นางสาววิริยา สมบูรณ์ผล
ตำแหน่ง บรรณารักษ์
เนื้อหาโดยสรุป
การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การลงรายการทรัพยากรสารสนเทศตามมาตรฐาน RDA โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สมพร พุทธาพิทักษ์ผล ในหัวข้อเรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับมาตรฐาน RDA และ หลักทั่วไปและความแตกต่างจาก AACR2 ในการรายการทรัพยากรสารสนเทศตามมาตรฐาน RDA ประกอบด้วยส่วนของ Description, Carrier Description (Content Type, Media Type, Carrier Type, Extent, Dimension) และ Authority control และประเด็นอื่นๆ ดังนี้
มาตรฐาน RDA (Resource Description & Access)
RDA เป็นมาตรฐานใหม่ที่เป็นกลุ่มของรหัสสำหรับการทำรายการกลุ่มใหม่ (new cataloging code) ที่ประกอบด้วยแนวทาง (guidelines) และคำแนะนำ (instructions) ในการปฏิบัติการทำรายการทรัพยากรประเภทต่างๆ โดย RDA สามารถรองรับสื่อสารสนเทศประเภทใหม่ๆ (new types of publication) และรองรับการเติบโตหรือการขยายตัวของอินเทอร์เน็ตและการเข้าถึงข้อมูลผ่านเว็บ ซึ่งมีการกำหนดให้สามารถคัดลอกข้อมูลสำคัญของทรัพยากรตามที่ปรากฏที่ตัวทรัพยากร จึงช่วยให้ผู้สร้างสารสนเทศสามารถสร้างรายการด้วยตนเองได้
ความเหมือนและความแตกต่างกันของ AACR2 และ RDA
AACR2 และ RDA ต่างเป็นหลักเกณฑ์ในการทำรายการที่มีลักษณะเฉพาะของตนเอง แต่ก็มีทั้งความเหมือนและความแตกต่างกัน และมีการคงความต่อเนื่องกันของ AACR2 และ RDA ไม่ต่างกันมากนักเพราะ RDA instructions พัฒนามาจากหลักเกณฑ์ AACR2 ที่ยังคงรูปแบบและวิธีการปฏิบัติในการทำรายการไว้เช่นเดิม ดังเช่น
RDA มีความแตกต่างกันของ AACR2 หลายประการ RDA ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบงานเชิงทฤษฎีที่อยู่บนพื้นฐานของ data models (มองความสัมพันธ์) แทนการยึดถือเฉพาะชิ้นงานที่อยู่ในมือตามแนวคิดที่ AACR2 ใช้ มาตรฐาน RDA ยึดเกณฑ์ตามต่อไปนี้
หลักการและมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับ RDA
FRBR และ FRAD องค์ประกอบสำคัญใน RDA
FRBR (Functional Requirements for Bibliographic Records) ไม่ใช่หลักเกณฑ์การลงรายการเหมือน AACR2 ไม่ใช่ Data Format เหมือน MARC21 ไม่ใช่แบบแผนเมตะดาตาเหมือน Dublin Core, MODS แต่เป็นเซ็ตของความคิดเชิงโครงสร้างว่าด้วยความสัมพันธ์กันของสิ่งต่างๆ ที่จะนำมาพรรณนา (Entity Relationship Model/Framework) ส่วนประกอบของ FRBR จึงมี 3 ส่วนสำคัญ คือ Entities (คือ a class of things), Attributes (คือ elements), และ Relationships (คือตัวระบุความสัมพันธ์ของ things) ดังนี้
1. เอนทิตี้ (Entities –a class of things) มี 3 กลุ่ม คือ
2. คุณลักษณะของ the entities (Attributes) RDA ใช้คำนี้ว่าเป็น “elements”
3. ความสัมพันธ์ในระหว่าง entities (Relationships)
