นางเยาวลักษณ์ แสงสว่าง
ตำแหน่ง บรรณารักษ์
เนื้อหาโดยสรุป
ในการอบรมมี 2 การพัฒนาศักยภาพบรรณารักษ์ยุคใหม่ มีการจัดอบรม 2 หัวข้อ ดังนี้
1. การแนะนำการใช้งาน Infographic
2. ทรัพย์สินทางปัญญากับการบริการสารสนเทศ และการก้าวสู่ยุคการบริการแบบเปิด
การอบรมวันแรกจะเป็นการแนะนำการใช้งาน Infographic ในการทำสื่อประชาสัมพันธ์ห้องสมุด ซึ่งเป็นการสรุปงานในลักษณะภาพ โดยนำสถิติ ความรู้ ตัวเลข ความหมายต่าง ๆ ฯลฯ มาทำการประชาสัมพันธ์ข่าวสารต่าง ๆ เกิดความน่าสนใจในการรับรู้ข่าวสารด้วยภาพ เพียงไม่กี่รูป เนื่องจากทุกวันนี้คนนิยมดูภาพมากกว่าการอ่านตัวอักษร ซึ่งการทำ icon Infographic อาจจะนำมาจากสัญลักษณ์ ที่มีการสื่อความหมายมารวมกันเพื่อก่อให้เกิดความรู้ในการนำเสนอตามที่ต้องการ ซึ่งมีเครื่องมือที่ที่ใช้หลายรูปแบบ หลายโปแกรม แต่จากที่วิทยากรแนะนำนั้นเป็นการใช้ icon จากการดาวโหลดไฟล์ที่ทำสำเร็จด้วย Illustrator และมาก็อปวางใส่ใน PowerPoint เพื่อนำรูปแบบมาเรียงเป็นสื่อที่ต้องการประชาสัมพันธ์ห้องสมุด เช่น การทำขั้นตอนการยืม-คืนกับนักศึกษาใหม่ได้
ในการทำสื่อบางเรื่องอาจจะต้องมีกระบวนการร่างขั้นตอนการทำงานบนกระดาษเพื่อเตรียมวางแผนการจัดแต่งเพื่อให้ได้สัดส่วนของข้อมูล และไม่ให้การจัดภาพมีข้อมูลมากเกินไป จึงควรมีการแยกข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล เมื่อได้ข้อมูลที่ต้องการจึงทำการเรียบเรียง และออกแบบวางรูปภาพตามขั้นตอนที่วางไว้ ซึ่งการเลือกรูปภาพก็มีส่วนสำคัญ ภาพที่ใช้ต้องสื่อออกมาให้ได้เข้าใจความหมายทีเราต้องการจะบอก และภาพต้องไม่ไปละเมิดลิขสิทธิ์ของผลงานผู้อื่น ดังนั้นการนำภาพจึงควรนำภาพที่ไม่มีลิขสิทธิ์สามารถใช้ได้ทั่วไป เช่นน ภาพจากเว็บไซต์ www.freepik.com ก็สามารถเลือกค้นหาภาพที่ต้องการนำมาใช้งานได้ จะเป็นไฟล์ Illustrator สามารถมาแก้ไขตกแต่งได้ หรือจะเป็นการดาวโหลดภาพไอคอนในการใช้ตกแต่งสื่อที่เว็บไซต์ www.flaticon.com หรือดาวโหลดอักษรที่ถูกลิขสิทธิ์ในการพิมพ์เอกสารได้ที่ www.f0nt.com
การทำกราฟิกในการสื่อภาษาด้วยภาพนั้น จะต้องใช้ให้ถูกต้องเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย ในเรื่องวัย เวลา สถานที่ เพื่อให้ใช้คำและรูปภาพได้เหมาะสม โดยการใช้ภาพสื่อความหมายนั้นจะต้องเป็นภาพที่ใช้แทนข้อความและสื่อความหมายได้ดี นำไปใช้งานได้หลากหลาย และบอกเป้าหมายว่าทำอะไรได้อย่างชัดเจน ซึ่งการใช้กราฟประกอบข้อมูลต้อง เช่น
(1) การแสดงรูประบุจำนวนประชากรใช้สำหรับข้อมูลที่มีการเปรียบเทียบจำนวนประชากร อัตราส่วนประชากร ที่หน่วย “ไม่เป็นร้อยละ”
(2) กราฟวงกลม (Pie Chart) ใช้กับข้อมูลที่มีอัตราส่วนที่รวมกันทั้งหมดแล้วได้ 100 % เท่านั้น
