สมใจ วงศ์บุญรอด
ตำแหน่ง บรรณารักษ์
เมื่อเราได้โจทย์ หรือหัวข้องานวิจัยจากผู้ใช้บริการทำอย่างไรเราจึงจะหาแหล่งข้อมูลได้ตามความต้องการของผู้ใช้บริการมากที่สุด มีวิธีง่ายๆมาฝากคะ
1. แจงปัญหา, โจทย์ หรือหัวข้องานวิจัย
2. วิเคราะห์ปัญหาโจทย์ ใคร ทำอะไร เพื่ออะไร
3. คัดแยก keyword หัวเรื่อง ออกจากโจทย์ คำควรเป็นคำนาม คำเหมือน คำคล้าย หรือมีรากศัพท์เดียวกัน
4. แปลง keyword เป็นภาษาในการค้น โดยใช้ google ในการแปล
5. ใช้เทคนิค เครื่องหมายในการสืบค้น เช่น (*, “…..” – ) หรือใช้ตัวเชื่อม AND, OR, NOT
6. วิเคราะห์ผลลัพธ์
– Relevance เรียงตามความเกี่ยวข้อง
– Date เรียงตามปีที่พิมพ์
7. เลือกแหล่งข้อมูลที่เหมาะสม
การเลือกแหล่งข้อมูล
1. เลือกตามกลุ่มสาขาวิชา
– สหสาขา ประกอบด้วยฐานข้อมูล PQDT, H.W Wilson, SpringerLink, Web of Science
– สังคมศาสตร์ ประกอบด้วยฐานข้อมูล Lexis Nexis, ABI/INFORM
– วิทยาศาสตร์ ประกอบด้วยฐานข้อมูล ACM, ACS, AIP, APS
2. เลือกตามประเภทสิ่งพิมพ์ เช่นวารสารอิเล็กทรอนิกส์ หรือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
เพื่อนๆ เจ้าหน้าที่หรือบรรณารักษ์ทุกคนสามารถสืบค้นฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ได้แล้วนะคะ