นางสาลิตา ศรีแสงอ่อน
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
เนื้อหาโดยสรุป
กระบวนการในการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลที่มีการนำสมรรถนะมาใช้ ดังนี้
1. การจัดองค์กร (Organizing)
– สามารถนำมาใช้ในการวางแผนจัดการกำลังคนในองค์กรได้ โดยอาจพิจารณาจากผลการประเมินสมรรถนะของแต่ละบุคคล และทำให้ทราบถึงสถานะขององค์กรว่า บุคลากรในองค์กรควรได้รับการอบรมในด้านใดบ้าง
– สามารถกำหนดเส้นทางความก้าวหน้าทางวิชาชีพ สร้างความชัดเจนให้แก่บุคลากรได้
2. การจัดกำลังคน (Staffing)
– สามารถนำผลของสมรรถนะมาเป็นหนึ่งในเกณฑ์ของการพิจารณาคัดเลือกบุคลากรเข้าทำงานได้อย่างเหมาะสม
– สามารถนำข้อมูลของสมรรถนะแต่ละบุคคล มาเป็นพื้นฐานในการสัมภาษณ์ในการคัดเลือกคนเข้าทำงานได้ (Competency Based Interview)
3. การพัฒนา การเรียนรู้ (Learning)
– การคัดเลือกคนเพื่อเข้ารับการฝึกอบรม Training
– สร้างกิจกรรม หรือโครงการที่เติมเต็ม/ปิดช่องว่างระหว่างความต้องการขององค์กร และสมรรถนะของบุคลากร Develop activities that address gaps
– สามารถสอนงานได้ตรงตามกลุ่มเป้าหมาย Targeted Coaching
– การพัฒนาภาวะผู้นำให้กับบุคคลในองค์กร Leadership Development
4. การปฏิบัติงาน (Performing)
– สมรรถนะสามารถถูกนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการทำความเข้าใจผลการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์กร การกำหนดระดับผลการปฏิบัติงานที่คาดหวัง การให้ข้อมูลป้อนกลับ
– สามารถนำมากำหนดเป้าหมายด้านผลการปฏิบัติงานโดยใช้ช่องว่างด้านสมรรถนะที่ระบุได้เป็นฐาน
5. การให้รางวัล ผลตอบแทน (Reearding)
– รางวัลตอบแทนซึ่งขึ้นอยู่กับผลการปฏิบัติงานที่ปรากฏ Leadership incentive pay based on demonstration
– สามารถสร้างเส้นทางความก้าวหน้าทางวิชาชีพ Career Path ได้
สิ่งที่มีความสำคัญต่อกระบวนการประเมินผล
สมรรถนะ คือ คุณลักษณะและความสามารถที่แสดงออกมาในรูปพฤติกรรม ซึ่งสามารถ สอนได้ (Coachable) สังเกตได้ (Observable) วัดได้ (Measureable) และมีความสำคัญ (Critical) ต่อผลการดำเนินการ หรือผลการปฏิบัติงานขององค์กร
สมรรถนะ เป็นคุณลักษณะเชิงพฤติกรรมมาจาก แรงผลักดันเบื้องลึก (Motives) อุปนิสัย (Traits) ภาพลักษณ์ภายใน (Self-Image) และบทบาททางสังคม (Social Role) ซึ่งแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกัน ทำให้แสดงพฤติกรรมในการทำงาน ที่แตกต่างกัน
หน้าที่ ที่ต้องปฏิบัติ What people “DO”
ความสำเร็จในการบริหาร ผลการปฏิบัติงานขององค์กร ขึ้นอยู่กับการสร้างสมดุล ของการนำกระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์มาใช้ ซึ่งคำว่าสมดุลนั้นแตกต่างกันไปตาม ข้อจำกัดและสิ่งมุ่งหวังของแต่ละองค์กร
สมรรถนะ (คุณลักษณะและพฤติกรรม) ที่แต่ละคนแสดงออกมาในการปฏิบัติงาน What people “DISPLAY” การระบุและกำหนดสมรรถนะขององค์กรจึงต้อง ให้ความสำคัญต่อรายละเอียดตามเอกลักษณ์ของแต่ละองค์กร
