แหล่งที่มาภาพ: www.egat.co.th/
นางวันดี เจียมสมบุญ
ตำแหน่ง บรรณารักษ์
เป็นโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนที่ใช้ถ่านลิกไนต์เป็นเชื้อเพลิงแห่งแรก และแห่งเดียวในภาคใต้ มีเนื้อที่ประมาณ 600 ไร่ เริ่มจ่ายกระแสไฟฟ้ามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2507 ในปี พ.ศ. 2539 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้เสนอโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังความร้อนแห่งใหม่ในบริเวณโรงไฟฟ้าเดิม และผ่านความเห็นชอบในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ แต่ได้รับอนุญาตโครงการจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2540 ซึ่งการก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2546 และเริ่มเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2547
ในปัจจุบันโรงไฟฟ้ากระบี่มีโรงไฟฟ้าพลังความร้อน ขนาดกำลังผลิตติตั้ง 340 เมกะวัตต์ ออกแบบให้สามารถทำงานได้ทั้งใช้น้ำมันเตาและก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง โรงไฟฟ้ากระบี่ จึงช่วยเสริมความมั่นคงของระบบไฟฟ้าในภาคใต้ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังช่วยให้เกิดการจ้างงานภายในท้องถิ่น ส่งเสริมเศรษฐกิจ สังคม ชุมชน ตลอดจนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น
โรงไฟฟ้ากระบี่ ได้ติดตั้งระบบกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซต์ชนิดเปียก ซึ่งมีประสิทธิภาพในการกำจัดก๊าซดังกล่าวสูงถึง ร้อยละ 90 เพื่อลดและควบคุมผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางอากาศให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน อีกทั้งยังนำระบบมาตรฐานการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามระบบ ISO มาใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 และได้ผ่านการประเมินได้รับรองมาตรฐานการจัดการด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ISO 14001 จากสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (สรอ.) ระบบการบำบัดน้ำที่นำมาใช้ในระบบหล่อเย็น ได้ใช้วิธีหมุนเวียนน้ำในกระบวนการระบายความร้อนจากเครื่องควบแน่น ส่วนน้ำเสียจะถูกปรับสภาพให้เป็นกลางที่ Neutralization Basin และสูบไปยังบ่อตกตะกอน แล้วปล่อยทิ้งไว้ให้อุณหภูมิลดลง ก่อนดึงกลับสู่คลองปกาสัยต่อไป
กองทุนพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า จัดตั้งขึ้นตามความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ตามมติของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าขนาดตั้งแต่ 6 เมกะวัตต์ขึ้นไป ในระยะรัศมี 5 กิโลเมตร โดยการเก็บเงินที่ได้จากการจำหน่ายไฟฟ้า เข้ากองทุนและนำมาใช้ในกิจกรรมต่าง ของชุมชน เช่น การพัฒนาอาชีพ การสนับสนุนการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี กีฬาและดนตรี รวมทั้งด้านสาธารณสุข และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
ซากดึกดำบรรพ์ที่ค้นพบบริเวณเหมืองถ่านหินลิกไนต์เป็นซากสิ่งมีชีวิต และซากพืช ในปี พ.ศ. 2504 กรมทรัพยากรธรณี ประเทศไทยและมหาวิทยาลัยมงต์เปลลิเย่ร์ประเทศฝรั่งเศล ได้สำรวจซากสิ่งมีชีวิตมีกระดูกสันหลังโบราณหลายชนิดจากเหมืองถ่านหินลิกไนต์ อ.เหนือคลอง จ.กระบี่ มีการขุดค้นพบซากดึกดำบรรพ์ครั้งสำคัญ เป็นซากดึกดำบรรพ์ของลิงชนิดใหม่ของโลกที่มีสายพันธุ์เดียวกับมนุษย์ในปัจจุบัน มีชื่อว่า “สยามโมพิเทคัสอีโอซีนัส” ซากส่วนที่พบเป็นกรามและฟัน มีอายุเก่าแก่นานกว่า 35-37 ล้านปี การค้นพบครั้งนี้ได้สร้างข้อสันนิษฐานใหม่เกี่ยวกับต้นกำเนิดของมนุษย์ ว่าน่าจะมีศูนย์กลางของวิวัฒนาการในทวีปเอเชียและขยายไปทั่วโลก
