โครงการอบรมทางไกลผ่านดาวเทียม
หลักสูตร
เงิน : บริหารอย่างไรไม่ให้จน
นางสุจิตรา ยอดเสน่หา
ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษาชำนาญการ
เนื้อหาโดยสรุป
เงิน ปัญหาพื้นฐานทางสังคม เนื่องจากคนในสังคม ไม่รู้จักการวางแผนการเงิน ใช้จ่ายเกินตัว นิยมสร้างหนี้ ผลัดวันเก็บออม ชอบคิดว่าอายุยังน้อย ไม่มีความจำเป็นจะต้องรีบออม ปัญหาที่พบคือ จากการเริ่มต้นชีวิต เริ่มเข้าสู่การเรียนหนังสือ จบแล้วมีการประกอบอาชีพ จากนั้นมีรายได้ในปริมาณที่สูง แต่ไม่สามารถเก็บออมได้เนื่องจากหาเงินได้แต่ไม่รู้จักวิธีการบริหารเงิน
หลักการบริหารเงิน
1. หาและใช้อย่างถูกต้อง2. ก่อให้เกิดความมั่งคั่ง3. มีความผาสุก4. มีความมั่นคงทางการเงินเป้าหมายชีวิตของบุคคล จะประกอบไปด้วย 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ1. เป้าหมายทางการเงิน เป็นเป้าหมายที่เกี่ยวกับการศึกษา ที่อยู่อาศัย และความสะดวกสบายหลังเกษียณ2. เป้าหมายความพึงพอใจ ครอบครัวมีความสุข และสามารถสงเคราะห์ผู้อื่นได้เป้าหมายทางการเงิน มีไว้เพื่อกำหนดทิศทาง เพื่อรองรับปัจจัยพื้นฐาน จะประกอบด้วย
เป้าหมายระยะสั้น โดยส่วนใหญ่คนทำงานมักจะมุ่งเน้นเพียงแค่ มีเงินเพียงพอกับค่าใช้จ่าย มีรายได้มากกว่ารายจ่ายเพื่อเหลือแล้วจะนำมาเก็บออม เมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน ยังไม่ได้มุ่งเน้นความหมายในด้านฐานะ ชอบซื้อเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ ด้วยเงินผ่อน และมีความต้องการแหล่งที่อยู่อาศัยแบบชั่วคราว
เป้าหมายระยะยาว เป็นเป้าหมายที่สำคัญ มีความต้องการที่อยู่อาศัยถาวร วางแผนการเกษียณอายุ การพักผ่อน การท่องเที่ยว และอื่นๆการเงินในแต่ละช่วงชีวิตของบุคคล
ระยะเริ่มต้นชีวิตการทำงาน : รายได้ส่วนตัวเพียงพอแค่ค่าใช้จ่าย อาจมีเงินออมบ้างเพื่อเป็นทุนการศึกษาสำหรับเรียนต่อ
ระยะเริ่มตั้งครอบครัว : แต่งงานยังไม่มีบุตร รายได้ไม่มากนัก เก็บออมไว้ใช้ยามฉุกเฉิน เก็บออมเพื่อที่อยู่อาศัยของตนเอง
ระยะขยายครอบครัว : มีบุตรจนถึงบุตรเริ่มเข้าสู่วัยรุ่น ครอบครัวมีมีรายได้สูงค่าใช้จ่ายก็สูงขึ้นด้วย วางแผนชีวิตเพื่อลดความเสี่ยง เช่นการทำประกันชีวิต การซื้อบ้านเป็นของตนเอง และการเก็บออมเงินเพื่อการศึกษาบุตรในอนาคต
ระยะการแยกครอบครัว : บุตรสำเร็จการศึกษาออกหางานทำ แต่งงาน และแยกครอบครัวไป มีการเก็บออมเงินได้ค่อนข้างสูง เพราะไม่ต้องมีภาระเรื่องบุตร แต่ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพเริ่มมากขึ้น
ระยะเริ่มเข้าสู่วัยชรา : เริ่มตั้งแต่เกษียณอายุราชการ รายได้มีจำกัด รายจ่ายเริ่มคงที่และลดลงเล็กน้อย ต้องประหยัดค่าใช้จ่าย แต่ค่าใช้จ่ายสุขภาพมากขึ้น บางคนมีความจำเป็นต้องดึงเงินออมหรือทรัพย์ออกขายเพื่อ ดำรงชีพ
แหล่งที่มาของรายได้ รายได้ของบุคคลส่วนใหญ่จะมาจาก เงินเดือน ค่าจ้าง โบนัสและเงินรางวัล เงินค่านายหน้า เงินประกันชีวิต ประกันสังคม รายได้จากการลงทุน รายได้อื่น เช่น ค่าเช่า การขายทรัพย์สิน หรือเงินภาษีรายได้สามารถแบ่งได้เป็น ดังนี้
