นางสาวเบญสริ์ยา ปานปุญญเดช
ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษา
เนื้อหาโดยสรุป
การคิดวิเคราะห์ เพื่อการแก้ปัญหาและตัดสินใจ (Analytical Thinking for Problem Solving & Decision Making) วิทยากรบรรยายให้ทราบถึงพลังแห่งการคิด (The Power of Thinking) ว่า วิธีการคิดของคุณสามารถเปลี่ยนชีวิตคุณได้ในการดำรงชีวิตหรือการดำเนินชีวิตของคนเราได้ ชีวิตคุณจะเป็นเช่นไรอยู่ที่ พฤติกรรมของคุณเป็นตัวกำหนด การคิดในเชิงบวกโดยมีทัศนคติที่ดี หรือมีมุมมองที่เป็นบวกและสร้างสรรค์ มองโลกในแง่ดีต่อสิ่งต่าง ๆ ต่อเหตุการณ์ หรือเงือนไขต่าง ๆ ที่เข้ามาไปในทางที่ดี ผลที่ได้ออกมากจะเป็นไปในทางบวกและสร้างสรรค์ นั้นก็คือ
พฤติกรรมหรือการแสดงออกของแต่ละบุคคล มี 90% คือสิ่งที่สามารถควบคุมได้ ได้แก่พฤติกรรมและการแสดงออก กิริยาต่าง ๆ แต่อีก 10% คือสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้ พลังแห่งความสำเร็จเป็นรากฐานของการคิดในทุกรูปแบบ อย่าปล่อยให้ 10% ที่เราไม่สามารถควบคุมได้มาเป็นตัวกำหนดชีวิตของเรา
ตัวอย่าง พ่อ แม่ ลูก นั่งทานอาหารเช้าที่บ้านก่อนออกไปทำงาน ลูกทำแก้กาแฟตกใส่พ่อจนตัวเปรียก
สิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้ 10% คือลูกทำแก้กาแฟตก 90% คือการแสดงออกหรือพฤติกรรมของพ่อ
พฤติกรรมที่ 1 พ่อ ดุดำหนิลูกและภรรยา ผลที่ได้คือ พ่อและภรรยาโต้เถียงกัน ลูกร้องไห้ ไปโรงเรียนสาย พ่อไปทำงานสาย
พฤติกรรมที่ 2 พ่อ หันไปหาลูกและสอนให้ลูกระมัดระวังมากกว่านี้ จากนั้นพ่อขึ้นไปเปลี่ยนชุดใหม่ ไปส่งลูกที่โรงเรียน และไปทำงาน ผลที่ได้คือ ลูกเชื่อฟัง ลูกไปโรงเรียนทัน พ่อไปทำงานตรงเวลา
สรุปได้ว่า จากเหตุการณ์เดียวกัน การแสดงออกต่างกันผลที่ได้ต่างกัน ดังนั้นอย่าให้ 10% ที่ไม่สามารถควบคุมได้มาเป็นตัวกำหนดอนาคตและชีวิตของคุณ
Analytical Thinking คือ การจำแนก แจกแจง องค์ประกอบต่าง ๆ ของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เรื่องใดเรื่องหนึ่ง จากนั้นจึงหาความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลขององค์ประกอบเหล่านั้น เมื่อได้ความสัมพันธ์แล้วจึงดำเนินการค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของสิ่งที่เกิดขึ้น เช่น เหตุคือ: วันนี้มีเมฆฝนบนท้องฟ้ามาก ผลคือ : ฝนตก / อากาศดี /ลมแรง
หลักพื้นฐานของการคิดเชิงวิเคราะห์
จากหลักการพื้นฐานข้างต้นโดยประยุกต์ใช้กับเครื่องมือการวิเคราะห์ Why Why Analysis เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาเป็นแนวทางในการดำเนินงานหรือแก้ไขปัญหาให้งานสำเร็จลุล่วงไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและสูงขึ้นจากเดิมอย่างน้อย 20%
ประโยชน์ที่ได้รับ
ทราบถึงรายละเอียดและวิธีการวิเคราะห์เพื่อการแก้ปัญหาและการตัดสินใจที่สามารถ นำมาต่อยอดในการประยุกต์ใช้กับการดำเนินงานต่อไป