นางสาววิริยา สมบูรณ์ผล
ตำแหน่ง บรรณารักษ์
เนื้อหาโดยสรุป
โครงการพัฒนาศักยภาพบรรณารักษ์ยุคใหม่ เรื่อง ทรัพย์สินทางปัญญากับการบริการสารสนเทศ และการก้าวสู่ยุคการบริการแบบเปิด
สรุปรายละเอียดเนื้อหาอบรม
โครงการพัฒนาศักยภาพบรรณารักษ์ยุคใหม่ เรื่อง ทรัพย์สินทางปัญญากับการบริการสารสนเทศ และการก้าวสู่ยุคการบริการแบบเปิดในครั้งนี้ เป็นการอบรมเชิงบรรยายและเชิงปฏิบัติการ โดย อาจารย์บุญเลิศ อรุณพิบูลย์ ได้กล่าวว่า การเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วในยุคปัจจุบันทำให้ผู้เป็นเจ้าของผลงาน สามารถค้นหาและพบเจอผลงานของตนเองได้รวดเร็วยิ่งขึ้นเช่นกัน รวมถึงการแชร์ข้อมูลในปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่นั้นมักเป็นการแชร์ข้อมูลแบบเกินสมควร หากมีการแชร์ข้อมูล การใช้ข้อมูล และการเผยแพร่ข้อมูลเพิ่มมากขึ้นการไม่ให้เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ขึ้นนั้นสามารถทำได้อย่างไรบ้าง จากพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายในยุคดิจิทัลนี้ได้กำหนดไว้แล้ว ซึ่งประกอบด้วย พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พระราชบัญญัติการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และคู่มือการใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม จากมาตรการหลักๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องลิขสิทธิ์นั้น ตามมาตรา 32 วรรคหนึ่ง ที่ว่า
ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ของกลุ่มอาชีพ
กลุ่มอาชีพ 3 กลุ่มหลัก ที่ได้รับข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ ตามมาตรา 32 วรรคหนึ่ง ได้แก่
1. บรรณารักษ์
2. ครู อาจารย์ นักศึกษา
3. นักวิจัย
กลุ่มที่ไม่สามารถทำได้ หรือไม่ได้รับข้อยกเว้น ได้แก่
1. ตนเอง
2. ธุรการ
เกณฑ์การใช้ลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม
1. วัตถุประสงค์และความเหมาะสมในการใช้งานลิขสิทธิ์
-ไม่มีเจตนาทุจริต เช่น การนำงานลิขสิทธิ์มาใช้โดยไม่อ้างอิงถึงที่มา หรือใช้ในลักษณะที่ทำให้คนเข้าใจว่าเป็นงานของตนเอง
2. ลักษณะของงานลิขสิทธิ์
-งานที่มีระดับของการสร้างสรรค์งานหรือใช้จินตนาการมาก เช่น นวนิยาย หรือเรื่องเล่าอัตชีวประวัติบุคคล หากมีการนำงานไปใช้ โอกาสที่จะถือว่าเป็นการใช้งานลิขสิทธิ์ที่ไม่เป็นธรรมจะมากกว่างานลิขสิทธิ์ที่ประกอบด้วยข้อเท็จจริงจำนวนมาก
3. ปริมาณการใช้งานและสัดส่วนของงาน
-หนังสือที่มีลิขสิทธิ์จำนวน 50 หน้า นำไปใช้ 25 หน้า ถือว่าเป็นใช้ลิขสิทธิ์ที่ไม่เป็นธรรม
-กรณีที่นำงานลิขสิทธิ์ของคนอื่นมาใช้ แม้ปริมาณน้อยก็อาจเป็นการละเมิดได้ หากส่วนนั้นเป็นส่วนที่เป็นสาระสำคัญหรือหัวใจของงานชิ้นนั้น
4. ผลกระทบต่อการตลาดหรือมูลค่าของงานลิขสิทธิ์
-ไม่ทำให้งานลิขสิทธิ์ขายไม่ได้
ปริมาณการใช้ลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม
ตัวอย่าง รูปและภาพถ่าย
ตัวอย่าง วรรณกรรม/สิ่งพิมพ์
การบริการแบบเปิดจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกซึ่งคำว่า “แบบเปิด” ไม่ได้หมายถึงการให้ฟรีแต่เพียงแค่ผู้เป็นเจ้าของผลงานอนุญาตให้สามารถใช้งานได้ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด แต่สิทธิ์ยังคงเป็นของผู้เป็นเจ้าของผลงานนั้นอยู่ เพื่อเป็นทางเลือกให้สามารถใช้งานที่อาจละเมิดลิขสิทธิ์ได้ เช่น Open Access, Open Content, Open Clipart, Open Font, Open Source Software เป็นต้น การที่จะไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่น คือต้องขออนุญาตผู้เป็นเจ้าของโดยตรงพร้อมลายลักษณ์อักษร หรือการใช้ที่ผู้เป็นเจ้าของอนุญาตให้ใช้ได้เพียงเท่านั้น นอกจากนี้ต้องรู้จักหาแหล่งข้อมูลอื่นๆ ที่มีให้บริการตามสัญญาอนุญาตที่ให้ใช้งานได้อย่าง Public Domain (PD), Creative Commons (CC) และ Open Access (OA) นอกเหนือจากแหล่งข้อมูลเดิมที่มีอยู่ เพราะทุกอย่างที่สร้างสรรค์ถือว่าคุ้มครองอัตโนมัติถึงแม้จะไม่ได้จดลิขสิทธิ์ ดังนั้น จงอย่าเป็นผู้ที่คิดแต่ในมุมของผู้ให้บริการ แต่ควรคิดในมุมมองของผู้เป็นเจ้าของผลงานด้วยเช่นกัน เพื่อไม่ให้เกิดการละเมิดงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นได้
ประโยชน์ที่ได้รับ
ได้รับความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายทางด้านลิขสิทธิ์ในยุคดิจิทัลมากยิ่งขึ้น และสามารถนำความรู้และแนวทางเหล่านี้มาประยุกต์ใช้กับการบริการสารสนเทศได้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง รวมถึงเข้าใจถึงมาตรการที่สามารถนำมาใช้เพื่อเป็นการป้องกันและหลีกเลี่ยงการละเมิดงานอันมีลิขสิทธิ์ในรูปแบบต่างๆ ได้