“การบริหารงานบริหารชีวิตในโลกปัจจุบัน”
นางสาววิไลวรรณ สิงหวิบูลย์
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล
เนื้อหาโดยสรุป
พระธรรมโกศาจารย์ ศาสตราจารย์และอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย เจ้าคณะภาค ๒ เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาส กรรมการมหาเถรสมาคม โดยบรรยายเรื่อง “การบริหารงานบริหารชีวิตในโลกปัจจุบัน” การบริหารกาย คือ การที่เราทำให้ร่างกายได้ใช้แรงงานหรือกำลังที่มีอยู่ในตัว เพื่อให้ร่างกายหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เกิดการเคลื่อนไหว เช่น การเดิน การวิ่ง การทำงาน
การบริหารจิต คือ การบำรุงรักษาจิตให้เข้มแข็งผ่องใสบริสุทธิ์
ท่านได้กล่าวถึง หลักราชการ จากรัชกาลที่ 6 เพื่อนำไปปฏิบัติในการบริหารงาน บริหารชีวิตในโลกปัจจุบัน
1. ความสามารถ หมายถึง พร้อมใช้งาน พร้อมการทำงาน เช่น การใช้คอมพิวเตอร์แต่ละคน มีความสามารถไม่เหมือนกัน
2. มีน้ำใจดี หมายถึง ช่วยเหลือ รู้จักแบ่งปัน เสียสละความสุขส่วนตน เพื่อทำประโยชน์แก่ผู้อื่นเข้าใจ เห็นใจ ผู้ที่มีความเดือดร้อน
3. มีความสุข การเพิ่มยิ้ม การยิ้มทำให้บรรยากาศในที่ทำงานสดชื่น
4. การทำตัวเองให้ ดีขึ้น เก่งขึ้น ดีสุข สุขภาพและสุขภาพจิต
คนใช้กรรมดี – กรรมชั่วก่อน หรือ ขึ้นสวรรค์ – นรกก่อน
การสร้างที่ทำงานให้เป็นสวรรค์/นรก ถ้าเวลาเจอปัญหาอย่าโทษกัน เพราะ ถ้าไม่เกิดปัญหาก็จะไม่เจอปัญญา
ดังสุภาษิตที่ว่า นกไม่เห็นฟ้า ปลาไม่เห็นน้ำ ไส้เดือนไม่เห็นดิน คนไม่เห็นธรรม
การที่คนเรายึดติกับสิ่งเดิมๆจะเหมือน กบต้ม หมายถึง เราอยู่กับความเคยชิน รับไม่ได้ นั่งทับปัญหา
การบริหารชีวิต : รู้เท่าไว้ป้องกัน รู้ทันไว้แก้ไข
คนเราจะประสบความสำเร็จได้ต้องมี 6 ข้อ นี้
1.อัตตะสัมมาปะณิธิ จะ (Virtue) การตั้งตนไว้ชอบ หมายถึง การตั้งเป้าหมายชีวิต ทั้งทางโลกและทางธรรมไว้ถูกต้อง แล้วประคับประคองตนให้ดำเนินชีวิตไปตามเป้าหมายนั้น ด้วยความระมัดระวัง 2.ปุพเพ จะ กะตะปุญญะตา (Fortune) ความเป็นผู้ทำบุญไว้แต่ปางก่อน บุญ คือ สิ่งซึ่งเกิดขึ้นในจิตใจแล้วทำให้จิตใจใสสะอาด ปราศจากความเศร้าหมองขุ่นมัว ก้าวขึ้นสู่ภูมิที่ดี เกิดขึ้นจากการที่ใจสงบทำให้เลือกคิดเฉพาะสิ่งที่ดี ที่ถูก ที่ควร ที่เป็นประโยชน์ แล้วพูดดี ทำดี ตามที่คิดนั้น 3.ปะฏิรูปะเทสะวาโส จะ (Environment) การอยู่ในถิ่นอันสมควร ถิ่นที่เหมาะสม หมายถึง ถิ่นที่สิ่งแวดล้อมดีไม่เป็นพิษเป็นภัยแก่สุขภาพกาย สุขภาพจิตใจ ยิ่งกว่านั้นยังสนับสนุนให้ผู้อยู่อาศัยสามารถประกอบกิจการงานในหน้าที่อันเป็นสัมมาอาชีพ ให้เจริญก้าวหน้าได้โดยง่าย และสร้างสมคุณงามความดีได้เต็มที่
