นางวันดี เจียมสมบุญ
ตำแหน่ง บรรณารักษ์
สรุปรายละเอียดเนื้อหาการอบรม
เรื่อง มาตรฐานการพรรณนาและการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศจาก AACR2 สู่ RDA โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สมพร พุทธาพิทักษ์ผล ท่านได้กล่าวไว้ดังนี้
RDA – Resource Description and Access
เป็นมาตรฐานสำหรับการทำรายการทรัพยากร เนื้อหาของมาตรฐานเป็นกลุ่มของแนวทาง (guidelines) และคำแนะนำหรือคำสั่ง (instructions) ในการบันทึกข้อมูลเพื่อพรรณนาเกี่ยวกับทรัพยากรหนึ่งๆ เพื่อส่งเสริมการค้นพบทรัพยากรนั้น(resource discovery) RDA ถูกออกแบบเพื่อช่วยผู้ใช้ในการค้นหาสารสนเทศได้ผลสำเร็จตามความต้องการ กล่าวคือ จัดทำข้อมูลคำค้นอย่างครอบคลุมเพื่อช่วยให้ค้นพบทรัพยากรที่ตรงตามการค้นของผู้ใช้ (find) เมื่อพบแล้วสามารถใช้ข้อมูลที่พรรณนาไว้ (เช่น ข้อมูลฉบับครั้งที่พิมพ์ ภาษา ผู้ผลิต ปีพิมพ์ เป็นต้น) แยกแยะหรือบ่งชี้ได้ว่าเป็นทรัพยากรที่ตรงกับทรัพยากรที่ค้นพบ หรือ แยกความแตกต่างระหว่างทรัพยากรสองชื่อเรื่องหรือมากกว่าสองชื่อเรื่องที่มีลักษณะคล้ายกันได้ (identify) เมื่อแยกแยะ/บ่งชี้รายการทรัพยากรที่ค้นพบได้แล้วสามารถให้ข้อมูลที่พรรณนาไว้ (เช่น ข้อมูลลักษณะของทรัพยากร ข้อมูลตัวบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น) ตัดสินใจเลือกทรัพยากรที่เหมาะสมกับความต้องการของผู้ใช้ได้ (Select) และข้อมูลที่พรรณนาไว้ แสดงข้อมูลและวิธีการที่ทำให้ได้รับทรัพยากรที่เลือกนั้นได้ (Obtain) ด้วยวิธีต่าง ๆ อาทิ แหล่งที่จัดซื้อมา ราคา การยืมใช้จากห้องสมุด หรือระบุตำแหน่งทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เข้าถึงทรัพยากรฯ ได้
วัตถุประสงค์และขอบเขตของ RDA วัตถุประสงค์ ในการพัฒนามาตรฐานใหม่ RDA มี 4 ประการ
จุดมุ่งหมายของการสร้าง RDA แทน AACR2
ลักษณะสำคัญของ RDA (RDA Key Features)
1. RDA เป็นกรอบงาน (framework) ที่ใช้พรรณนาทรัพยากรที่ถูกผลิตและถูกทำให้มีความหลากหลายโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล มีความยึดหยุ่นและขยายเพิ่มได้ ในขณะเดียวกันสามารถรองรับความต้องการขององค์การสารสนเทศที่จัดการทรัพยากรที่ไม่ได้อยู่ในรูปดิจิทัลด้วย
2. RDA ถูกออกแบบให้มีข้อดีในแง่ความมีประสิทธิภาพและมีความยึดหยุ่นในการรวบรวม จัดเก็บ ค้นคืน และแสดงผลข้อมูล โดยต้องทำให้ใช้ได้กับเทคโนโลยีของฐานข้อมูลใหม่ RDA ยังถูกออกแบบให้ใช้กับเทคโนโลยีแบบเดิมที่ยังคงใช้ในโปรแกรมค้นหาทรัพยากรอีกหลายโปรแกรม
3. RDA มีเส้นแบ่งชัดเจนระหว่างแนวทางและคำแนะนำในการบันทึกข้อมูลและแนวทางคำแนะนำในการนำเสนอข้อมูล เส้นแบ่งนี้ได้ถูกกำหนดขึ้นเพื่อจะทำให้จัดเก็บและแสดงผลข้อมูลที่ผลิตโดยใช้ RDA สามารถยึดหยุ่นได้มากที่สุด แนวทางและคำแนะนำในการบันทึกข้อมูลปรากฏใน RDA
โครงสร้างของ RDA
