องค์การปรับเปลี่ยนการเรียนรู้ในห้องเรียน (Classroom Training) มาเป็นการสอนงาน (Coaching) มากขึ้น
US
– องค์การมีการใช้บริการภายนอก (Outsourcing) ในการจัดการด้านการพัฒนาบุคลากรมากยิ่งขึ้น เช่น บริษัทฝึกอบรมหรือมหาวิทยาลัย
– องค์การมีการรวมงานฝึกอบรมบุคลากรไว้ที่หน่วยงานเดียว (Share services model) เพื่อใช้บริการและแบ่งปันทรัพยากรร่วมกัน
– องค์การได้ปรับรูปแบบการเรียนรู้แบบ e-learning และหรือ Online Training เพิ่มมากขึ้น
– องค์การใช้การจัดสภาพแวดล้อมทางสัคมที่เอื้อให้เกิดการเรียนรู้แทนการอบรมหรือการพัฒนา บุคลากรที่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เช่น การสร้างชุมชนนักปฏิบัติ (COP – Community of Practice)
– องค์การมีแผนการลดหรือตัดค่าใช้จ่ายในการอบรมและพัฒนาบุคลากรลง
แนวโน้มในประเทศไทย
– หัวข้อการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรมีการเชื่อมโยงกับกลยุทธ์ทางธุรกิจมากยิ่งขึ้น (3.88) *(3.40)
– องค์การมีการพัฒนาระบบการฝึกอบรมและพัฒนาให้สอดคล้องกับเรื่องสมรรถนะหรือขีดความสามารถ(Competency-based Training & Development) มากขึ้น (3.73) *(3.40)
– องค์การมีการจัดการให้ผู้บริหาร และผู้เชี่ยวชาญในองค์การมีส่วนร่วมในการพัฒนาบุคลากรมากยิ่งขึ้น เช่น เป็นวิทยากรหลักสูตร
6. ด้านการบริหารผลการปฏิบัติงาน
แนวโน้มในต่างประเทศ
UK
– องค์การมีการจัดประชุมเพื่อทบทวนผลการปฏิบัติงานเป็นประจำ
– องค์การมีแผนการเชื่อมโยงผลการปฏิบัติงานกับการจ่ายค่าตอบแทนมากขึ้น
แนวโน้มในประเทศ
– องค์การให้ความสำคัญกับการวัดประเมินประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรอย่างเข้มขน้ มากขึ้น (3.77)*(3.80)
– องค์การมีการเชื่อมโยงการประเมินผลการปฏิบัติงานกับการอบรมและพัฒนาบุคลากรมากขึ้น (3.62)
– องค์การมีแผนการเชื่อมโยงผลการปฏิบัติงานกับการจ่ายค่าตอบแทนมากขึ้น (3.60) (3.80)
ประโยชน์ที่ได้จากการอบรม