นางสาววิริยา สมบูรณ์ผล
ตำแหน่ง บรรณารักษ์
เนื้อหาโดยสรุป
การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การดำเนินงานระบบจัดเก็บเอกสารฉบับเต็มในรูปอิเล็กทรอนิกส์ ตามโครงการพัฒนาเครือข่ายห้องสมุดในประเทศไทย (ThaiLIS) มีเนื้อหาการประชุมประกอบด้วยเรื่อง โครงสร้าง Metadata , หลักการใช้งาน Metadata ตามมาตรฐาน Dublin Core, หลักการการใช้งานระบบ TDC, การสร้าง Template เพื่อการบันทึกข้อมูล Metadata, การใช้ Crosswalk ในระบบ digital collection (TDC), การบันทึกข้อมูล metadata และ การ Upload Object ของเอกสารดิจิตอล และการใช้งานระบบงานสืบค้นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ดังนี้
โครงสร้าง Metadata
Metadata หมายถึง ข้อมูลที่บรรยายทรัพยากรหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับวัตถุ (Object) อย่างเช่น ทรัพยากรประเภทเอกสาร ทรัพยากรประสิ่งของ ทรัพยากรประเภทบริการ ทรัพยากรประเภท Collection ของทรัพยากรอื่น และทรัพยากรบุคคล หน่วยงาน และหนังสือในห้องสมุด ซึ่ง Metadata นั้นสามารถจำแนกออกได้ 3 ส่วนด้วยกัน ดังนี้
หลักการใช้งาน Metadata ตามมาตรฐาน Dublin Core
Dublin Core เป็นมาตรฐานที่ใช้ในการจัดทำ Metadata ให้กับเอกสารเว็บ ชุดหน่วยข้อมูลย่อย (element set) ของมาตรฐาน Dublin Core แบ่งรายละเอียดในการบรรยายเอกสารเว็บออกเป็น 15 element ประกอบด้วย
หลักการการใช้งานระบบ TDC
หลักการทำงานของระบบแบ่งออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน คือ ผู้ดูแลระบบ (Administrator), ผู้ใช้ระบบ (User) และผู้ใช้งานทั่วไป (User Document) ซึ่งเครื่องมือการใช้งานของระบบในแต่ละสิทธิ์จะมีไม่เท่ากัน ในส่วนของผู้ดูแลระบบ จะสามารถ Add User กำหนดสิทธิ์ในการเข้าใช้งานระบบของผู้ใช้ระบบ, ตั้งค่าต่างๆ ล่วงหน้าเพื่อความรวดเร็ว เนื่องจากเป็นค่าคงที่ เช่น ตั้งค่า มหาวิทยาลัย/สถาบัน, Publisher, ตั้งค่าอ้างอิงวิทยานิพนธ์ และกลุ่มข้อมูล, การสร้าง Template, การใช้ Crosswalk เป็นต้น ส่วนของผู้ใช้ระบบ จะสามารถป้อนข้อมูล metadata และการอัพโหลดเอกสารดิจิตอลเข้าระบบ รวมถึงการดูสถิติและรายงานการใช้ระบบได้ และสำหรับผู้ใช้งานทั่วไป สามารถการใช้งานระบบงานสืบค้นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ได้เพียงอย่างเดียว
การสร้าง Template เพื่อการบันทึกข้อมูล Metadata
ในการสร้าง Template เพื่อใช้สำหรับการบันทึกข้อมูล Metadata นั้น ผู้ดูแลระบบจะเป็นผู้สร้าง Template ตามประเภทของเอกสาร โดยการเลือกใช้ element ของแต่ละประเภทของเอกสาร ซึ่งจะแตกต่างกันออกไป เช่น การสร้าง Template เอกสารประเภท Article, Research, Thesis เป็นต้น
การสร้าง Template
การใช้ Crosswalk ในระบบ digital collection (TDC)
Crosswalk คือ การ convert ข้อมูลกันระหว่างระบบห้องสมุดอัตโนมัติและ Digital Collection ระหว่าง Marc 21 และ Metadata เพื่อลดเวลา และลดการทำงานฐานข้อมูลซ้ำซ้อนของแต่ละห้องสมุด โดยทางห้องสมุดต้องทำการสร้าง Crosswalk ไว้สำหรับการใช้งานเสียก่อน ซึ่งในการนำ Crosswalk ที่สร้างไว้แล้วมาใช้งานสามารถทำได้ 2 วิธี ดังนี้
การเพิ่ม Crosswalk
วิธีที่ 1
1. การ upload ข้อมูลจากระบบห้องสมุดอัตโนมัติ โดยผ่านตาราง crosswalk
การ upload ข้อมูลจากระบบห้องสมุดอัตโนมัติ โดยผ่านตาราง crosswalk
วิธีที่ 2
2. การ Remote ข้อมูลจากระบบห้องสมุดอัตโนมัติโดยผ่าน 50
การ Remote ข้อมูลจากระบบห้องสมุดอัตโนมัติโดยผ่าน Z39.50
การบันทึกข้อมูล metadata และ การ Upload Object ของเอกสารดิจิตอล
ขั้นตอนการทำงาน มีดังนี้
การป้อนข้อมูล Metadata ผ่าน Template
การ Upload Object
การใช้งานระบบงานสืบค้นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (TDC Search)
ระบบงานสืบค้นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ เป็นระบบที่ประกอบด้วยชุดคำสั่งต่างๆ เพื่อใช้สำหรับสืบค้นวิทยานิพนธ์และเอกสารวิชาการฉบับเต็มในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Thai Digital Collection) เพื่อจัดเก็บและเผยแพร่งานวิจัย วิทยานิพนธ์ บทความวิชาการ ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์แก่ผู้ใช้ในการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศฉบับเต็มที่ต้องการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สามารถเข้าใช้งานได้ 2 ช่องทาง คือ การสืบค้นออนไลน์ ผ่าน Web Browser และการสืบค้นผ่าน Mobile Application (ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์)
การสืบค้นข้อมูล มี 3 รูปแบบ ดังนี้
หน้าจอการสืบค้นอย่างง่าย
หน้าจอการสืบค้นตามลำดับตัวอักษร
หน้าจอการสืบค้นขั้นสูง
ประโยชน์ที่ได้รับ
ได้รับความรู้ความเข้าใจเพิ่มเติมในการทบทวนความรู้เรื่องการลงรายข้อมูลตามแบบมาตรฐานสำหรับจัดเก็บเอกสารฉบับเต็มในรูปอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ Thai Digital Collection และสามารถนำความรู้ที่ได้รับมาปรับปรุงการลงรายการข้อมูลให้มีความถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้อย่างเป็นมาตรฐานเดียวกัน