นางสาวเบญสิร์ยา ปานปุญญเดช
ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษา ชำนาญการ
สรุปรายละเอียดเนื้อหาการอบรม (ThaiMOOC)
อาจารย์ผู้สอน ผู้ช่วยศาสตราจารย์นพมาศ ปลัดกอง, ผู้ช่วยศาสตราจารย์อังคณา ศิริอำพันธ์กุล และอาจารย์พิมลมาศ เนตรมัย
บทที่ 1: ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับบุคลิกภาพ
ความหมายของบุคลิกภาพ (Personality) ตามแนวคิดทางจิตวิทยา
บุคลิกภาพ
ลักษณะภายนอก คือ ส่วนที่มองเห็นได้ชัดเจน เช่น รูปร่าง หน้าตา การแต่งกาย กิริยามารยาท การยืน การเดิน การนั่ง และวิธีการพูดจา เป็นต้น
ลักษณะภายใน คือ ส่วนที่มองเห็นได้ยาก แต่อาจจะทราบได้จากการอนุมานพฤติกรรม เช่น ระดับสติปัญญา ความถนัด อารมณ์ ความรู้สึก ทัศนคติ ความคิด และความเชื่อ เป็นต้น
ศักยภาพ (Potentiality) เป็นองค์ประกอบจากภายในของบุคคล สามารถมองได้จากวิธีคิด และแสดงออกมาเป็นการกระทำซึ่งมีผลจากภูมิหลัง หรือประสบการณ์ ที่สำคัญคือ คุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์ที่ดี ดังนั้นผู้ที่มีบุคลิกภาพที่ดีควรจะต้องเป็น “คนดี”ของสังคมด้วยเช่นกัน ซึ่งเป็นคุณสมบัติสำคัญที่จะพิสูจน์ความมีบุคลิกภาพที่ดีของบุคคลอย่างแท้จริง
ประเภทของบุคลิกภาพ แบ่งเป็น 3 ประเภท
เมื่อเราต้องดำเนินชีวิตอยู่ในสังคม การแสดงออกทางบุคลิกภาพให้เหมาะสมกับบทบาทหน้าที่ที่แต่ละคนได้รับในฐานะการเป็นสมาชิกคนหนึ่งในสังคม เป็นสิ่งที่จำเป็นและมีความสำคัญ การพัฒนาบุคลิกภาพจึงเป็นความรู้ที่ต้องพัฒนาอยู่เสมอตามยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป
แบ่งออกเป็น 3 ด้านคือ
3.2 การขัดเกลาโดยอ้อม เช่น การรับข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อมวลชน
สรุปได้ว่า การที่บุคคลแต่ละบุคคลมีบุคลิกภาพที่แตกต่างกันนั้น เป็นผลมาจากปัจจัยหลายๆอย่างทั้งพันธุกรรม สังคม สิ่งแวดล้อม และการอบรมเลี้ยงดูที่เป็นปัจจัยสำคัญ
ปัจจัยด้านกระบวนการขัดเกลาทางสังคม
ทฤษฎีจิตวิทยาบุคลิกภาพ ในกลุ่มคุณลักษณะ หรือในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Trait Personality Theory ได้กล่าวถึงบุคลิกภาพไว้ว่า เป็นสิ่งที่สามารถทำความเข้าใจและระบุคุณลักษณะที่เป็นพื้นฐานในการเกิดพฤติกรรมโดยเน้นคุณลักษณะพิเศษบางอย่างของบุคคลที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน
กอร์ดอน ออลพอร์ต เขาเชื่อว่า บุคลิกภาพของบุคคลถูกกำหนดจากเทรท (Traits) เทรทเป็นลักษณะนิสัยหรือความเคยชิน เช่น ความเป็นมิตรความมักใหญ่ใฝ่สูง ขี้อาย ช่างเจรจาและลักษณะอื่น ๆ
บุคลิกภาพมีการพัฒนาตามลำดับขั้นตอนเหมือนพัฒนาการด้านอื่น ๆ เริ่มต้นจากวัยทารกจนกระทั่งวัยชรา หากในแต่ละช่วงวัยได้รับการตอบสนองที่เหมาะสม พัฒนาการทางบุคลิกภาพก็จะมีการพัฒนาเป็นไปตามปกติ แต่หากไม่สามารถตอบสนองได้อย่างเหมาะสมทั้งสภาวะที่มากเกินไปหรือน้อยเกินไปจะส่งผลต่อบุคลิกภาพของบุคคล พัฒนาการทางบุคลิกภาพมี 5 ขั้น ดังนี้