RDA มีโครงสร้างเนื้อหาแตกต่างจาก AACR2 กล่าวคือ AACR2 ถูกจัดแบ่งเค้าโครงเนื้อหาออกเป็น 2 ส่วนหลัก คือ ส่วน Description และส่วน Access โดยที่ส่วนแรกแบ่งกฎการลงรายการเป็น 13 บท ตามประเภทของทรัพยากร ส่วนที่ 2 กล่าวถึงการเลือกรายการเข้าถึงประเภทชื่อบุคคล นิติบุคคล และชื่อภูมิศาสตร์ ชื่อเรื่องต้นฉบับ และรายการโยง
ส่วน RDA จัดองค์ประกอบตาม Frbr entities ที่แบ่งกลุ่มรากฐานเพื่อการจัดการใน 3 ลักษณะ คือ
1) กลุ่มของผลิตภัณฑ์หรือผลงานจากสติปัญญาและความสามารถทางศิลปะ ซึ่งมี 4 ระดับ
– Work ระดับสร้างสรรค์/ริเริ่ม/เป็นต้นประพันธ์แนวคิดของงาน
– Expression ระดับถ่ายทอด แปลความ ทำให้เข้าใจ ซาบซึ้งสิ่งสร้างสรรค์
– Manifestation ระดับของการจัดรูปแบบงาน
– Item ระดับชิ้นงาน
2) กลุ่มผู้รับผิดชอบต่อผลิตภัณฑ์ อันได้แก่กลุ่มผู้สร้างแนวคิด ผู้ถ่ายทอด ผลิต/เผยแพร่งาน/ผลิตภัณฑ์ให้อยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง และผู้ใช้หรือผู้ครอบครอง กลุ่มนี้ไม่ว่าในระดับใดเป็นได้ทั้ง
– บุคคล (personal)
– นิติบุคคล (corporate)
– และครอบครัว (family)
3) กลุ่มขอบเขตสาระ/เนื้อหา/สาขาวิชาของผลงานผู้รับผิดชอบผลงานที่แบ่งได้เป็นขอบเขตสาระ
– กรอบแนวคิดของเรื่อง (concept)
– ขอบเขตด้านประเภทวัตถุ/รูปภายนอก (object)
– ขอบเขตด้านสถานที่ (place)
– ขอบเขตด้านเหตุการณ์ (Element)
RDA แบ่งเค้าโครงเนื้อหาออกเป็น 10 ส่วนใหญ่ (10 sections) ในแต่ละบท โดยที่หมายเลขของบทจะต่อเนื่องกันไปตามลำดับ และจำนวนบทในแต่ละส่วนจะไม่เท่ากัน
Section 1 Recording attributes of manifestation and item ครอบคลุมบทที่ 1-4 ในบทที่ 1 ให้คำแนะนำทั่วไปเกี่ยวกับวิธีการคัดลอกและบันทึกหน่วยข้อมูล ในบทที่ 2 -4 คำศัพท์ที่ใช้ วัตถุประสงค์ หลักการ หน่วยข้อมูลหลัก (core elements) ในส่วนรายละเอียดของทรัพยากรชื่อเรื่องหนึ่ง ๆ (manifestations) และข้อมูลของฉบับหรือเล่มที่ถือครองอยู่ (items) ในบทที่ 2 ระบุวิธีบันทึกแต่ละหน่วยข้อมูลในส่วนของ manifestations และ items รวม 19 หน่วยข้อมูล ในบทที่ 3 เป็นคำแนะนำในการบันทึก 20 หน่วยข้อมูลเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ของทรัพยากร ทั้งลักษณะทางกายภาพและการระบุรูปแบบเพื่อให้ข้อมูลเพื่อช่วยการเลือกทรัพยากรที่เหมาะสมกับความต้องการของผู้ใช้ ในประเด็นขอรูปแบบ (format) และการเข้ารหัส (encoding) ในบทที่ 4 เป็นคำแนะนำในการบันทึกข้อมูลที่ระบบการจัดซื้อ การได้รับ และการเข้าถึงตัวทรัพยากร (obtain a resource)
Section 2 Recording attributes of work and expression ส่วนที่ 2 ครอบคลุมบทที่ 5-7 ให้คำแนะนำในการเลือกและบันทึก preferred title ของ work และ expressions การเลือกและบันทึก variant titles บันทึกหน่วยข้อมูลต่าง ๆ ของ work และ expressions
