มทร. ธัญบุรี สุดเจ๋ง…พัฒนาสูตรขนมหม้อแกงโบราณจนคว้ารางวัลระดับประเทศ เล็งต่อยอดพัฒนาองค์ความรู้สู่ชุมชน
นักศึกษาสาขาวิชาการตลาด ในนามกลุ่ม “Rmutt 33” ซึ่งประกอบไปด้วยสมาชิกจำนวน 4 คน คือ นางสาวธนันยา เตโชชะ นายนรินทร์ ม่วงน้อย นางสาวจิตรา วงษ์จำปา และนางสาวปิยาภรณ์ สังข์เงิน จัดทำแผนธุรกิจส่งเข้าประกวดในโครงการ One-2-Call Brandage Award โดยเป็นแผนพัฒนาการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านขนมไทย ศูนย์ OTOP ต. ตลองสาม ซึ่งนอกจากจะใช้องค์ความรู้ทางด้านการตลาดในการวิเคราะห์จัดทำแผนธุรกิจได้อย่างรอบคอบและรัดกุมแล้ว การพัฒนาสูตรขนมแบบโบราณโดยใส่ลูกเล่นคือความทันสมัยลงไป ถือเป็นกลยุทธ์เด็ดที่สามารถพิชิตใจกรรมการจนสามารถคว้ารางวัลรองชนะเลิศมาครองได้เป็นผลสำเร็จ
นางสาวธนันยา เตโชชะ หัวหน้าทีม Rmutt 33 ได้ให้ข้อมูลว่า “ขนมหม้อแกงถั่ว สูตรโบราณ ของกลุ่มแม่บ้านขนมไทยศูนย์ OTOP คลองสามเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทางกลุ่มสมาชิก ได้ทำการพัฒนาและประยุกต์จากสูตรที่คุณป้ามนตรีได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษซึ่งเป็นชาวมอญจังหวัดปทุมธานีแต่เดิม โดยทำการพัฒนาสูตรเมื่อ ปีพ.ศ.2552 ซึ่งจากการลงพื้นที่และสัมภาษณ์กลุ่มแม่บ้าน พบว่าทางกลุ่มแม่บ้านยังต้องการให้คงเอกลักษณ์ความเป็นขนมหม้อแกงถั่วสูตรโบราณไว้ เนื่องจากเป็นสูตรอันเป็นเอกลักษณ์ดั้งเดิมของชาวมอญ ทางกลุ่มจึงได้นำเสนอ “ขนมหม้อแกงถั่วถ้วยทองสูตรโบราณ” ซึ่งเป็นขนมไทยประยุกต์ที่นำแป้งอเนกประสงค์มาดัดแปลงให้เป็นถ้วยบรรจุขนมหม้อแกงที่รับประทานได้พร้อมกับตัวขนมหม้อแกง โดยขนมหม้อแกงถั่วจะเป็นสูตรโบราณของกลุ่มแม่บ้านขนมไทยศูนย์ OTOP คลองสามซึ่งจะมีความอร่อย กลมกล่อม แตกต่างจากขนมหม้อแกงไข่เนื่องจากเน้นส่วนผสมของถั่วเป็นหลัก และไม่ใช้ไข่แดงจึงมีปริมาณแคลอรี่ที่ต่ำกว่าส่วนตัวแป้งพายมีรสเค็มเล็กน้อยมีกลิ่นหอมของเนยสดและกลิ่นหอมของแป้งอบอย่างเบเกอรี่ซึ่งผสมผสานกันอย่างลงตัว เป็นการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในด้านความสะดวกในการรับประทานที่สามารถทานได้ง่าย สะดวกกว่าแบบถาดหม้อแกงขนาดเล็ก รวมถึงยังเป็นการลดการใช้ถาดหม้อแกงซึ่งปัจจุบันมีราคาที่ค่อนข้างสูง แต่สามารถใช้แป้งอเนกประสงค์ทดแทนซึ่งมีราคาที่ต่ำกว่าและสามารถรับประทานได้ทั้งยังสามารถขยายกลุ่มลูกค้าไปสู่กลุ่มที่มีอายุน้อยลงได้อีกด้วย”
ผลจากความร่วมมือร่วมใจกันระหว่างกลุ่มแม่บ้านตำบลคลอง 3 และกลุ่มนักศึกษาสาขาวิชาการตลาดในนาม Rmutt 33 ส่งผลให้การพัฒนารูปแบบ ปรับปรุงสูตรขนมหม้อแกง ตลอดจนการจัดทำแผนธุรกิจที่รอบคอบและรัดกุม ทำให้แผนธุรกิจของกลุ่ม Rmutt 33 เป็นที่ชื่นชมเป็นอย่างมาก และทางกลุ่มแม่บ้านเองก็สามารถเพิ่มรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในรูปลักษณ์ใหม่ ที่ยังคงทั้งอัตลักษณ์ รสชาติ และความเป็นมาอันทรงคุณค่าของผลิตภัณฑ์อยู่อย่างครบถ้วน หากแต่สามารถจับกลุ่มเป้าหมายได้กว้างขึ้นและขยายตลาดได้มากขึ้นอีกด้วย
จากความสำเร็จดังกล่าว ทางสาขาวิชาการตลาดจึงได้สนับสนุนให้นักศึกษาได้มีการลงพื้นเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ในลักษณะเช่นนี้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งนอกจากนักศึกษาจะได้รับการฝึกฝนทักษะในการประยุกต์ใช้องค์ความรู้จากห้องเรียนมาใช้ในชีวิตจริงแล้ว ทางผู้ประกอบการหรือชุมชนเองก็จะได้รับการแก้ปัญหาอย่างจรงจุดอีกด้วย
และสำหรับผู้ประกอบการที่สนใจวิธีการทำขนมหม้อแกงถั่วถ้วยทองสูตรโบราณ ตลอดจนการจัดทำแผนธุรกิจ สามารถเข้าไปชมเพิ่มเติมได้ที่