ที่มา : สำนักงาน ก.พ.
22 ตุลาคม 2550
“บุคคลจะสามารถเอาตัวรอดและประสบความสำเร็จทั้งในด้านการทำงาน และการดำเนินชีวิตในโลกยุคศตวรรษที่ 21 ได้จะต้องมีจิตสาธารณะทั้ง 5 ประการ ประกอบรวมอยู่ในตัวของคนๆนั้น นอกจากนี้จิตสาธารณะทั้ง 5 ยังจะช่วยจรรโลงให้สังคมโลกในอนาคตเป็นสังคมที่น่าอยู่มากยิ่งขึ้น”
ข้อความข้างต้นคือข้อสรุปจากหนังสือ Five minds for the Future ซึ่งเป็นหนังสือเล่มล่าสุดของ Howard Gardner นักวิชาการด้านการศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ผู้เขียนเรื่อง Frame of Minds และ Changing Minds ที่เคยจุดประเด็น ทฤษฎีพหุปัญญา (Multiple Intelligence) จนโด่งดังไปทั่วทั้งวงการศึกษาที่มีแนวคิดแตกต่างออกไปว่า…
“ความฉลาดนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับการวัดจากไอคิว ซึ่งเน้นแค่การคำนวณ ตรรกะและภาษาเพียงเท่านั้น แต่ความฉลาดนั้นมีด้วยกันหลายด้านและมนุษย์แต่ละคนนั้นก็มีความฉลาดเฉพาะตนที่แตกต่างกันออกไป”
ในหนังสือเล่มล่าสุดของ Gardner ที่สำนักงาน ก.พ.กำลังเตรียมที่จะนำสาระมาถ่ายทอดเป็นหนังสือน่าอ่าน ได้ชี้ให้เห็นและเน้นความสำคัญของ “ความฉลาดหรือทักษะ” ซึ่ง Gardner ใช้แทนด้วยคำว่า “จิต” (Mind) ทั้ง 5 ประการที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ในทุกๆด้านในโลกยุคศตวรรษที่ 21 ซึ่งจิตทั้ง 5 นั้นประกอบไปด้วย
Gardner ยังได้เน้นว่า จิตทั้ง 5 นั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อมนุษย์ในโลกยุคใหม่ และจะต้องมีครบทั้ง 5 จิต จะขาดจิตใดจิตหนึ่งไปเสียไม่ได้ เพราะจิตทั้ง 5 มีผลต่อการพัฒนาตัวบุคคลทั้งในแง่การทำงานและการดำเนินชีวิต ซึ่งจะส่งผลให้สังคมมีคนที่มีคุณภาพ โดยจะกลายเป็นพลังในการที่จะขับเคลื่อน องค์กร สังคม และประเทศชาติให้ก้าวไปสู่จุดมุ่งหมาย และยืนหยัดอยู่ภายใต้การแข่งขันในโลกยุคใหม่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน
ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ ที่ปรึกษาโครงการพัฒนาเครือข่ายองค์ความรู้สาธารณะด้านการจัดการทุนมนุษย์ สำนักงาน ก.พ. ได้อธิบายถึงความจำเป็นในการเร่งพัฒนาทุนมนุษย์ของประเทศไทยว่า โลกในปัจจุบันได้เปลี่ยนจากสังคมเกษตรกรรมมาสู่สังคมฐานความรู้ ซึ่งกุญแจแห่งความสำเร็จในสังคมฐานความรู้นั้นประกอบไปด้วย
ซึ่งทั้ง 4 ข้อนี้คือองค์ประกอบที่สำคัญของสังคมฐานความรู้ แต่ในสังคมหลังฐานความรู้จะมีองค์ประกอบที่สำคัญอีก 4 ข้อเข้ามาเพิ่มเติม ซึ่งประกอบไปด้วย
สรุปได้ว่าในโลกยุคสังคมหลังฐานความรู้จะเป็นการรวมกันขององค์ประกอบหลัก จากสังคมทั้งสองยุค แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มของโลกว่ากำลังย้อนกลับไปสู่ค่านิยมในเรื่องของจิตใจที่ดีงามในยุคของสังคมเกษตรกรรม แต่ในขณะเดียวกันมนุษย์ก็ได้นำเอาเทคโนโลยีการสื่อสารมาใช้ให้เกิดเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
ซึ่งองค์ประกอบจากสังคมทั้ง 2 ยุคสอดคล้องกับกับแนวคิดเรื่อง “จิตทั้ง 5” ของ Gardner อย่างลงตัว และมีเป้าหมายเดียวกันกับนโยบายการบริหารประเทศ ใน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ที่มุ่งเน้นในเรื่องของ “การเตรียมความพร้อมของคนไทย เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะต้องเผชิญในอนาคต”
นั่นก็หมายถึงว่านอกจากเราจะสร้างความรู้ให้กับคนแล้ว ยังจะต้องสร้างและพัฒนา ความคิด ทัศนคติ มุมมองต่อโลกและสังคม ในแง่ของ “จิตใจ” ตามแนวทางการพัฒนา “ความรู้คู่คุณธรรม” ให้เกิดขึ้นกับคนในสังคมและประเทศชาติ
“โลกในยุคสังคมหลังฐานความรู้จะมุ่งเน้นไปสู่เรื่องของการใส่ใจและการแบ่งปัน คือการที่คนเรามีค่านิยมในเรื่องของจิตสาธารณะก็จะทำให้คนเราเกิดความใส่ใจและห่วงใยกัน แต่ในขณะเดียวกันเราก็นำเอาความรู้หรือข้อมูลต่างๆที่มีออกไปเผยแพร่และแบ่งปันกัน ซึ่งทั้งหมดนี้ก็คือหัวใจหลักของการพัฒนาทุนมนุษย์” ดร.สุวิทย์ กล่าวสรุป
การเตรียมความพร้อมของคนไทย เพื่อรองรับกับความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นทั้งภาครัฐและภาคเอกชนต้องปรับตัวและเตรียมพร้อมในเรื่องของกำลังคนให้มีคุณลักษณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในอนาคตดังที่ Gardner ได้กล่าวไว้ใน Five Minds for the Future นั่นเอง