นางสาววิริยา สมบูรณ์ผล
ตำแหน่ง บรรณารักษ์
เนื้อหาโดยสรุป
การบรรยายพิเศษประกอบด้วย เรื่อง “Roadmap to Cloud” โดย รศ.ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ ได้กล่าวถึง Ubiquitous Computing, การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี, Cloud Computing, Vitualization เทคโนโลยีที่ช่วยในการสร้าง ระบบ Cloud Computing, คุณลักษณะของ Cloud Computing, รูปแบบของการบริการ, รูปแบบของการติดตั้ง, การเปรียบเทียบ Traditional Marketing solutions กับ Cloud Marketing, ข้อดีข้อเสีย ผลกระทบของ Cloud Computing, แนวโน้มของ Cloud Computing, Stakeholder ในระบบ Cloud, ผลกระทบของ SaaS, IaaS, PaaS และ Private Cloud, กลยุทธ์การพัฒนา Cloud Computing, การเตรียมพร้อมสู่ Cloud Computing, องค์กรที่เหมาะกับ Cloud Computing, Application ที่เหมาะสมและไม่เหมาะสม, ศึกษาความต้องการของ Application, Cloud Migration, การป้องกันข้อมูลปัจจุบันขององค์กร, การคำนึงถึงเรื่อง Vender Lock-in, Cloud Provider เลิกกิจการ, ขั้นตอนการพัฒนา Cloud, Public Cloud : ต้องเข้าใจเรื่อง SLA, cloud Governance และการเปลี่ยนแปลงของแผนกไอที
เรื่อง “UniNet พบมหาวิทยาลัย” โดย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้กล่าวถึงโครงการเครือข่ายการศึกษาแห่งชาติที่ทาง UniNet ได้พัฒนา สู่การเป็น NEdNet พร้อมได้อธิบายถึงความก้าวหน้าของโครงการต่างๆ ที่ได้ดำเนินอยู่, การแจ้งสถานะปัจจุบันของการเชื่อมต่อ และสถาบันการศึกษาในประเทศไทยที่อยู่ระหว่างการเชื่อมต่อ, การดำเนินงานเครือข่าย IPv6 และปริมาณการใช้งาน IPv6, การขอ Bandwidth เพิ่มจาก 1 Gbps, การพัฒนาทรัพยากรบุคคล, แผนงานดำเนินการด้านพัฒนาเครือข่าย, แผนการพัฒนา Peering Network, เป้าหมายการปรับปรุงระบบ Union Catalog, แผนโครงการ TDC, โครงการจัดทำเอกสารฉบับเต็มในรูปอิเล็กทรอนิกส์ประเภทเอกสารมรดกไทย, โครงการบอกรับฐานข้อมูลออนไลน์ต่างประเทศ ปี 2557-2561 และโครงการพัฒนาระบบห้องสหมุดอัตโนมัติ
เรื่อง “ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ การจัดการศึกษา สำหรับผู้เรียนยุคดิจิตอล”
โดย ผศ.ดร. เด่นพงษ์ สุดภักดี ได้กล่าวถึง Learning, Bigdata ข้อมูลขนาดใหญ่ที่ยากต่อการประมวลผลได้ด้วยเครื่องมือจัดการฐานข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน, Smart teacher ผู้ที่ต้องสามารถสร้างแหล่งเรียนรู้ และสามารถใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ เป็น และ Massive Open Online Cours (MOOCs) คือหลักสูตรการเรียนแบบออนไลน์ เป็นระบบเปิดหรือเรียนได้แบบเสรี
เรื่อง “Cloud Services in Education for Digital Age” โดย Apple /Mr. Harry Kwa /คุณปัญจพร วิทยเลิศพันธุ์ / ผศ.ดร. เด่นพงษ์ สุดภักดี /ดร.สุนทร พิบูลย์เจริญสิทธิ์ เป็นช่วงของการเสวนาเกี่ยวกับบริการต่างๆ ที่มีให้บริการบน Cloud ในยุคของดิจิตอล ที่สถานศึกษาสามารถนำมาให้บริการ พร้อมทั้งตัวแทนบริษัทได้แนะนำโปรดักส์ต่างๆ ที่ทางบริษัทมีให้บริการ
เรื่อง “การสำรวจสภาพความเป็นไปของโปรแกรมประยุกต์ในการบริหารสถานศึกษาเพื่อวางแนวทางในการให้บริการจากคลาวด์” โดย ดร.ยรรยง เต็งอำนวย ได้กล่าวถึง Application Software for Academic พร้อมตัวอย่าง, กลุ่มเป้าหมายของการสำรวจ, ผลการสำรวจ พร้อมตัวอย่างรายชื่อและรายละเอียด และ Software Developer
เรื่อง “Walai AutoLib กับการจัดการสารสนเทศดิจิตอล”โดย ดร.ศิวนาถ นันทพิชัย และ อ.ยุทธนา เจริญรื่น ได้กล่าวถึง Digital Content, Library Portal, Digital Collection, Digital Rights Management, Responsive Web Design เป็นการออกแบบเว็บไซต์เพื่อแสดงผลตามหน้าจอที่เปลี่ยนแปลไป, Single Search, Facet Searching เป็นการรวมคุณลักษณะกลางเพื่อทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลที่เป็นกลุ่มก้อนได้, Index Engine เป็นการสร้าง Index content และ Augmented reality ส่วนในเรื่องการพัฒนาระบบ Walai AutoLib นั้นได้กล่าวถึง LMS Architecture, Walai AutoLib timeline เป็นระบบจัดการห้องสมุดในระดับเครือข่าย, Online Acquisition เป็นการจัดซื้อจัดหาบนออนไลน์, Digital Resources Acquisition, MARC21 and metadata mapping, Online & Onsite services, Spin Label Maker และ Authority Control Module
เรื่อง “มาตรฐานข้อมูล RDA (Resource Description and Access) สำหรับจัดการข้อมูลบรรณานุกรมห้องสมุด” โดย นายชำนาญ อินทสโร ได้กล่าวถึง มาตรฐานการลงรายการ, RDA & FRBR, MARC & FRBR Entity, ตัวอย่างการสืบค้นและแสดงผลบรรณานุกรม, โปรแกรมห้องสมุด ALIST & RDA และข้อกำหนด Tag และตัวอย่างการใช้งาน มาตรฐาน RDA เป็นมาตรฐานการลงรายการสารสนเทศสื่อดิจิทัลรูปแบบใหม่ที่จะมาแทนมาตรฐานการลงรายการ AACR2 สามารถรองรับการลงรายการทรัพยากรสารสนเทศทั้งในรูปแบบสื่อดิจิทัลและสื่อในรูปแบบเดิมได้ ส่วนการลงรายการบรรณานุกรมข้อมูลที่เรียกว่า FRBR เป็นการลงรายการข้อมูลได้ทุกรูปแบบทั้งเอกสารสิ่งพิมพ์และไฟล์ดิจิทัล มาตรฐาน RDA สามารถทำงานร่วมกับ มาตรฐาน MARC ได้ ด้วยการเพิ่ม Tag ในการลงรายการ
ประโยชน์ที่ได้รับ
ได้ทราบถึงแนวทางการพัฒนาระบบต่างๆ ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในพัฒนาการศึกษา การพัฒนาระบบงานภายในองค์กร หรือแม้กระทั่งการดำเนินการกิจกรรมต่างๆ บนระบบเครือข่ายสารสนเทศในยุคดิจิตอล