องค์กรต้องนำสมรรถนะมาใช้เพื่อ
– สื่อให้เห็นถึงค่านิยมและวัฒนธรรมในองค์กร
– สร้างบรรทัดฐานในการคัดเลือกคนเข้าทำงาน การพัฒนาบุคลากร การฝึกอบรม การวัดผลการประเมิน และการให้รางวัลคนในองค์กร
– รับรู้ถึงผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง
– ทำให้บุคลากรในองค์กร รับรู้ถึงสิ่งที่เขาควรปฏิบัติ และหน้าที่ของตนเอง
– ทำให้ทราบช่องว่างระหว่าง ความสามารถของบุคลากรในองค์กรปัจจุบัน และคุณสมบัติของบุคลากรที่ต้องการในอนาคต
– ทำให้องค์กรมีการพัฒนาและฝึกอบรมบุคลากรตรงตามเป้าหมาย
– สามารถโยกย้ายคนในองค์กรได้โดยง่าย
– ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาพฤติกรรมและคุณลักษณะที่สำคัญและเป็นประโยชน์ต่อองค์กร
การจำแนกประเภทของ สมรรถนะ
– สมรรถนะหลัก Core / Universal Competency เป็นสมรรถนะที่สำคัญสำหรับบางงาน ส่วนใหญ่ จะเป็นงานของด้านเทคนิค หรือ ด้านปฏิบัติการ
– สมรรถนะสำหรับผู้บริหาร Managerial / Leadership / Transferable Competency เป็นสมรรถนะที่สำคัญต่อ บางตำแหน่งและบางระดับงานองค์กร
– สมรรถนะกลุ่มหลักงาน Unique / Technical / Functional Competency เป็นสมรรถนะที่สำคัญสำหรับบางงาน ส่วนใหญ่ จะเป็นงานของด้านเทคนิค หรือด้านปฏิบัติการ
สมรรถนะหลักจะสะท้อนถึง ค่านิยม และวัฒนธรรมองค์กร และเป็นสมรรถนะที่สำคัญที่จะส่งผลให้องค์กรบรรลุเป้าหมายที่ต้องการได้ ทุกคนในองค์กรควรแสดงให้เห็นถึงสมรรถนะหลัก เพียงแต่อาจแสดงแตกต่างกันในด้านระดับ
แนวทางในการสร้างโมเดลของสมรรถนะให้เกิดประสิทธิผล
– สมรรถนะที่ถูกสร้างขึ้นมาใช้ในองค์กร จะต้องสอดคล้อง สนับสนุน และมีแนวทางที่เป็นไปในทิศทางเดียวกับเป้าหมายและความต้องการขององค์กร
– สมรรถนะที่ถูกสร้างขึ้นมาใช้ในองค์กร จะต้องสอดคล้อง สนับสนุน กลยุทธ์ขององค์กร
– จะต้องมีความสำคัญกับอนาคต เช่น รู้ว่าในอนาคต สมรรถนะที่องค์กรต้องการจะเป็นไปในทิศทางใด จึงเตรียมแนวทางการทำงานให้สามารถต่อยอดกับสิ่งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้
– มีการทำงานที่ผ่านการยอมรับหรือเห็นด้วยจากคนในองค์กร
– สามารถนำไปแปลผลจากนามธรรมให้เป็นรูปธรรมได้ เช่น นำไปสร้างเป็นกิจกรรมในองค์กร และนำไปกำหนดเป็นพฤติกรรมในองค์กรได้
– สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานอื่นๆ ได้
– จะต้องถูกคัดเลือก โดยควรเป็นสมรรถนะที่สำคัญกับองค์กร หรือ เกี่ยวข้องกับผลการปฏิบัติงานของพนักงานในองค์กร
– ไม่ควรกำหนดสมรรถนะที่มีการตีกรอบจนขาดความยืดหยุ่นทำให้ไม่สามารถนำมาใช้ในองค์กรได้
เป้าหมายการปฏิบัติของบุคลากร มาจากการถ่ายทอด เป้าหมายการปฏิบัติงานของหน่วยงาน และเป้าหมายการปฏิบัติงานของหน่วยงาน มากการถ่ายทอดเป้าหมายการปฏิบัติงานขององค์กร
– การพัฒนาผลการปฏิบัติงาน ต้องเริ่มอย่างชัดเจนตั้งแต่ต้นรอบการประเมิน มีการทบทวน และติดตามอย่างต่อเนื่อง
