” มาตรฐาน” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ได้ให้ความหมายไว้ว่า สิ่งที่ถือเอาเป็นเกณฑ์ที่รับรองกันทั่วไป เช่น เวลามาตรฐานกรีนิช, สิ่งที่ถือเอาเป็นเกณฑ์สำหรับเทียบกำหนดทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ เช่น มาตรฐานอุตสาหกรรม หนังสือนี้ยังไม่เข้ามาตรฐาน
ในระบบราชการ มีระเบียบ วินัย จรรยาบรรณ และมีกติกา อะไรต่อมิอะไรอีกมากมาย ให้ทำตามมาตรฐาน แต่ในทางปฏิบัติเรากลับพบว่า หากมีความพอใจและความไม่พอใจเข้ามาเกี่ยวข้องแล้ว สิ่งเหล่านั้นถูกนำไปใช้อย่างบิดเบือนตามแต่วัตถุประสงค์และอำนาจที่มีอยู่ในมือ มันจึงเกิดคำว่า “สองมาตรฐาน” และสิ่งนี้นั่นเอง ที่ก่อให้เกิดการเรียกร้องอะไรอีกตามมา ตราบใดที่คนที่ถืออำนาจในมือยังคงคิดแต่จะอำนวยประโยชน์ให้กับพวกพ้อง ตราบนั้นก็จะมีแต่ความวุ่นวายไม่มีที่สิ้นสุด
มาตรฐานในการทำงานก็เช่นกัน ในการทำงานของแต่ละคนต่างก็มีปริมาณงานและคุณภาพแตกต่างกันไป ในการที่จะเปรียบเทียบการทำงานของแต่ละกลุ่มก็ควรจะเปรียบเทียบกันในกลุ่ม และควรพิจารณาจากผลงานทั้งหมด ซึ่งในด้านการศึกษา มีการประเมินระหว่างการเรียน (Formative evaluation) และมีการประเมินผลสัมฤทธิ์ทั้งหมด (Summative evaluation)