นางสาววิริยา สมบูรณ์ผล
ตำแหน่ง บรรณารักษ์
เนื้อหาโดยสรุป
การประชุมสัมมนาเครือข่ายมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 9 แห่ง ครั้งที่ 2 ในวันที่ 28 – 29 เมษายน 2559 โดยจัดขึ้นที่ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย (สงขลา) เรื่อง โปรแกรมห้องสมุด Cataloging Dspace คลังปัญญา : คลังความรู้ทางวิชาการ (Intellectual Repository : IR) โดย คุณสายธาร สุเมธอธิคม และคุณโสภา ไทยลา ในหัวข้อเรื่อง IR หมายถึงอะไร, คุณลักษณะของ IR เป็นอย่างไร, IR ทำงานอย่างไร, IR ใช้โปรแกรมอะไรสร้าง และ IR มทร.พระนคร ดังนี้
IR (Intellectual Repository) หมายถึง คลังจัดเก็บและให้บริการสารสนเทศซึ่งจะรวมทั้งผลงานวิจัย วิชาการของคณาจารย์ นักวิจัย นักศึกษา และบัณฑิตศึกษาของกลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล โดยมีทรัพยากรสารสนเทศที่จัดเก็บในรูปแบบดิจิทัล
คุณลักษณะของ IR ประกอบด้วย (กุลธิดา ท้วนสุข, 2554)
IR ทำงานอย่างไรการทำงานของ IR ประกอบด้วย ส่วนเก็บข้อมูล ฐานข้อมูล และส่วนสืบค้นและแสดงผลการสืบค้น ดังนี้
ส่วนเก็บข้อมูล
ได้แก่ เจ้าหน้าที่ห้องสมุด (Library Staff) ทำหน้าที่รวบรวม คัดกรอง ตรวจสอบ ผลงานวิชาการของมหาวิทยาลัยและแปลงไฟล์ต้นฉบับให้เป็นอยู่ในรูปไฟล์ดิจิทัลแล้วนำไฟล์เข้าสู่ระบบคลังปัญญาเพื่อลงรายการบรรณานุกรมตามรูปแบบที่กำหนด
ฐานข้อมูล
ได้แก่ เครื่องแม่ข่าย (Server) ที่ใช้จัดเก็บข้อมูลของระบบคลังปัญญา โดยมีผู้ดูแล (Administrator) ทำหน้าที่ดูแลระบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการจัดการข้อมูล แก้ไข ลบ ยืนยันข้อมูลก่อนเผยแพร่ ข้อมูลจะถูกตรวจสอบและแก้ไขผ่านส่วนการจัดการข้อมูล ก่อนยืนยันสถานะพร้อมใช้งาน เพื่อถูกนำไปใช้ในการค้นหาและแสดงผลต่อผู้ใช้ในส่วนสืบค้นและแสดงผล
ส่วนสืบค้นและแสดงผลการสืบค้น
ได้แก่ ผู้ใช้งานซึ่งจะทำการสืบค้นผ่านหน้าเว็บระบบคลังปัญญามหาวิทยาลัยฯ ในส่วนของลักษณะการใช้งาน รวมทั้งสถิติทั้งหมดจะกลับไปเก็บข้อมูลไว้ที่ฐานข้อมูล
IR ใช้โปรแกรม DSpace เป็นคลังจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ DSpace เป็นโปรแกรมฟรี มีการออกแบบสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ที่ยืดหยุ่น สามารถปรับเพิ่มหน่วยข้อมูลได้ตามต้องการโดยไม่ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างหลักของซอฟต์แวร์
IR มทร.พระนคร แบ่งหน้าที่การทำงานหลักออกเป็น ดังนี้
– การจัดหา
– การจัดทำ
– ขั้นตอนการเตรียมไฟล์
– ขั้นตอนการ Upload Files
– ขั้นตอนตรวจสอบการแสดงผล
– การสืบค้นจากคำสำคัญ (Search DSpace)
– การค้นผ่าน โดยไล่เรียงประชาคม (Communities in DSpace)
– การค้นผ่าน โดยไล่เรียงตามประชาคมและผลงาน ปีพิมพ์ ชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง หัวเรื่อง (Browse)
รวมถึงแนะนำการจัดเตรียมไฟล์เอกสารสกุล .PDF ด้วยโปรแกรม Adobe Acrobat pro จนถึงขั้นรักษาความปลอดภัยของเอกสารไฟล์ PDF และแนะนำการจัดทำรายการระบบสารสนเทศคลังความรู้ทางวิชาการ ประกอบด้วย การสร้าง User, การสร้างประชาคม (Community), การสร้างชุมชน (Sub-Community), การสร้างประเภทการจัดเก็บ (Collection), การเพิ่มนโยบายการจัดการไฟล์ (Authorization Policies), จนถึงการนำเข้าข้อมูล (Upload File)
ประโยชน์ที่ได้รับ
ได้แลกเปลี่ยนความรู้ในการดำเนินการต่างๆ ระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 9 แห่ง รวมถึงการร่วมกันขับเคลื่อนนโยบายมหาวิทยาลัยดิจิทัล ในการสร้างคลังปัญญา คลังความรู้ทางวิชาการ โดยใช้โปรแกรม DSpace ในการสร้างคลังจัดเก็บและให้บริการสารสนเทศของมหาวิทยาลัย ให้สามารถใช้งานทรัพยากรสารสนเทศที่จัดเก็บในรูปแบบดิจิทัลได้