เรื่อง ภาวะผู้นำสำหรับองค์กรยุคใหม่
วันที่อบรม วันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม 2554 (เวลา 13.30 – 16.30 น.)
วิทยากร ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ นักวิชาการอิสระ
สรุปเนื้อหาการบรรยาย
ผู้นำ คือ ผู้ที่มีหน้าที่ในการกำหนดทิศทางกลยุทธ์ นำพาองค์กรให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นอย่างมีคุณภาพ ผู้นำยุคใหม่จะต้องมีการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงได้อย่างดี
ลักษณะของผู้นำยุคใหม่ จะต้องมีการปรับเปลี่ยน ดังนี้
1. การปรับกระบวนทัศน์ (Paradigm Shift)
1.1 การปรับวิสัยทัศน์ (Vision Shift)
1.2 การปรับทิศทาง (Direction Shift)
1.3 การปรับกระบวนการจัดการ (Management Shift)
– การปรับองค์กร (Organization Shift)
– การปรับกลยุทธ์ (Strategy Shift)
2. ผู้นำกับการเปลี่ยนแปลง (Leadership and Change)
3. การเปลี่ยนแปลง และ ผลกระทบต่อการจัดการ (Change Management)
4. คุณสมบัติของผู้นำยุคใหม่ : มีความคิดในเชิงสร้างสรรค์ (Creative Thinking)
4.1 มีวิสัยทัศน์ (Visionary)
4.2 เป็นนักวางแผน (Planner)
4.3 มีความสามารถในการสื่อสาร (Communicative)
4.4 มีความสามารถในการจูงใจ (Persuasive)
4.5 มีพลวัต (Dynamic)
4.6 มีความคิดในเชิงบวก (Positive Thinking)
4.7 มีความคิดในเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking)
5. การปรับวัฒนธรรมองค์กรกับการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
การเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์
– IT
– Globalization
– Liberalization
– FTA
องค์ประกอบของการวางแผนชิงกลยุทธ์
การปรับวิสัยทัศน์ (Vision Shift)
– การปรับทิศทาง (Direction Shift)
– การปรับกระบวนการจัดการ (Management Shift)
– การปรับองค์กร (Organization Shift)
– การปรับกลยุทธ์ (Strategy Shift)
– การปรับวัฒนธรรมองค์กร (Corporate Culture Shift)
Identify ระบุ
– กฎหมาย และระเบียบข้อบังคับ (Law + Regulation)
– ด้านเศรษฐศาสตร์ (Economic)
– ด้านการเมือง (Political)
– ด้านสังคม (Social)
– ด้านเทคโนโลยี (Technology)
– คู่แข่งขัน / ผู้ที่มาทดแทน (Competitors / Substitutes)
– พฤติกรรมผู้บริโภค (Customer behavior)
– Risk factor each principle attenuates
– ความเสี่ยงในการค้นหา (Search risk)
– การวางแผน (Planning risk)
– ความเสี่ยงด้านขนาด (Scale risk)
– ความเสี่ยงของรูปแบบธุรกิจ Business model risk)
– ความเสี่ยงขององค์กร (Organizational risk)
– ความเสี่ยงด้านการบริหารจัดการ (Management risk)
สมรรถนะหลัก (Core Competencies) ประกอบด้วย
ทรัพยากรมนุษย์ (HR) การผลิต (Production) การจัดจำหน่าย (Distribution) การบริการ (Service)ผลิตภัณฑ์ (Product) เทคโนโลยีสารสนเทศ / เทคโนโลยี (IT / Technology) การจัดซื้อ (Procurement)การเงิน (Finance)
สมรรถนะหลัก – Core Competencies
– เรามีความแตกต่างที่ไม่เหมือนคนอื่น (คู่แข่ง)
– ความแตกต่างที่คนอื่นเลียนแบบได้ยาก
– ความแตกต่างสร้างเป็นสินค้าได้หลายตัว
– ความแตกต่างเวลาทำสินค้าตรงกับกับความต้องการของลูกค้า
หลักปฏิบัติ 6 ประการของ Blue Strategy
* หลักปฏิบัติ
1. เอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ ในองค์กร
2. สร้างแนวทางปฏิบัติงานลงในแผนกลยุทธ์
* กฎเกณฑ์หลัก
3. สร้างขอบเขตตลาดใหม่
4. เน้นภาพใหญ่ ไม่ใช่จำนวน
5. ไปให้ไกลเกินกว่าความต้องการที่มีอยู่เดิม
6. วางกลยุทธ์เป็นขั้นตอนอย่างเหมาะสม
– ความเสี่ยงในการค้นหา (Search risk)
– การวางแผน (Planning risk)
– ความเสี่ยงด้านขนาด (Scale risk)
– ความเสี่ยงของรูปแบบธุรกิจ (Business model risk)
– ความเสี่ยงขององค์กร (Organizational risk)
– ความเสี่ยงด้านการบริหารจัดการ (Management risk)
อุปสรรคของการเปลี่ยนแปลงในองค์กร
– ปล่อยให้อยู่กันอย่างสบาย ๆ มากเกินไป
– ล้มเหลวในการสร้างทีมที่แข็งแกร่งอย่างเพียงพอที่จะเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง
