เมื่อคุณได้รับหัวข้อในการเขียนเรียงความ สิ่งที่ควรทำคือ การรวบรวมเครื่องไม้เครื่องมือที่ใช้ในการเขียน รวมไปถึงหนังสือที่จะใช้เป็นส่วนอ้างอิง และจะเป้นการดียิ่งหากคุณใช้เวลาเพียง วันหรือสองวันในการทำความเข้าใจกับหัวข้อเรียงความ และร่างเนื้อหาคราวๆสำหรับการเขียน
จงคำนึงไว้เสมอว่า การเขียนเรียงความโดยทั่วไปนั้น จะต้องประกอบไปด้วย 3 ส่วนด้วยกันคือ ส่วนของคำนำ ตัวเนื้อความ และบทสรุป
การเขียนเรียงความที่มีตัวอักษร 2000-2500 โดยประมาณและใช้เวลาเขียนประมาณ 2 สัปดาห์
โดยสัปดาห์แรก จะต้องทำการค้นคว้าหาข้อมูล อ่าน คิด และวิเคราะห์เกี่ยวกับคำถามหรือหัวข้ เรียงความที่ได้รับ และร่างโครงร่างสำหรับเนื้อหาที่จะเขียน
สัปดาห์ที่ 2 เริ่มต้นการเขียนโดยการเขียนใส่กระดาษทดลองเขียนก่อน เมื่อเกิดความมั่นในใจ และได้เนื้อหาที่ครบถ้วน จึงเริ่มลอกข้อความใส่ในการดาษจริง
เมื่อตัดสินใจเขียนแล้วนั้น ควรอ้างถึงแหล่งที่มาทั้งจากหนังสือ และแหล่งที่มาอื่นๆอาทิเช่น หนังสือพิมพ์ หรือ บทความอื่นๆ เพื่อช่วยให้ข้อมูลทันสมัยมากขึ้น
การเริ่มต้นการเขียน
เป็นการดีที่จะเราจะเริ่มด้วยระดมสมอง หรือที่เรียกว่า Brainstorm กับเพื่อนในกลุ่ม การระดมสมองคือ กระบวนการการนำความคิดของแต่ละบุคคลที่เกี่ยวข้องมาเชื่อมโยงกัน ซึ่งการระดมสมองนี้สามารถเป็นได้ทั้งความคิดที่คัดค้านหรือเห็นด้วย อาจจะไม่มีทางเป็นไปได้ หรือยากที่จะอธิบายก็ได้ การแสดงความคิดเห็นนั้นควรปล่อยให้เป็นความคิดอิสระ และความคิดใดจะเป็นประโยชน์นั้นจะต้องได้รับการพิจารณาร่วมกันอีกครั้งต่อไป
นักเรียน นักศึกษาหลายๆคนมองว่าสิ่งที่ยากที่สุดสำหรับ “การเริ่มต้นการเขียน” คือการจับปากกาแล้วเขียนลงในกระดาษเปล่า แต่สิ่งที่น่ายินดีก็คือ ยิ่งฝึกเขียนเท่าไหร่ การเขียนยิ่งดียิ่งขึ้น ดังนั้น ไม่ต้องกลัวการเขียน หากค้นพบว่าการเขียนในกระดาษเปล่าๆเป็นสิ่งที่ยากสำหรับตัวเอง จงจำไว้อย่างเดียวว่า เขียนอะรก็ได้ แต่จงเขียนลงไป เพราะการฝึกเขียนนั้นจะช่วยให้การเขียนพัฒนายิ่งขึ้นต่อไป
คำนำ
การเขียนคำนำอาจเป็นสิ่งที่นักเรียน นักศึกษาหลายคนมองว่าเป็นเรื่องที่ยาก หากพบว่าการเขียนคำนำนั้นเป็นสิ่งที่ยาก ทำไมเราไม่ลองปล่อยไว้ก่อน จนกระทั่งเราสามารถเขียนเนื้อความได้เสร็จสิ้น บางทีอาจจะทำให้สามารถเขียนคำนำได้ง่ายขึ้นก็ได้
จะเป็นการดีมากถ้าการเขียนคำนำนั้น มีความชัดเจน ตรงประเด็น และสามารถแสดงถึงเจตนารมณ์ของผู้เขียนที่แสดงออกไปกับคำตอบของหัวข้อ หรือคำถามที่ได้รับ วิธีการที่ง่ายที่สุดในการเริ่มเขียนเรียงความคือ การกล่าวซ้ำคำถามที่ได้รับ
ตัวอย่างเช่น
จงอภิปรายข้อดีข้อเสียที่สัมพันธ์ของโครงสร้างระบบต่างๆที่ใช้ในระดับท้องถิ่นในปัจจุบัน
การเขียนการสรุปก็อาจจะเป็นการย้อนตอบคำถามโดยกล่าวซ้ำว่า การเขียนเรียงความเรื่องนี้จะพิจารณาถึงข้อดีข้อเสียที่สัมพันธ์ของโครงสร้างระบบต่างๆที่ใช้ในระดับท้องถิ่นในปัจจุบัน
เนื้อความ
ในส่วนการเขียนเนื้อหานั้นควรอยู่ในรูปแบบของย่อหน้า โดยเนื้อหาในแต่ละย่อหน้าควรมีเนื้อที่เป็นเหตุเป็นผล เป็นตรรกบทความ มีความสอดคล้องกับหัวเรื่องหรือโครงเรื่อง สามารถวิเคราะห์และตรวจสอบได้
อีกประการที่สำคัญคือ เนื้อหาในแต่ละย่อหน้านั้นควรสอดคล้องกับเนื้อที่อยู่ในย่อหน้าก่อนโดยอาจใช้คำ หรือวลีอาทิเช่น
แต่บางทียังมีหลายปัจจัย……….. สิ่งนี้แสดงให้เห็นความจริงที่ว่า………. ในเวลาเดียวกัน…………… ความคิดเห็นที่ได้แสดงมานั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับเนื้อหา……….. มันอาจจะมีความคิดเห็นที่แตกต่างว่า……. แต่อย่างไรก็ตาม……….. แต่อย่างไรก็ตาม……………………
บทสรุป
ส่วนสรุปนั้น เป็นส่วนที่ใช้ปิดท้ายในการเขียนเรียงความ ซึ่งเป็นโอกาสอันดีที่จะได้สรุปเนื้อหาเข้ารวมกันโดยการพิสูจน์หรือวิเคราะห์ที่อยู่บนหลักเหตุและผลตามเนื้อหา อย่านำเสนอหัวข้อ หรือประเด็นใหม่หรือแหล่งข้อมูลใหม่ขึ้นมา ส่วนของสรุปนี้อาจจะเขียนได้ภาษาที่เราเข้าใจด้วยตนเอง แต่เนื้อหาควรเกี่ยวข้องกับส่วนของเนื้อที่ได้เขียนไป
การตรวจสอบการเขียน
คุณควรมีเวลาเหลือระหว่างเขียนและทบทวนบทความเพราะเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ควรได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอสักวันหรือสองวันเพื่อให้เกิดความสดชื่น สิ่งที่ตรวจสอบในการเขียนเนื้อหาที่ได้เขียนไปมีโครงสร้าง การเรียงลำดับเนื้อหาเหมาะสมหรือไม่ มีความราบรื่นมากน้อยเพียงใด ควรอ่านบทความตั้งแต่จนจนจบอย่างระมัดระวัง นอกจากนี้ยังควรตรวจสอบไวยากรณ์ การสะกดคำ และรายชื่อหนังสือที่ใช้อ้างอิงด้วย