ต่อมาในปี พ.ศ. 2533 ได้ค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของเสือเขี้ยวดาบครั้งแรกในประเทศไทยมีอายุเก่าแก่กว่า 40 ล้านปี รับรองโดยมหาวิทยาลัยมงต์เปลลิเย่ร์ แห่งประเทศฝรั่งเศล ซึ่งเสือเขี้ยวดาบนั้นถือเป็นสัตว์ดึกดำบรรพ์เลี้ยงลูกด้วยนมที่สูญพันธุ์ไปแล้วกว่า 10,000 ปี ที่เรียกกว่าเสือเขี้ยวดาบเพราะเขี้ยวข้างบนของเสือชนิดนี้มีลักษณะแบนและโค้งเหมือนมีดดาบ สามารถจูโจมเหยื่อได้ดุเดือนและฉีกกระชากด้วยฟันที่แหลมคมและฉลับไว้ นอกจากนี้ยังมีการขุดค้นพบซากดึกดำบรรพ์อื่น ๆ อีกมากมาย ส่วนใหญ่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยประมาณ 27 ชนิด สัตว์เลื้อยคลานจำพวกงู เต่า จระเข้ 6 ชนิด จากดึกดำบรรพ์ของหอย ปลาชนิดต่าง ๆ ซากดึกดำบรรพ์ของสมเสร็จ กระจง หนู รวมถึงสัตว์ต้นตระกูลเท่าแก่ที่สุดของฮิปโปโปเตมัส รวมถึงยังพบซากพืชใบเลี้ยงเดียว ใบเลี้ยงคู่ ตลอดจนถึงซากของต้นไม้กลายเป็นถ่านหินอายุ 35 ล้านปีที่ยาวและสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่เคยพบมา
โรงไฟฟ้ากระบี่จึงได้รับการย่อมรับว่าเป็นแหล่งเรียนรู้และศึกษาซากดึกดำบรรพ์ของสิ่งมีชีวิตที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ ประโยชน์ของซากดึกดำบรรพ์ที่นอกจากเป็นหลักฐานสำคัญของสิ่งมีชีวิตในอดีตแล้ว ยังช่วยให้นักธรณีวิทยาสามารถกำหนดอายุของชั้นหินในบริเวณที่พบได้อีกด้วย
ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งกระบี่สังกัดสำนักวิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งกรมประมงหรือเดิมคือ สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งจังหวัดกระบี่สังกัดกองเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งกรมประมงได้รับการก่อสร้าง ตามโครงการเพาะเลี้ยงกุ้งน้ำกร่อยของกรมประมง ซึ่งจัดทำขึ้นภายใต้สภาวะการณ์ในปี พ.ศ.2528 – 2529 โดยใช้เงินกู้จากธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) และจาก OPEC FUND ร่วมกับเงินสมทบ จากรัฐบาลไทยเป็นเงินงบประมาณในการก่อสร้าง 83,145,939.00 บาท ใช้พื้นที่ของป่าสงวนแห่งชาติ ป่าคลองจิหลาดเป็นพื้นที่ 93 ไร่ 3 งาน 45 ตาราวา ก่อสร้างแล้วเสร็จและกองนโยบายและแผนงานประมง ได้ส่งมอบให้กองเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เมื่อ ปี พ.ศ. 2536 และเปิดดำเนินการในปีเดียวกัน
ผลงานวิจัย
2544
1. การศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับการเพาะและอนุบาลกุ้งเหลือง
2. ปัจจัยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพันธุ์ปลากะรัง
2545
1. การศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับการเพาะและอนุบาลปลาหูช้าง
2. ชีววิทยาการสืบพันธุ์และการเพาะพันธุ์เบื้องต้นปลาจะละเม็ดเทา
3. การเลี้ยงปลากะรังแดงจุดฟ้าจากธรรมชาติในกระชังที่ระดับความถี่ของการให้อาหารต่าง ๆ กัน
2546
1. การเจริญเติบโตและอัตราการรอดตายของลูกปลาเฉี่ยวหิน
ที่เลี้ยงด้วยอาหาร 3 ชนิด
2. ผลของความถี่การให้อาหารต่อการเจริญเติบโตของปลา
กะรังเหลืองจุดฟ้า
3. พัฒนาการคัพภะและลูกปลาวัยอ่อนของปลาเก๋าเสือ
พิเศษ นวัตกรรมปลาการ์ตูน เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาการ์ตูน 13 สายพันธุ์แห่งแรกในประเทศไทย
2551
1. คัพภะวิทยาและพัฒนาการของลูกปลาช่อนทะเลวัยอ่อน
2. การอนุบาลลูกปลากะรังหงส์ ด้วยอาร์ทีเมียที่เสริมน้ำมันระดับต่างๆ
ประโยชน์ที่ได้รับ
ได้ทราบถึงประวัติความเป็นมาของโรงไฟฟ้ากระบี่ กระบวนการผลิตไฟฟ้า และได้เข้าชมซากดึกดำบรรพ์ที่ของสิ่งมีชีวิต เช่น เสื้อเขี้ยวดาบ ซึ่งเป็นสัตว์ที่สูญพันธ์ไปแล้ว กว่า 10,000 ปี เป็นสิ่งที่หาดูได้ยากในปัจจุบัน และได้ทราบความเป็นมาของศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง (ศูนย์ปลานีโม) การเพาะเลี้ยง การอนุบาล การขยายพันธุ์ปลา