1. รายได้ประจำซึ่งเป็นรายได้ไม่ถาวร เป็นเงินรายได้ที่มาจากการทำงาน
2. รายได้ถาวร รายได้ที่เงินทำงานแทน
3. รายได้ลาภลอย ได้มาแบบไม่คาดคิด เช่น ถูกหวย แต่เป็นรายได้ที่พึ่งพิงไม่ได้
เคล็ดลับการมั่นคงทางการเงิน
1. แบ่งรายได้ประจำมาเก็บออม
2. นำเงินออมไปลงทุน
3. เพิ่มสัดส่วนรายได้ถาวร
4. รายได้ถาวรมากพอกับรายจ่าย
การจัดสรรการใช้เงิน
ลำดับที่ 1 ค่าใช้จ่ายส่วนตัวและครอบครัว
ลำดับที่ 2 เก็บออมเป็นเงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน ประมาณ 6 เท่าของเงินรายได้ประจำ และควรเก็บในรูปที่สามารถ นำมาใช้ได้อย่างสะดวกหากเกิดเหตุ
ลำดับที่ 3 จ่ายคืนหนี้เงินกู้ (ถ้ามี) เนื่องจากดอกเบี้ยเงินกู้สูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝาก
ลำดับที่ 4 เก็บเงินออมสำหรับแผนการในอนาคต
ลำดับที่ 5 จ่ายเป็นค่าเบี้ยประกันเพื่อป้องกันความเสี่ยง
กฎ 3 ข้อในการกู้ยืม
1. หลีกเลี่ยงการกู้ยืมมากเกินไป
2. ไม่กู้มาเพื่อใช้จ่ายในการอุปโภคบริโภค
3. กู้จากแหล่งที่มีต้นทุนถูกว่า เงื่อนไขการเบิกและจ่ายคืนเอื้อประโยชน์
คติในเรื่องของการเงิน“อยากรวยต้องรู้จักหา ไม่อยากจนต้องรู้จักเก็บ” และใช้หลักการออมเงิน แบบฝากเงินดอกเบี้ยทบต้นการลงทุน
การลงทุนมีความเสี่ยงจะต้องทำการศึกษาก่อนที่จะลงทุน ซึ่งสามารถเลือกลงทุนในความเสี่ยงที่แตกต่างกัน แล้วแต่ว่าผู้ลงทุนสามารถยอมรับความเสี่ยงได้เท่าไร ซึ่งสามารถเลือกลงทุนในแหล่งเหล่านี้
• เงินฝาก
• พันธบตรรัฐบาล
• กองทุนรวมตราสารหนี้
• หุ้นกู้
• กองทุนรวมตราสารทุน
• หุ้นสามัญ
• ตราสารอนุพันธ์
• อสังหาริมทรัพย์
• โลหะมีค่า อัญมณี
• งานศิลปะ
นอกจากนี้ยังสามารถลงทุนในรูปแบบของการประกันชีวิต ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบ ซึ่งมีหลักในการเลือกความคุ้มครองที่ต่างกัน และตามความจำเป็นของผู้เอาประกัน รูปแบบการประกันชีวิตในแต่ละแบบจะมีข้อดีต่างกัน แต่สิ่งที่สำคัญคือสามารถลดความเสี่ยงได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งขึ้นอยู่ความคุ้มครองของแต่ละแบบประกัน และจำนวนเบี้ยประกันก็จะมีความแตกต่างกัน ตามวงเงินการคุ้มครองการเอาประกัน
1. การประกันแบบชั่วระยะเวลา กรณีที่มีความเสี่ยงสูง เป็นรูปแบบที่ไม่เงินคืนหากครบตามสัญญา
2. การประกันแบบตลอดชีพ กรณีที่มีความเสี่ยสูง แต่มีเงินให้กรณีที่เสียชีวิต
3. การประกันแบบสะสมทรัพย์ เป็นรูปแบบของการออมเงินรูปแบบหนึ่งเมื่อครบระยะเวลาจะได้เงินตามสัญญา เบี้ยประกันค่อนข้างสูง
4. การประกันแบบเงินได้ประจำ จะมีสัญญาเพิ่มเติมให้ในการคืนเงินเป็นงวดๆ ตามแต่ตกลงกันในสัญญา ส่วนมากเบี้ยประกันจะสูง
5. การประกันชีวิตแบบอื่นๆ เป็นแบบประกันที่นำมาแข่งขันกันในท้องตลาดเพื่อดึงความสนใจในการลงทุนจากลูกค้า
ประโยชน์ที่ได้รับ
ได้นำมาใช้ในการบริหารการเงินได้ในชีวิตจริง ได้สำรวจและทบทวนวิธีการบริหารส่วนบุคคล และนำหลักที่ได้มาใช้ในการลงทุน เพื่อให้มีฐานะมั่นคงในอนาคตปัญหา