– ผู้บังคับบัญชาอาจเลือก การพัฒนาในด้านที่เพิ่มศักยภาพ สร้างภูมิคุ้มกัน หรือปรับปรุงให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาก็ได้
– ทำให้สามารถส่งแนวทางการพัฒนาไปสู่ฝ่ายวางแผนการพัฒนาได้เพื่อให้การพัฒนาในองค์กรมีความสอดคล้องและเหมาะสมมากที่สุด
การติดตามผลการปฏิบัติงาน เป็นกระบวนการที่ผู้บังคับบัญชา และผู้ใต้บังคับบัญชา แบ่งปันข้อมูล ความคืบหน้าของงาน ปัญหาอุปสรรค แนวทางการแก้ปัญหา โดยมีการติดตามตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิด โดยมีการบันทึกผลอย่างชัดเจนเพื่อใช้เป็นแหล่งอ้างอิงในการพัฒนาองค์กร
ผู้รับการประเมิน เป็นผู้บันทึกผล ผลการปฏิบัติงานตามเป้าหมายการปฏิบัติงาน ตามเป้าหมายการทำงานของตนเอง เพื่อให้ทราบว่าตนเองอยู่ในระดับใด และผู้ใต้บังคับบัญชา เห็นสอดคล้องตามนั้น หรือ ตรงกับความเป็นจริงหรือไม่ เพื่อนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการองค์กรต่อไป โดยพิจารณาจาก 2 ส่วนคือ ผลสำเร็จของงานและ สมรรถนะที่แสดงออกขณะปฏิบัติงานดังกล่าว
สมรรถนะหลักของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
แบบข้อตกลงและแบบประเมินผลการปฏิบัติงาน สำหรับบุคลากรสายสนับสนุน แบ่งออกเป็น 2 คือ
1. องค์ประกอบที่ 1 การประเมินผลสัมฤทธิ์ของงาน (70%)
2. องค์ประกอบที่ 2 การประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงาน : สมรรถนะ (30%)
รายการสมรรถนะหลัก |
คะแนน |
1.รักองค์กรและหน้าที่ : มีจิตสำนึกในการเป็นเจ้าของ เห็นคุณค่าค่าองค์กร มุ่งมั่นการทำงานในหน้าที่อย่างเป็นระบบ มีวินัยและคุณธรรม พัฒนาตนเองและองค์กรไปสู่เป้าหมายอย่างต่อเนื่อง | |
ระดับ 5 มีคุณธรรม สร้างค่านิยมการทำงานในองค์ไปสู่เป้าหมาย | 5 |
ระดับ 4 ทำงานอย่างมีจิตสำนึกความเป็นเจ้าของ เพิ่มมูลค่าในงานและองค์กร | 4 |
ระดับ 3 พัฒนาตนเองและวิธีการทำงานให้มีประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง | 3 |
ระดับ 2 มุ่งมั่นในการทำงานอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ | 2 |
ระดับ 1 รู้หน้าที่ มีวินัย รับผิดชอบการทำงานที่ได้รับมอบหมาย | 1 |
2.พัฒนาตนเอง : เรียนรู้วิทยาการใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาและเพิ่มศักยภาพในการทำงานที่มีประสิทธิภาพและสอดคล้องต่อการเปลี่ยนแปลง | |
ระดับ 5 สร้างองค์ความรู้และจัดการองค์ความรู้เพื่อพัฒนาองค์กร | 5 |
ระดับ 4 ประเมินผลและปรับปรุงให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงคาดการณ์ สถานการณ์ | 4 |
ระดับ 3 นำความรู้มาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพ | 3 |
ระดับ 2 กระตือรือร้น แสวงหาความรู้และติดตามวิทยาการใหม่ ๆ | 2 |
ระดับ 1 ตระหนักถึงการพัฒนาตนเองและใฝ่เรียนรู้ | 1 |
3.เป็นมืออาชีพ : มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงาน และเชื่อมโยงงานอย่างเป็นระบบ สามารถแก้ไขปัญหาในการทำงานได้อย่างเหมาะสมตามจรรยาบรรณวิชาชีพ | |