(3) กราฟแท่ง (Bar Chart) เหมาะสำหรับการเทียบอัตราส่วนที่แตกต่างกันของคนละชุดข้อมูล
(4) กราฟเส้น (Timeline) เหมาะกับข้อมูลชุดเดียวกัน ที่มีความต่อเนื่องกันในเรื่องของเวลา
(5) การแสดงตำแหน่ง (Location) เป็นแสดงระบุข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องตำแหน่งสถานที่/ข้อมูลที่มีการอ้างอิงพื้นที่
(6) แผนผังองค์กร (Hierarchy Chart) เป็นข้อมูลที่แสดงถึง ลำดับความเกี่ยวข้องกันของข้อมูล ลำดับ ตำแหน่ง
(7) ขั้นตอนการทำงาน (Process) เป็นการแสดงถึงลำดับขั้นตอนในการทำงานประเภทต่างๆ
สำหรับอาจารย์และนักวิจัย หรือบรรณารักษ์ สามารถทำซ้ำงานบางตอนตามสมควรให้แก่บุคคลอื่นเพื่อประโยชน์ในการศึกษาหรือวิจัยได้ โดยจะต้องไม่คัดลอกทั้งเล่ม และไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของเจ้าของผลงานในด้านหากำไร ซึ่งที่กล่าวนี้จะเกี่ยวข้องกับกฎหมายลิขสิทธิ์ ในมาตรา 32 วรรค หนึ่ง มาตรา 33 มาตรา 34 ซึ่งกฎหมายจะยกเว้นได้ตามความสมควรเท่านั้น
ท่านอาจารย์บุญเลิศได้กล่าวว่า การนำผลงานผู้อื่นมานั้นได้เพียงบางส่วน เนื่องจากปัจจุบันมีการใส่ข้อมูลลิขสิทธิ์ไว้บนภาพ ไฟล์เอกสาร ไฟล์วีดีโอ ไฟล์เพลงต่างๆ เพื่อติดตามได้จากแหล่งออนไลน์ โดยข้อมุลจะมีสิทธิ์ในการให้ใช้ ดังนี้ ถ้าเป็นกราฟ ก็ 1 กราฟ ต่อ หนังสือ 1 เล่ม ถ้าเป็นภาพดาวโหลดก็ 5 ภาพต่อ 1 เจ้าของผลงาน หรือร้อยละ 10 ของจำนวนภาพของเจ้าของผลงาน ซึ่งการใช้ภาพหากไม่ถูกลิขสิทธิ์ หรือต้องการรู้ว่าภาพที่เราใช้มีใครนำไปอ้างอิงที่ไหนบ้าง สามารถดูได้ที่ https://images.google.com เจ้าของจะรู้ทันทีว่ามีใครนำภาพนี้ไปใช้บ้าง
โดยการตรวจสอบลิขสิทธิ์ผลงานนั้น สามารถใช้โปรแกรมในการตรวจสอบได้ อังนี้
(1) Anti_KobPae เป็นระบบตรตรวจสอบความเป็นต้นบับของเอกสารภาษาไทยแบบอัตโนมัติ (Anti-KobPae)
(2) CopyCat ระบบตรวจสอบลิขสิทธิ์ผลงานวิชาการและวิทยานิพนธ์
(3) อักขราวิสุทธิ์ ระบบตรวจสอบลิขสิทธิ์ผลงานวิชาการและวิทยานิพนธ์ เช่น จุฬาฯได้ใช้ร่วมกับระบบ Turnitin ในการตรวจสอบผลงานที่เป็นภาษาไทย
(4) Turnitin เป็นระบบตรวจสอบลิขสิทธิ์ผลงานที่มีข้อมูลจากคลังสถาบัน และตามลิ้งบนเว็บไซตทั่วไป เช่น www.google.com ก็สามารถมาตรวจซ้ำได้เช่นกัน
ผู้ให้บริการควรมีการแนะนำในการเขียนอย่างไรไม่ให้ละเมิดลิขสิทธิ์เจ้าของผลงาน หรืออบรมเพิ่มความรู้ในขอบเขตการเขียนข้อความเพื่อแนะนำให้กับผู้ใช้บริการได้อย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไป
สุดท้ายอาจารย์ได้แนะนำข้อมูล Open source ที่สามารถนำมาใช้ได้ฟรีไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ เช่น
– ต้องการอักษรสวยๆ สามารถดาวโหลดได้ที่ www.f0nt.com
– ต้องการภาพสวย ๆ สามารถดาวโหลดได้ที่ http://openclipart.org
ประโยชน์ที่ได้รับ