ส่วน FRAD (Functional Requirements of Authority Data) ให้แนวคิดเกี่ยวกับวิธีการบันทึกข้อมูลชื่อหรือคำ (authority data) มี 2 กลุ่มของ entities คือ Bibliographic entities และ authority entities ในส่วน Bibliographic entities มี 10 entities ตามข้อกำหนดของ FRBR รวมกับ entity ใหม่ ที่แนะนำโดย FRAD ได้แก่ family, names, identifier, controlled access point, rules, agency
มาตรฐานการลงรายการรูปแบบ RDA มีวัตถุประสงค์และขอบเขตที่เป็นมาตรฐานสำหรับการทำรายการทรัพยากร ซึ่งมีเนื้อหาของมาตรฐานเป็นกลุ่มของแนวทาง (guidelines) และคำแนะนำหรือคำสั่ง (instructions) ในการบันทึกข้อมูลเพื่อพรรณนาเกี่ยวกับทรัพยากรหนึ่งๆ เพื่อส่งเสริมการค้นพบทรัพยากรนั้น (resource discovery) โดย RDA ถูกออกแบบเพื่อช่วยให้ผู้ทำกระบวนงาน (user tasks) ในการค้นหาสารสนเทศได้ผลสำเร็จตามความต้องการ โดยมีหน้าที่หลัก ดังนี้
การออกแบบระบบ RDA จึงจัดเรื่องราวทั้งหมดในรูปแบบเอกสารหลัก (Document) และแบ่งเค้าโครงเนื้อหา ออกเป็น 10 ส่วนใหญ่ (10 Sections) ในแต่ละส่วน แบ่งออกเป็นบท โดยมีหมายเลขบทจะต่อเนื่องกันไปตามลำดับ โดยจัดกรอบหลัก ในทั้ง 10 ส่วน ได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ 1) กลุ่มแนวทางและคำแนะนำในการบันทึกคำอธิบายคุณลักษณะ (Attributes/Describing entities) ปรากฏในส่วนที่ 1-4 (บทที่ 1-16) และ 2) กลุ่มแนวทางและคำแนะนำในการระบุความสัมพันธ์ (Describing relationships) ปรากฏในส่วนที่ 5-10 (บทที่ 17-37) ภายในแต่ละส่วนครอบคลุมคุณลักษณะหรือความสัมพันธ์ที่สนับสนุน user tasks เฉพาะอย่าง เนื้อหาในแต่ละส่วน มีดังนี้
ส่วนอธิบายคุณลักษณะ (Attributes)
Section 1
Section 2
Section 3
Section 4
ส่วนอธิบายความสัมพันธ์ (Relationships)
Section 5
Section 6
Section 7
to
Section 8
between
Section 9
between
Section 10
between
ดังนั้น ผู้สร้างรายการควรทำความรู้จักและเข้าใจคำสั่งหรือคำแนะนำในส่วนต่างๆ ของ RDA ศึกษาโครงสร้าง และการจัดวางเนื้อหา RDA ที่แตกต่างจากโครงสร้าง AACR2 อย่างมาก บทต่างๆ ใน RDA จัดตามหน่วยข้อมูลที่อธิบายเอนทิตี้ของ FRBR แต่ละกลุ่ม ไม่ได้จัดตามรูปแบบและส่วนข้อมูลการพรรณนาของ ISBD (ISBD areas of description) และผู้สร้างรายการควรศึกษาเปรียบเทียบหลักเกณฑ์/การใช้งาน MARC21 กับ RDA และอาจใช้เครื่องมือช่วยแบบออนไลน์ คือ RDA toolkit ในการจับคู่เปรียบเทียบหลักเกณฑ์ AACR2 กับ RDA
ประโยชน์ที่ได้รับ
ได้รับความรู้เกี่ยวกับหลักการและมาตรฐานการลงรายการพรรณนาตามการพรรณนาและการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศ (RDA) ทั้งในส่วนของ work, expression, manifestation, item เป็นต้น รวมถึงได้ทราบถึงการประยุกต์ใช้ RDA แทน AACR2 พร้อมด้วยข้อแนะนำสำหรับผู้ที่ทำหน้าที่สร้างรายการทรัพยากรให้เป็นผู้ที่สามารถเตรียมตัวเพื่อปรับเปลี่ยนมาใช้มาตรฐานการลงรายการแบบ RDA ได้