ระดับ 5 นำความรู้และเทคโนโลยี ระบบงานใหม่เพื่อสร้างองค์ความรู้ กิจกรรม ระบบงานใหม่เพื่อพัฒนาความสามารถขององค์กร | 5 |
ระดับ 4 พัฒนาขั้นตอน วิธีการ ระบบในการทำงาน เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน | 4 |
ระดับ 3 วิเคราะห์ปัญหาและประยุกต์ใช้ความรู้ ประสบการณ์ แก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพและทันต่อสถานการณ์ | 3 |
ระดับ 2 มีความเชี่ยวชาญในงาน สามารถเชื่อมโยงงานอย่างเป็นระบบ | 2 |
ระดับ 1 มีความรู้ ความเข้าใจและปฏิบัติหน้าที่ตามจรรยาบรรณในวิชาชีพ | 1 |
4.สื่อสารอย่างสร้างสรรค์ : การถ่ายทอดข้อมูลข่าวสาร โดยใช้สื่อต่างๆ มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสร้างความเข้าใจร่วมกันในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อพัฒนางานและองค์กร | |
ระดับ 5 ส่งเสริมบรรยากาศที่เปิดกว้างในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อบรรลุสู่เป้าหมาย ค่านิยม วัฒนธรรมที่ดีงาม และภาพลักษณ์ขององค์กร | 5 |
ระดับ 4 วิเคราะห์การตอบสนองข้อมูลข่าวสาร เพื่อพัฒนารูปแบบการสื่อสารให้ตรงกับ วัตถุประสงค์และความเข้าใจร่วมกันเชิงบวก | 4 |
ระดับ 3 เลือกวิธีการสื่อสารที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ในการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอก | 3 |
ระดับ 2 จำแนกข้อมูลข่าวสาร จัดลำดับความสำคัญกับการถ่ายทอดข้อมูลได้อย่างถูกต้องครบถ้วน | 2 |
ระดับ 1 ความรู้ความเข้าใจในข้อมูลข่าวสาร หลักการและวิธีการสื่อสารในองค์กร | 1 |
5. ทำงานเป็นทีม : เปิดใจกว้าง รับฟังความคิดเห็น เรียนรู้และแก้ไขปัญหา ร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อบรรลุเป้าหมายเดียวกัน | |
ระดับ 5 วางแผนงาน กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จ ติดตามผล ให้คำแนะนำและสร้างบรรยากาศการมีส่วนร่วมและนำสมาชิกในกลุ่มไปสู่เป้าหมายเดียวกัน | 5 |
ระดับ 4 พัฒนาศักยภาพสมาชิกในกลุ่มเพื่อสับเปลี่ยน รองรับการทำงานอย่างต่อเนื่อง | 4 |
ระดับ 3 แบ่งปันความรู้ ช่วยเหลือและสนับสนุนการทำงาน และแก้ไขปัญหาร่วมกัน เพื่อเข้าไปสู่เป้าหมายเดียวกัน | 3 |
ระดับ 2 เข้าใจบาทบาทหน้าที่ ขั้นตอนการทำงานของตนเองและสมาชิกในกลุ่ม | 2 |
ระดับ 1 เปิดใจรับฟังความคิดเห็นและยอมรับมติส่วนใหญ่ของกลุ่ม | 1 |
6. จิตสาธารณะ : ตระหนักถึงประโยชน์ส่วนรวม ถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ให้กับองค์กร สังคม ชุมชนและประเทศชาติ | |
ระดับ 5 ริเริ่มและสนับสนุนการสร้างกิจกรรมเพื่อพัฒนาสังคม ประเทศชาติ | 5 |
ระดับ 4 ส่งเสริมจูงใจให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการพัฒนาและสร้างประโยชน์สาธารณะ | 4 |
ระดับ 3 ให้ความร่วมมือ อาสาช่วยงาน กิจกรรมของหน่วยงานและองค์กร | 3 |
ระดับ 2 ถ่ายทอดความรู้ ความสามารถในการทำงานเพื่อผลประโยชน์ขององค์กร | 2 |
ระดับ 1 ตระหนักถึงประโยชน์ส่วนรวม | 1 |
ผลที่ได้จากการอบรม