นางสาววิริยา สมบูรณ์ผล
ตำแหน่ง บรรณารักษ์
เนื้อหาโดยสรุป
กฎหมายปกครองที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยของรัฐ มีดังนี้
มหาวิทยาลัยของรัฐกับนิสิตนักศึกษา
การสอบเข้าศึกษา หลักเกณฑ์ในการรับสมัครเข้าเรียน มหาวิทยาลัยสามารถกำหนดหลักเกณฑ์ได้ด้วยตนเอง เพราะบางคณะอาจมีหลักเกณฑ์การรับสมัครที่เฉพาะเจาะจงสำหรับคณะนั้นๆ แต่ปัจจุบันไม่นิยมกำหนดหลักเกณฑ์เฉพาะ เพราะถือว่าทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน
การสอบประจำภาค การสอบประเมินผลในหนึ่งวิชานั้นๆ กรณีใช้วิธีการสอบแบบสัมภาษณ์เพื่อป้องการการพิพากทางคณะหรือมหาวิทยาลัยต้องออกแนวปฏิบัติภายในว่าถ้าเลือกใช้วิธีการสอบแบบนี้ต้องมีการอัดเทปบันทึกเพื่อใช้เป็นการตรวจสอบการให้คะแนนวัดผลนั้นภายใต้หลักวิชาการ เพราะถ้าหากเป็นการสอบสัมภาษณ์แบบวิธีการเอาได้เอาตกนั้น นักศึกษาสามารถฟ้องร้องได้
การสอบวิทยานิพนธ์ คณะกรรมการคุมสอบต้องแต่งตั้งตามระเบียบที่มีคุณสมบัติตามกฎหมายกำหนด หากคณะกรรมการไม่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดต้องมีการรับรองในกรณีพิเศษ เพราะถ้าเกิดกรณีให้นักศึกษาสอบตกจะทำให้การสอบนั้นเสียไปเพราะกรรมการไม่มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนด
การลงโทษนิสิต กรณีนิสิตทุจริตในการสอบการทำโทษที่ร้ายแรงที่สุดคือการไล่ออก
สัญญารับทุนของนิสิตนักศึกษา กรณีนักศึกษาทำผิดข้อสัญญามหาวิทยาลัยมีสิทธิ์เรียกมาสอบสวนข้อชัดเจนว่าปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่กำหนดไว้ครบถ้วนหรือไม่ และต้องเปิดโอกาสกับทางนักศึกษาให้สามารถที่จะชี้แจงได้
มหาวิทยาลัยของรัฐกับบุคลากรในมหาวิทยาลัย
วินัยของข้าราชการ กรณีข้าราชการทำผิดวินัยการลงโทษเบาที่สุดคือการตักเตือนจนถึงขั้นตัดเงินเดือน หากผิดวินัยที่ร้ายแรงคือการไล่ออก
การเลื่อนขั้นเงินเดือน จะต้องมีระเบียบส่วนกลางที่ชัดเจน กรณีมีการเลื่อนขั้น 2 ขั้น ต้องมีการประกาศล่วงหน้าว่ามีใครบ้างที่มีโอกาสจะได้เลื่อนขั้น และฝ่ายบุคคลนั้นก่อนส่งเอกสารประเมินต่อคณะกรรมการต้องส่งเอกสารนั้นให้ตัวผู้ถูกประเมินด้วยเช่นกันเพื่อสามารถแก้ไขข้อมูลที่อาจมีข้อผิดพลาดได้ แต่เมื่อเข้าสู่การประเมินนั้นแล้วผู้ถูกประเมินไม่สามารถเข้ามายุ่งเกี่ยวได้ เพราะการพูดคุยของคณะกรรมถือเป็นความลับแต่ผลการประเมินที่เสนอไปแล้วถือไม่เป็นความลับ และแบบประเมินต้องถูกส่งกลับถึงผู้ถูกประเมินเพราะจะทำให้ผู้ถูกประเมินเห็นข้อพบพร่องของตนเองในกรณีถูกประเมินไม่ผ่านเกณฑ์ เพราะถ้าเกิดการฟ้องจะถูกลื้อทั้งระบบและคะแนนจะถูกเปรียบเทียบกันในกรณีที่มีคุณสมบัติและความสามารถเท่ากันแต่ทำไมคะแนนไม่เท่ากัน ในรอบเดียวกันนั้นถ้าคณะกรรมการไม่สามารถอธิบายได้ถือว่าการประเมินนั้นไม่ชอบหรือไม่โปร่งใส
มหาวิทยาลัยของรัฐกับบุคลากรภายนอก
สัญญาจัดซื้อจัดจ้างและสัญญาอื่นของมหาวิทยาลัย กรณีตัวอย่างมีการประเมินร้านค้าโดยทางมหาวิทยาลัยได้ตั้งคณะกรรมการชิมรสชาติอาหารของแต่ละร้านค้าเพื่อให้ผ่านหรือไม่ผ่านนั้น หากเกิดกรณีไม่พอใจต่อผลการประเมินที่ไม่ผ่านมีการฟ้องร้องต่อศาล ศาลจะไม่เข้ามายุ่งกับทางมหาวิทยาลัยเพราะการเลือกร้านค้าใดถือเป็นดุจพินิจของทางมหาวิทยาลัยเพราะถือมีกฎเกณฑ์อย่างชัดเจน
การกำหนดคุณสมบัติผู้สมัครอาจารย์หรือเจ้าหน้าต้องสำเร็จปริญญาตรีเกียรตินิยม กรณีตัวอย่างมีการรับสมัครอาจารย์หรือเจ้าหน้าที่ รอบแรกรับสมัครวุฒิระดับปริญญาตรีเข้ามาปฏิบัติงานแต่ปฏิบัติงานไม่มีประสิทธิภาพเกิดการลาออก รอบสองได้เปิดรับสมัครใหม่โดยระบุรับเฉพาะวุฒิระดับปริญญาตรีเกียรตินิยมอันดับหนึ่งเท่านั้น เพื่อใช้ในการลดปริมาณคนสอบและคัดเลือกผู้มีความสามารถจริงๆ ผู้ที่จบวุฒิระดับปริญญาตรีที่ไม่ได้เกียรตินิยมอันดับหนึ่งไม่สามารถสมัครได้นั้น จึงได้ทำการฟ้องต่อศาลปกครองเพราะประกาศขัดต่อรัฐธรรมูญเป็นการออกหรือเลือกปฏิบัติเอาระดับการศึกษามาเป็นตัวแบ่งแยก ศาลสามารถให้เพิกถอนได้
ประโยชน์ที่ได้รับ
ได้ทราบถึงหลักปฏิบัติราชการที่ดี กฎหมายปกครองที่ควรรู้ที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยหรือกฎหมายที่เอื้อประโยชน์ต่อตนเองหรือส่วนร่วม และได้ทราบถึงตัวอย่างการถูกฟ้องร้องต่างๆ ที่อาจเกิดกับทางมหาวิทยาลัยหรือต่อตัวเราเองเพื่อให้สามารถนำมาป้องกันการถูกฟ้องร้องได้ในอนาคต