นางเยาวลักษณ์ แสงสว่าง
ตำแหน่ง บรรณารักษ์
ประชุมวิชาการเรื่อง เรียนรู้ไปกับห้องสมุดยุคใหม่ (Live and Learn the Modern Library)เป็นงานประชุมวิชาการที่จัดโดย ศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จัดขึ้นในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ – 1 มีนาคม 2556 ณ โรงแรมแลนด์มาร์ค กรุงเทพฯ
รายละเอียดการอบรม
ความคาดหวังของผู้บริหารที่มีต่อห้องสมุดยุคใหม่ โดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงความคาดหวังของผู้บริการที่มีต่อห้องสมุดยุคใหม่ 3 เรื่อง คือ
1.คาดหวังอะไร
– ต้องการให้ห้องสมุดเป็นยิ่งกว่าห้องสมุดโดยทั่วไป เช่น ผู้บุกเบิก แสวงหา นวัตกรรม เพื่อรองรับในการบริหารจัดการองค์ความรู้จากขุมพลังปัญญาที่ถูกต้อง สมบูรณ์ มีความหลากหลาย รวดเร็วในการเข้าถึง เพื่อสนองความต้องการในการการเรียนการสอนการวิจัย
2.ทำไมต้อง “ห้องสมุด”
– ทำไมต้องเปลี่ยนห้องสมุดแบบเดิมเป็นห้องสมุดยุคใหม่ คือ เพื่อต้องการผลิตบัณฑิตที่พึงประสงค์ เนื่องจากสังคมปัจจุบันเปลี่ยนไปมาก ผู้ใช้บริการมีความการหลากหลาย ทั้งการอ่าน โหลด โหวต แชร์ รวมถึงการสืบค้นที่พึ่งพา google มาก และการใช้งานส่วนใหญ่เข้าถึงจากฐานข้อมูลซึ่งเป็นการใช้งาน e-Book หรือ e-Journals มากกว่าการเข้าใช้ที่สถานทีห้องสมุดจริง
3.ทำอย่างไร
– จากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนั้นจะทำให้ห้องสมุดเป็นห้องสมุดยุคใหม่ ห้องสมุดที่มีชีวิตนั้น เราต้องมีความสามารถในการเรียนรู้ที่จะพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องและมีความยืดหยุ่นในการปรับตัว มีศักยภาพในการสร้างสรรค์งานวิจัย นวัตกรรม และการจัดกิจกรรมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และมีจิตวิญญาณในการให้บริการด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม
การการบรรยายของวิทยากรแต่ละท่านขอสรุปในแต่ละหัวข้อดังนี้
รู้ลึก รู้รอบ กับนวัตกรรมในการบริหารจัดการ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.พสุ เดชะรินทร์ คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย -ได้กล่าวถึงว่า นวัตกรรมใครก็ทำได้ ไม่จำเป็นต้องมาจากการวิจัยและการพัฒนา และไม่จำเป็นต้องมาจากภายในองค์กร ซึ่งการคิดนวัตกรรรมเป็นการคิดจากสิ่งรอบตัวเรา เอามาผสมผสานให้เกิดสิ่งใหม่ ๆ เช่น จังหวัดสิงห์บุรีขึ้นชื่อเรื่องปลา ก็นำปลา เมื่อร้านเบเกอร์รี่ต้องการสร้างสินค้านวัตกรรม ก็นำปลามาทำเป็นเคกปลาช่อน หรือทีรู้จักกันในชื่อเคกปลาช่อน
– ซึ่งการเริ่มต้นของการสร้างนวัตกรรม ต้องเริ่มต้นจากสิ่งต่อไปนี้
1. การตั้งคำถาม – หากท่านเป็นร้านค้าท่านอาจจะตั้งคำถามว่า “เมื่อลูกค้าที่มาหาท่าน
2. สังเกต-เขาต้องการอะไร” หาจุด “Pain Point(จุดปัญหา)”ต้องสังเกตพฤตกรรมของคนที่มาใช้บริการ โดยสังเกตที่จุดที่คิดว่าผู้ใช้บริการน่าจะเปิดอกคุยกันมากที่สุด เช่น เราได้รับฟังข้อคิดเห็นที่แท้จริงว่าเขารู้สึกต่อการให้บริการเราอย่างไร เขาจะคุยกันในบริเวณไหนอาจจะเป็นห้องน้ำ หน้าลิฟ
3. ทดลองปฏิบัติ-ต้องลองผิดหรือลองถูกก่อนว่าใช่หรือไม่นำสิ่งที่ตั้งคำถาม กับการตั้งสังเกตมาทดลองปฏิบัติเพื่อวิเคราะห์
4. เครือข่าย-ใช้วิธีการพูดคุยสังสรรคเพื่อให้เกิดเครือข่าย