4.ปูชา จะปูชะนียานัง การบูชาบุคคลที่ควรบูชา การบูชา คือ การยกย่อง เชิดชู เลื่อมใส ด้วยความบริสุทธิ์ใจ จริงใจ ไม่เสแสร้งแกล้งทำ หมายถึง กิริยาอาการสุภาพ ที่เราแสดงต่อผู้ที่ควรบูชาทั้งต่อหน้าและลับหลัง การแสดงต่อหน้าเป็นการแสดงให้ท่านทราบว่าเรามีความเคารพและตระหนักในคุณธรรมความดีที่มีอยู่ในตัวของท่านอย่างจริงใจ การแสดงลับหลัง เป็นการเตือนใจตัวเราเอง ให้ผูกใจไว้กับคุณธรรมอันสูงส่งของท่าน ก่อให้เกิดความรู้สึกอยากกระทำตาม ใจเราจะได้ยกสูงขึ้นเสมอๆไม่เลื่อนไหลไปในทางชั่วร้าย 5.ปัณฑิตานัญจะ เสวะนา การคบบัณฑิต บัณฑิต หมายถึง คนที่มีใจผ่องใสอยู่เป็นปกติวิสัย ทำให้มีความเห็นถูกยึดถือค่านิยมที่ถูกต้อง สามารถดำเนินชีวิตอยู่ด้วยปัญญาสัมมาทิฏฐิ
เป็นผู้รู้ดี คือ รู้ว่าอะไรดีอะไรชั่ว
เป็นผู้รู้ถูก คือ รู้ว่าอะไรถูกอะไรผิด
เป็นผู้รู้ชอบ คือ รู้ว่าอะไรบุญอะไรบาป
6.อะเสวะนา จะ พาลานัง การไม่คบคนพาล คือ คนไม่ดี คนโง่ คนชั่ว ไว้ ๓ ประการ คือ ทำชั่ว พูดชั่ว คิดชั่ว การบริหารชีวิต : อ่านตนออก บอกตนได้ ใช้ตนเป็น เห็นตนชัด
ประโยชน์ของการฟังธรรมะ
อัตตนา โจทยัตตานัง จงเตือนตนด้วยตนเอง การพิจารณาตน
การทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ด้วยการใช้แผนการอย่างพลิกแพลงตามสถานการณ์
1. การทำงานให้สำเร็จ
2. โดยลงทุนลงแรง แต่ได้ผลต้องการมาก
– การทำงานไม่เหนื่อยส่งไม้ต่อๆกัน มีความสุข ไม่กินแรงกัน (เก่ง ดี มีสุข)
บริหารงาน-คน ตามที่ขงจื้อ กล่าว (การพัฒนาตนเองตลอดเวลา)
– อย่าห่วงว่าใครไม่รู้ว่าท่านเก่ง
– ห่วงแต่ว่าเมื่อคนเขาให้โอกาสท่าน
– ท่านเก่งจริงหรือเปล่า
การทำงานด้วยศรัทธา/ฉันทะ
กันตุกันยตาฉันทะ – ทำดีเพื่อความดี ทำหน้าที่เพราะอยากทำ
ธัมมฉันทะ – ใฝ่รู้
พลังงานภายใน 5
1. ศรัทธา หมายถึง ความเชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ ไม่งมงายไร้เหตุผล
2. วิริยะ หมายถึง ความเพียร ความพยายาม ความกล้าที่จะลงมือทำ เป็นแนวทางให้ดำเนินไปสู่ความสำเร็จ
3. สติ หมายถึง ความระลึกได้ ความนึกขึ้นได้ ความไม่เผลอ
4. สมาธิ หมายถึง ความตั้งมั่นของจิต หรือภาวะที่จิตแน่วแน่ต่อสิ่งที่กำหนด
5. ปัญญา หมายถึง ความฉลาด ความรอบรู้ ความเข้าใจชัดในสิ่งต่างๆ ผู้มีปัญญาย่อมรู้จักผิดชอบชั่วดี รู้จักบาปบุญคุณโทษ รู้จัก
– ทำดีเพื่อความดี ทำหน้าที่เพราะอยากทำ
– ล้มเพราะก้าวไปข้างหน้า ดีกว่ายืนเต๊ะท่าอยู่กับที่
สติ – ปัญญา
รู้ทันสิ่งเฉพาะหน้า
ที่นี่ เดี๋ยวนี้ ที่เกิดกับเรา
สติ – ใส่ใจกับปัจจุบัน
สติมา – ปัญญาเกิด
สติเตลิด – มักเกิดปัญหา
“หนึ่งเดียวที่ข้าพเจ้ารู้ คือว่าข้าพเจ้าไม่รู้”
โง่ไม่เป็น เป็นใหญ่ยาก
ทางชีวิตจะรุ่งโรจน์ โสตถผล
ต้องรู้โง่ รู้ฉลาด ปราดเปรื่องตน
โง่สิบหนดีกว่าเก่งเดี๋ยวเดียว
ประโยชน์ที่ได้รับ
สามารถนำหลักคำสอนไปปฏิบัติใช้ในชีวิตประจำวัน พัฒนาตนเองให้ดีขึ้น เก่งขึ้น การเพิ่มความสุข โดยการยิ้ม ทำให้บรรยากาศในที่ทำงานสดชื่น ทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ด้วยการพลิกแพลงตามสถานการณ์ รู้จักแบ่งปัน เสียสละ ความสุขส่วนตน เพื่อทำประโยชน์แก่ผู้อื่น เข้าใจ เห็นใจ ผู้ที่มีความเดือดร้อน
ข้อเสนอแนะ
อยากให้มีการจัดอบรมในลักษณะนี้บ่อยๆ เพราะ สามารถนำไปใช้ในการทำงานและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง ทำให้คนที่อยู่ร่วมกันมีความสุข