หลักการและแนวทางการใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) อย่างสร้างสรรค์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
หมายเหตุ : หลักการดังกล่าวปรับปรุงจาก “ปฏิญญาเนชั่น” ที่ได้รับการยอมรับจากผู้ใช้งานในปัจจุบัน
ปัจจุบันมีความก้าวหน้าในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างกว้างขวางและเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพหากผู้ใช้งาน องค์กร และหน่วยงานต่างๆนำไปใช้ในเชิงสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ในฐานะที่เป็นองค์กรทางด้านการศึกษา มีบุคลากร นักศึกษา และคณาจารย์ ที่มีการใช้งานสังคมออนไลน์ (Social Media) อยู่จำนวนมากและมีแนวโน้มที่จะมีการใช้งานมากขึ้น มหาวิทยาลัยฯจึงประกาศแนวทางและหลักการในการใช้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) อย่างสร้างสรรค์ ดังนี้
1. หลักการและแนวปฎิบัติทั่วไป
1.1. หน่วยงานภาย บุคลากร นักศึกษา สามารถแสดงชื่อผู้ใช้งานในโลกออนไลน์ เพื่อประโยชน์ในการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยฯ ติดต่อสื่อสารระหว่างกัน แต่ต้องแยกแยะให้ชัดเจนว่า ข้อความใดเป็น “ข่าวประชาสัมพันธ์” ข้อความใดเป็น “ความคิดเห็น” “ความคิดเห็นส่วนบุคคล” “การแลกเปลี่ยนข่าวสารส่วนตัว” “การแผยเพราข่าวสารเรื่องงาน” หรืออื่นๆ และความคิดเห็นดังกล่าวควรคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะด้วย
1.2. การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ที่ประชาสัมพันธ์ในนามของหน่วยงาน ผู้เผยแพร่ต้องแสดงตำแหน่ง หน้าที่ สังกัด ให้ชัดเจน เพื่อความน่าเชื่อถือ และเพื่อให้ผู้ที่ติดตามสามารถใช้ดุลพินิจในการติดตามได้
1.3. พึงระมัดระวังการใช้ถ้อยคำและภาษา ที่อาจเป็นการดูหมิ่น หรือ หมิ่นประมาทบุคคลอื่น และควรใช้ภาษาให้ถูกต้อง สุภาพ สร้างสรรค์
1.4. พึงงดเว้นการโต้ตอบ ด้วยความรุนแรง กรณีบุคคลอื่นมีความคิดเห็นที่แตกต่าง การละเว้นไม่โต้ตอบจะทำให้ความขัดแย้งไม่บานปลายจนหาที่สิ้นสุดไม่ได้
1.5. พึงงดเว้นการใช้สื่อสังคมวิพากษ์ วิจารณ์ ตลอดจนแสดงความเห็นในเรื่องที่เป็นข้อมูลภายในองค์กร หรืออาจส่งผลกระทบต่อองค์กรได้
1.6. พึงใช้รูปแสดงตัวตนที่แท้จริง และพึงงดเว้นการนำรูปบุคคลอื่น รูปบุคคลสาธารณะ มาแสดงว่าเป็นรูปของตนเอง เว้นแต่เป็นสื่อสังคมในนามบุคคล
1.7. องค์กร หรือ แผนกงานที่สังกัด อาจใช้รูปสัญลักษณ์ เครื่องหมายแสดงสังกัดได้ แต่ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมในการใช้งาน
1.8. พึงระมัดระวังข้อความที่ส่งผลกระทบต่อเด็ก สตรี หรือ ละเมิดสิทธิมนุษยชน
1.9. การใช้สื่อสังคมที่แสดงสังกัด หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยฯ ควรแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบก่อนทุกครั้ง
2 หลักการส่งต่อข้อมูล
2.1. ควรส่งข้อมูลข่าวสารเฉพาะบุคคลที่รู้จัก แสดงตัวตน ตำแหน่ง หน้าที่การงาน สถานะที่ชัดเจนเท่านั้น
2.2. ละเว้นการส่งข้อมูลที่เป็นข่าวลือ ข่าวไม่ปรากฎที่มา หรือเป็นเพียงการคาดเดา
2.3. งดเว้นการส่งต่อข้อความเกี่ยวข้องกับสถาบันทุกกรณี ยกเว้น ข้อความนั้นๆ เป็นที่เผยแพร่ต่อสาธารณะแล้ว
2.4. พึงระลึกเสมอว่า การส่งต่อข้อความที่เป็นเท็จ หรือ ข้อความที่เจ้าของประสงค์กระจายข่าวสร้างความสับสน วุ่นวายในบ้านเมือง เท่ากับตกเป็นเครื่องมือของบุคคลเหล่านั้น
2.5. ควรงดเว้นการส่งต่อข้อความเรื่องบุคคลเสียชีวิต เว้นเสียแต่ตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว
2.6. การส่งต่อข้อความเชิญชวนไปร่วมชุมนุม หรือ กระทำกิจกรรมทางสังคมใดๆ ต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงให้แน่ชัดเสียก่อน
3 หลักความรับผิดชอบ
3.1. ควรแสดงความรับผิดชอบ ด้วยการขอโทษ แสดงความเสียใจทันที เมื่อรู้ว่า มีการเผยแพร่ข้อมูลที่ผิดพลาดหรือกระทบต่อบุคคลอื่น
3.2. กรณีการส่งต่อข้อความข่าวลือ หรือ ข่าวเท็จ ต้องแก้ไขข้อความนั้นโดยทันที หากสามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ พึงแสดงข้อเท็จจริงให้เป็นที่ประจักษ์