มิติของห้องสมุดกับการวิจัย โดย ดร.ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศษสตร์ จุฬา กล่าวไว้ว่าห้องสมุดในฐานะแหล่งให้ความรู้สารสนเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะการสนับสนุนการทำวิจัย ดังนั้น ห้องสมุดกับงานวิจัยมีความสำคัญมากในปัจจุบัน ซึ่งห้องสมุดต้องดูว่าทรัพยากรที่ให้บริการและการให้บริการในปัจจุบันนั้นตอบสนองนักวิจัยได้จริงหรือไม่ การให้บริการต่างๆ ควรมีการสำรวจวิจัยถึงความต้องการว่าปัจจุบันผู้ใช้บริการนิยมในรูปแบบใด และมีบริการใดควรบริการผู้ใช้โดยเฉพาะสำหรับนักวิจัยที่มีความสำคัญมากในปัจจุบันที่การค้นหาข้อมูลเพื่อใช้ประกอบในการทำวิจัยของเขา หากเราทราบก็จัดซื้อจัดหาสิ่งที่ต้องการทั้งที่เป็นในรูปของรูปเล่มและออนไลน์ในส่วนของบทความออนไลน์และหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ดังนั้นในการให้บริการเราควรจดคำถามของผู้ใช้ทุกคำถาม ทั้งคำถามง่ายและยากเพื่อนำไปวิเคราะห์ว่าเราควรพัฒนาอย่างไร
ชวนคิด ชวนอ่าน เรื่องเมืองหนังสือโลก โดย นายแพทย์อุดม เพชรสังหาร ผอ.ศูนย์พัฒนาอัจฉริยภาพเด็กและเยาวชน สถาบันรักลูก บริษัท รักลูกกรุ๊ป จำกัด และ ดร.ทัศนัย วงศ์พิเศษกุล ผอ.สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ (TK Park) – นายแพทย์อุดม กล่าวว่า มนุษย์ทุกคนอ่านได้ตั้งแต่ลืมตาดูโลกตอนคลอดออกจากท้องแม่ คือการอ่านลักษณะท่าทาง ค่อยเริ่มเรียนรู้คำพูดและรู้จักตัวอักษร และได้กล่าวว่าการนำหนังสือไปรวมกับพื้นที่ในการอ่านหนังสือที่มีรูปแบบหลากหลายทำให้ผู้อ่านได้ผ่อนคลาย ไม่ว่าจะเป็นการอ่านบนพื้นที่ที่เป็นลักษณะบันได การอ่านบนพื้นห้อง การอ่านในพนังซึ่งเอาแนวคิดด้านสถาปัตยกรรมมาเพื่อให้เป็นห้องสมุดมีชีวิต ซึ่งทาง ดร.ทัศนัย ได้กล่าวถึงความเปลี่ยนแปลงของห้องสมุดในปัจจุบันนั้นของ TK Park เป็นการพัฒนาและคิดค้นในส่วนของห้องสมุดต้นแบบ ในลักษณะห้องสมุดประชาชน ซึ่งเป็นการสร้างห้องสมุดที่มีสีสันที่ทันสมัยเหมาะสมกับวัยรุ่นยุคปัจจุบัน มีลูกเล่นในการอ่านหนังสือในอริยบทต่าง ๆ เพื่อสร้างบรรยากาศให้เขาอยากเข้ามาอ่านก่อน จากนั้นก็จะเป็นการสร้างห้องสมุดมีชีวิตระหว่างผู้ใช้กับผู้ให้บริการผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ที่ห้องสมุดจัดขึ้น
การพัฒนาสมรรถนะ Cybrarian ต้องเป็นบรรณารักษ์ยุคใหม่ที่เข้าใจผู้ใช้บริการ สามารถตามโลกให้ทันในเรื่องของเทคโนโลยีต่าง ๆ โดยไม่กลัวที่จะเสี่ยง ซึ่งการให้บริการในปัจจุบันนั้นควรมีความคล่องแคล่ว ว่องไว และช่างสงสัย ควรมองเทคโนโลยีอย่างพินิจพิเคราะห์ และไม่ยอมแพ้กับปัญหาต่างที่พบ ซึ่งบรรณารักษ์ปัจจุบันนั้นเป็นการทำงานที่มีลักษณะการขายความคิดและสื่อสารอย่างมีประสิทธิผล สามารถสร้างเครือข่ายและสร้างพันธมิตรให้ได้เพื่อติดตามข่าวสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลต่างๆ ที่ผู้ใช้ร้องขอได้
Live and Learn เพลินไปกับสื่อออนไลน์ -อาจารย์สมิทร์กล่าวนั้นการเข้าห้องสมุดนั้นเขาต้องการแหล่งข้อมูลที่สามารถอ้างอิงได้เขาจึงเข้ามาใช้บริการ เพราะฉนั้นบรรณารักษ์ต้องมีการปรับตัวให้เข้าถึงผู้ใช้บริการมากขึ้น ต้องมีการเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เปลี่ยบเทียบห้องสมุดเป็นแหล่งขายข้อมูลสินค้าชนิดหนึ่ง ซึ่งบรรณารักษ์จะต้องนำเสนอสินค้าอย่างไรให้ผู้ใช้สนใจ คุณเมฆินทร์ ได้กล่าวถึงเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่สามารถนำมาประยุกต์ในการให้บริการในห้องสมุด และบนสื่ออนไลน์ต่าง ๆ ได้ รวมถึงการสร้างแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบง่ายให้กับผู้ใช้บริการ
ประโยชน์ที่ได้รับ
จากการอบรมในครั้งนี้ทำให้ได้ความรู้ในการปฏิบัติงานทั้งทางทักษะการปฏิบัติงาน ทักษะการความคิดวิเคราะห์ และการนำไปใช้
ความรู้ที่ได้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนางานบริการและการปฏิบัติงานในห้องสมุดได้เพื่อให้ห้องสมุดสามารถพัฒนาทันตามเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงปัจจุบัน
ดาวโหลดรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.car.chula.ac.th/con2013/