Section 3 Recording attributes of person, family, and corporate body ส่วนที่ 3 ครอบคลุมบทที่ 8-11 ให้คำแนะนำการบันทึกหน่วยข้อมูลต่าง ๆ ที่เป็น entities กลุ่มที่ 2 ของ RDA คือผู้รับผิดชอบเนื้อหา ได้แก่ บุคคล (RDA บทที่ 9) วงศ์ตระกูล (RDA บทที่ 10) แนะนิติบุคคล(RDA บทที่ 11) มีคำแนะนะสำหรับการสร้าง Authority data ของกลุ่มผู้รับผิดชอบเหล่านี้ โดยในแต่ละบทกล่าวถึงแนวทางการเลือกและบันทึกชื่อเป็น preferred name และ variant name รวมถึงการเลือกและการบันทึกหน่วยข้อมูลเพิ่มเติมอื่น ๆ ของชื่อ เช่น ปีเกิด ปีตาย อาชีพ สาขาที่เชี่ยวชาญของชื่อบุคคลเป็นต้น เพื่อสร้างเป็นระเบียนของชื่อใน Authority records และการสร้างให้เป็น authorized access point
Section 4 Recording attributes of concept, object, event, andplace คือส่วนที่ 4 ครอบคลุมบทที่ 12-16 ให้คำแนะนำการบันทึกหน่วยข้อมูลต่าง ๆ entities กลุ่มที่ 3 ของ RDA ซึ่งเป็นกลุ่มเนื้อหาวิชา
Section 5 Recording primary relationships between work expression manifestation , and item ส่วนที่ 5 ครอบคลุมบทที่ 17 เพียงบทเดี่ยว เป็นการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง entitiesกลุ่มที่ 1 ของ RDA ซึ่งเป็นกลุ่ม a work และ expression ว่าผลงานถูกถ่ายทอดอย่างไร
Section 6 Recording relationships to person, families, and corporate bodies ส่วนที่ 6 ครอบคลุมบทที่ 18 -22 เป็นการระบุความสัมพันธ์ระหว่าง entities กลุ่มที่ 1 และ 2 ของ RDA กล่าวคือ ระบุความสัมพันธ์ในฐานะเป็นผู้สร้างเนื้อหา หรือผู้ร่วมงาน
Section 7 Recording relationships to concepts, objects, events, and places ส่วนที่ 7 ครอบคลุมบทที่ 23 เพียงบทเดียวเป็นการระบุความสัมพันธ์ระหว่าง ระหว่าง entities กลุ่มที่ 1 และ 3ของ RDA งานกับเนื้อหาของงานนั้น เช่นระบุว่าเป็นสาระสังเขป
Section 8 Recording relationships between works, expressions, manifestations and items ส่วนที่ 8 ครอบคลุมบทที่ 24-28 เป็นการระบุความสัมพันธ์ในระหว่าง entites กลุ่มที่ 1 ของRDA กล่าวคือ ระบุงานที่เกี่ยวข้อง(related works) (RDA บทที่ 25) ระบุการถ่ายทอดที่เกี่ยวข้อง (related expressions) (RDA บทที่ 26) ทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง (related manifestations) (RDA บทที่ 27) and ฉบับที่เกี่ยวข้อง (related items) (RDA บทที่ 28)การเลือกใช้คำศัพท์ระบุความสัมพันธ์ความเกี่ยวข้องของกลุ่ม entities ที่ 1
Section 9 Recording relationships between persons, families, and corporate bodies ส่วนที่ 9 ครอบคลุมบทที่ 29-32 เป็นการระบุความสัมพันธุ์ในระหว่าง entites กลุ่มที่ 2 ของRDAว่าเป็น related persons (RDA บทที่ 30), related families (RDA บทที่ 31), และ related corporate bodies (RDA บทที่ 32) การเลือกใช้คำศัพท์ระบุความสัมพันธ์
Section 10 Recording relationships between concepts, objects, events, and places ส่วนที่ 10 ครอบคลุมบทที่ 33-37 เป็นการระบุความสัมพันธ์ในระหว่าง entities กลุ่มที่ 3 ของRDA ว่าเป็น Related concepts (RDA บทที่ 34), objecys (RDA บทที่ 35), events (RDA บทที่ 36) และ places (RDA บทที่ 37)
ประโยชน์ที่ได้รับ
ทำให้ทราบถึงพื้นฐานหลักการลงรายการแบบ RDA ซึ่งจะมาแทน การลงรายการแบบ AACR2 ในอนาคต