– ประเมินพลังแห่งวิสัยทัศน์ต่ำเกินไป
– ไม่ได้สื่อสารวิสัยทัศน์อย่างทั่วถึง
– ปล่อยให้มีอุปสรรคขัดขวางวิสัยทัศน์ใหม่ ๆ
– ล้มเหลวในการสร้างความสำเร็จระยะสั้น
– ประกาศชัยชนะเร็วเกินไป
– ละเลยที่จะปลูกฝังการเปลี่ยนแปลงให้มั่นคงในวัฒนธรรมองค์กร
ผลกระทบที่เกิดขึ้น
– กลยุทธ์ใหม่ ๆ ไม่ได้รับการนำไปปฏิบัติอย่างดีพอ
– การเข้าครอบงำกิจการไม่บรรลุผลตามที่คาดหวังไว้
– การ Reengineering ใช้เวลานานเกินไปและใช้งบประมาณมากเกินไป
– ไม่สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายในการลดขนาดกิจการได้
– โครงการที่มีคุณภาพไม่เกิดผลตามที่คาดหวัง
กระบวนการเปลี่ยนแปลง
1. สร้างความตระหนักถึงความเร่งด่วน
– สำรวจสภาพความเป็นจริงของตลาดและการแข่งขันในตลาด
– ระบุประเด็น และถกเถียงถึงเรื่องที่เกี่ยวกับวิกฤต และโอกาสสำคัญต่าง ๆ
2. สร้างแนวร่วมในการนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลง
– ผนึกกำลังเข้าด้วยกันเป็นกลุ่มเพื่อให้มีพลังเพียงพอที่จะนำการเปลี่ยนแปลง
– จัดกลุ่มทำงานร่วมกันเป็นทีม
3. พัฒนาวิสัยทัศน์ และกลยุทธ์
– สร้างวิสัยทัศน์ที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง
– พัฒนากลยุทธ์ที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์นั้น
4. สื่อสารถึงวิสัยทัศน์แห่งการเปลี่ยนแปลง
– ใช้ช่องทางต่าง ๆ ที่มีอยู่เพื่อสื่อสารถึงกลยุทธ์และวิสัยทัศน์ใหม่นี้อย่างต่อเนื่อง
– นำแนวทางที่เป็นแบบอย่างมาใช้เพื่อให้พนักงานมีพฤติกรรมตามที่คาดหวัง Empowering Broad-Based Action
– กำจัดอุปสรรคต่าง ๆ
– ปรับเปลี่ยนระบบ และโครงสร้างที่บ่อนทำลายวิสัยทัศน์ที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง
– ให้กำลังใจ และกระตุ้นการทำงานที่มีความเสี่ยง ตลอดจนความคิด กิจกรรมและการดำเนินการต่าง ๆ ที่แตกต่างไปจากแบบแผนเดิม ๆ
5. Empowering Broad-Based Action
– กำจัดอุปสรรคต่าง ๆ
– ปรับเปลี่ยนระบบ และโครงสร้างที่บ่อนทำลายวิสัยทัศน์ที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง
– ให้กำลังใจ และกระตุ้นการทำงานที่มีความเสี่ยง ตลอดจนความคิด กิจกรรมและการดำเนินการต่าง ๆ ที่แตกต่างไปจากแบบแผนเดิม ๆ
6. สร้างความสำเร็จย่อย ๆ ที่เกิดขึ้นได้ในระยะเวลาอันสั้น
– วางแผนให้เกิดการปรับเปลี่ยนที่มองเห็นได้ชัดเจน หรือเรียกว่าเป็นความสำเร็จย่อย ๆ ที่ใช้เวลาไม่นาน
– ทำสิ่งที่วางแผนไว้เหล่านั้นให้ประสบผล
– ให้การยอมรับอย่างเป็นรูปธรรม และให้รางวัลแก่บุคลากรที่ทำให้เกิดผลสำเร็จ
7. รวบรวมสิ่งที่ได้รับและสร้างความเปลี่ยนแปลงให้มากขึ้น
– ใช้ความเชื่อถือที่เพิ่มขึ้นเพื่อเปลี่ยนแปลงระบบโครงสร้าง และนโยบายทั้งหมดที่ไม่สอดคล้องกันและไม่เหมาะสมกับวิสัยทัศน์
– ว่าจ้าง, สนับสนุน, และพัฒนาบุคลากรที่สามารถนำวิสัยทัศน์เพื่อการเปลี่ยนแปลงไปปฏิบัติได้
– สนับสนุนกระบวนการดำเนินงานสำหรับโครงการใหม่ แนวเรื่อง (Theme) ใหม่ ๆ และผู้นำ การเปลี่ยนแปลง
8. ปลูกฝังแนวทางใหม่ ๆ ในวัฒนธรรม
– สร้างผลงานที่ดีขึ้นโดยดูจากลูกค้าและพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์ ภาวะผู้นำที่เพิ่มขึ้นและดีขึ้น และการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
– มีการเชื่อมต่ออย่างชัดเจนระหว่างพฤติกรรมใหม่ ๆ และความสำเร็จต่าง ๆ ขององค์กร
– พัฒนาเครื่องมือเพื่อให้มั่นใจว่า ช่วยให้เกิดการพัฒนาภาวะผู้นำและความสำเร็จ
อุปสรรคในการนำกระบวนการใหม่ไปปฏิบัติ
– ไม่ได้รับการสนับสนุนจากบุคลากรอาวุโสอย่างเข้มแข็ง
– ขาดทรัพยากร (เงินสด และกำลังคน)
– ไม่มีผลลัพธ์ที่ชัดเจน
– ไม่มีข้อมูลที่เพียงพอ
– ทีม Benchmarking ขาดทิศทาง
– ขาดความเข้าใจจากบุคลากรอื่น ๆ
– ไม่มีการนำไปปฏิบัติอย่างเป็นผล
– ทำ Benchmarking หลายกระบวนการเกินไป
วัฒนธรรมองค์กร
– ทัศนคติ (Attitude)
– ค่านิยม (Value)
– ค่านิยมหลัก (Core Value)
– พฤติกรรม (Behavior)
– วัฒนธรรมองค์กร (Corporate Culture)
ประโยชน์ที่ได้จากการอบรม