นางวันดี เจียมสมบุญ
ตำแหน่ง บรรณารักษ์
เนื้อหาโดยสรุป
บรรยายโดย รศ.ดร.น้ำทิพย์ วิภาวิน บทบาทของห้องสมุดจากอดีดถึงปัจจุบัน คือ การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life-long learning and library) เพราะห้องสมุดเป็นศูนย์รวมความรู้ที่รวบรวมและจัดเก็บเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศ ซึ่งห้องสมุดที่ดีจะต้องมีการบริการที่มีคุณภาพสูง มีสารสนเทศที่หลากหลาย และมีพื้นที่สำหรับการเรียนรู้สำหรับทุกเพศทุกวัย
บทบาทของห้องสมุดต่ออนาคตของสังคมไทย
บทบาทใหม่ของห้องสมุดในยุค Thailand 4.0
1. Act as open acess publishers ทำหน้าที่เป็นเหมือนสำนักพิมพ์ Open access policy agreement นโยบายการเข้าถึงข้อมูลแบบเปิด Institutional repository, digital repository data archive เป็นสถาบันที่จัดเก็บข้อมูลที่เป็นดิจิตอล Data seal approval ข้อมูลต้องผ่านการรับรองมาตรฐาน เช่น DSA Electronic resources consortium มีความร่วมมือในด้านทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์ เช่นระบบ Union catalog
2. Act as community services provides ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการชุมชน Community services, maker spaces บริการชุมชนในพื้นที่ Mobile application แอปพลิเคชั่นบนมือถือ New cataloging standards, rdf bibframe มีมาตรฐานการลงรายการที่ใหม่ เช่น RDF
3. Act as technology experts & coordinators การปรับโมเดลห้องสมุดดิจิทัล
ความเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบต่อห้องสมุด
1. U (User expectations) ความคาดหวังของผู้ใช้
2. S (Change ways of scholars) การเปลี่ยนวิธีทำงานของนักวิชาการ
3. P (Change in scholarly publishing) ความเปลี่ยนแปลงของการตีพิมพ์เผยแพร่ในการสื่อสารทางวิชาการ
การวัดคุณภาพการบริการของห้องสมุด (Library service quality)
1. Affect of service (AS) ต้องประทับใจคน มีความเอาใจใส่ มีความน่าเชื่อถือ บุคลากรต้องมีความรู้ความสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้
2. Information control (IC) มีระบบดี คือ การมีระบบการจัดการทรัพยากรสารสนเทศที่ดีครบถ้วนง่ายในการค้นหา มีอุปกรณ์ให้เพื่ออำนวยความสะดวก และทันเวลา เนื้อหาสารสนเทศมีความทันสมัยมีความน่าเชื่อถือ
3. Library as place (LP) สถานที่ดี คือ สร้างบรรยากาศทางการเรียนรู้ ต้องมีพื้นที่ในการใช้สอย มีสัญลักษณ์ป้ายต่าง ๆ ติด และมีความปลอดภัย
ความต้องการของผู้บริหาร
1. Professional librarians, staff = บรรณารักษ์มืออาชีพ (ต้องคุ้มค่า)
2. High quality learning resources = ทรัพยากรการเรียนรู้ที่มีคุณภาพสูง (ครบถ้วน)
3. High quality learning spaces = พื้นที่การเรียนรู้ทีมีคุณภาพสูง (มีคนมาใช้)
ความต้องการของอาจารย์
1. การเรียนการสอนการเขียนตำรา โดยที่ห้องสมุดให้อาจารย์ผู้สอนได้มีส่วนร่วมในการคัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศ และการจัดกลุ่มเนื้อหา/หมวดหมู่ทรัพยากรสารสนเทศให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน
2. การวิจัยการให้คำปรึกษาวิจัย โดยที่ห้องสมุดจัดหาทรัพยากรสารสนเทศที่สนับสนุนงานวิจัย และมีห้อง Lab เพื่อการค้นคว้าวิจัยโดยเฉพาะ
3. บริการวิชาการแก่สังคม โดยการให้บรรณารักษ์ที่มีความรู้ในเนื้อหาของทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดแนะนำ การอ้างอิง การศึกษาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง และการช่วยเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานวิชาการ
ความต้องการของนักวิจัย
1. การเขียนโครงการและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง โดยการที่ห้องสมุดมีรูปแบบและตัวอย่างให้ศึกษาค้นคว้า
2. การวางแผนจัดเก็บข้อมูลวิจัยตั้งแต่เริ่มต้นโครงการไว้ที่ฐานข้อมูลวิจัยหรือคลังสารสนเทศของสถาบัน
3. การเผยแพร่ผลงานวิจัยการเขียนบทความและการนำเสนอ
4. ห้องศึกษาค้นคว้าของนักวิจัยโดยเฉพาะ
Strategic Plan 2017-2020 กลยุทธ์สำคัญที่ต้องวางแผนและจัดทำในปี 2017-2020
1. สร้างวัฒนธรรมการมีส่วนเกี่ยวข้อง
2. ปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการทรัพยากรสารสนเทศ
3. บุคลกรห้องสมุดกล้าคิด กล้าทำสิ่งใหม่
4. การเรียนการสอนที่มีพลวัต
5. การประเมินผลต่อเนื่องเพื่อปรับปรุง
ความคาดหวังของอาจารย์ นักวิจัย
1. การพัฒนา Thai national digital library ให้เป็นโครงการระดับชาติ ได้แก่
2. การจัดการข้อมูลตามมาตรฐานสากลเพื่อการใช้งานในระยะยาว เช่น
Data seal of approval (DSA) เป็นมาตรฐานการจัดการข้อมูลในคลังสารสนเทศดิจิทัล ซึ่งวัตถุประสงค์ของเกณฑ์การรับรองมาตรฐานแบบ DSA ก็คือ เพื่อปรับปรุงข้อมูลของเจ้าของข้อมูลเพื่อให้ผู้ให้ทุนสนับสนุนการวิจัยมั่นใจว่ามีการเผยแพร่ผลวิจัยที่สามารถใช้งานได้และสามารถนำกลับมาใช้ได้อีกและเพื่อเป็นแนวทางในการจัดการข้อมูลวิจัยเพื่อการใช้งานในอนาคตโดยไม่จำเป็นต้องสร้างมาตรฐานขึ้นมาใหม่
ตัวอย่าง ความร่วมมือกันพัฒนาห้องสมุดดิจิทัล Federated digital library (FDL)
ปัจจัยความเสี่ยง
1. ค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นในการซื้อข้อมูลดิจิทัล
2. การขาดมาตรฐานการจัดการข้อมูลเพื่อใช้งานในระยะยาว
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. ทราบถึงบทบาทของห้องสมุดในยุค Thailand 4.0
2. ทราบถึงความต้องการของผู้ใช้ ผู้บริหาร อาจารย์ นักวิจัย
3. ทราบถึงบทบาทของห้องสมุดต่ออนาคตของสังคมไทย
4. ทราบถึงระบบการวัดคุณภาพการบริหารของห้องสมุด