ขั้นที่ 1 ขั้นปาก (Oral Stage) พัฒนาการบุคลิกภาพของมนุษย์ในขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึงหนึ่งขวบ ความสุขหรือความพึงพอใจของวัยทารกอยู่ที่การได้ดูดนมมารดา หากได้รับการตอบสนองมากเกินไปหรือน้อยเกินไปก็จะทำให้เกิดการตรึงแน่นของพฤติกรรม (Fixation) เช่น ชอบดูดนิ้ว ดูดปากกา ดินสอ กัดเล็บ พูดมาก ปากจัด จะมีบุคลิกภาพที่ยอมตามผู้อื่น คอยพึ่งพาอาศัยบุคคลอื่น ไม่มีความเป็นตัวของตัวเอง ไม่มีความมั่นใจ มักจะมองโลกในแง่ดีหรือร้ายจนเกินไป บุคลิกภาพในการชอบรับเกิดจากการถูกเอาใจมากเกินไป เรียกว่า The Oral receptive Character ทำให้กลายเป็นการพึ่งพาผู้อื่นในการหาความสุข
ขั้นที่ 2 ขั้นทวารหนัก (Anal Stage) อยู่ในระยะ 2 –3 ขวบ ความสุขที่ได้รับจากทางปากจะเปลี่ยนมาเป็นบริเวณขับถ่าย เด็กเริ่มพัฒนาความพร้อมทางกล้ามเนื้อขับถ่ายให้แข็งแรงขึ้น ปัญหาเรื่องการฝึกขับถ่าย ส่งผลให้เป็นคนเจ้าระเบียบเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดของร่างกาย ละเอียดละออ หรือเป็นไปในทิศทางตรงกันข้ามคือ ไม่มีระเบียบ ทำความสกปรกและจะมีปฏิกิริยาที่ต่อต้านสังคม ขัดขืน ดื้อดึง ตระหนี่ถี่เหนียว หรือมีบุคลิกภาพแบบเผด็จการ ต้องการมีอำนาจมาก ใจแคบ มีอคติ
ขั้นที่ 3 ขั้นอวัยวะเพศ (Phallic Stage) อยู่ในระยะ 3 – 6 ขวบ ความสุขจากอวัยวะเพศ เด็กต้องการความใกล้ชิดจากพ่อแม่หรือคนเลี้ยงดู เพื่อเป็นแบบในการปรับตัว เด็กชายติดแม่และรักแม่มาและต้องการที่จะเป็นเจ้าของแม่แต่เพียงคนเดียว จึงเกิดการเรียนแบบพ่อ ซึ่งเด็กผู้หญิงจะติดพ่อ เรียนแบบแม่
ขั้นที่ 4 ขั้นแอบแฝง (Latency Stage) อยู่ในระยะ 6 – 12 ขวบ เป็นระยะก่อนที่จะพัฒนาถึงวัยหนุ่มสาว การให้ความสำคัญกับความรู้สึกทางเพศได้ลดลง เด็กมักจะร่วมกลุ่มดำเนินกิจกรรมที่เหมาะสมกับเพศของตนเอง
ขั้นที่ 5 ขั้นความสนใจและพึงพอใจทางเพศ (Genital Stage) อยู่ในระยะ 12 –15 ขวบ เป็นระยะหนุ่มสาว เริ่มมีความสนใจในเพศตรงข้าม เป็นระยะพัฒนาเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ ถ้าบุคคลมีพัฒนาการมาถึงขั้นที่ 5 และมีสุขภาพจิตดี มีลักษณะสำคัญ 2 ประการ คือ
ทฤษฎีบุคลิกภาพ กลุ่มพฤติกรรมนิยม
ทฤษฎีจิตวิทยาบุคลิกภาพ กลุ่มพฤติกรรมนิยม นักจิตวิทยา ได้แก่ บี เอฟ สกินเนอร์ (B.F. Skinner)
บุคลิกภาพของมนุษย์ตามแนวคิดของสกินเนอร์ ปะปนอยู่กับทฤษฎีการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ หรือ Operant Conditioning Learning และกฎแห่งการเสริมแรง หรือ Reinforcement
1) การเสริม แรงทางบวก (Positive Reinforcement) คือ การเสริมแรงโดยให้สิ่งเร้าที่ทำให้เกิดความพึงพอใจและช่วยให้เกิดการตอบสนองเพิ่มขึ้น เช่น การให้รางวัล หรือการให้คำชมเชย เป็นต้น
2) การเสริม แรงทางลบ (Negative Reinforcement) คือ การเสริมแรงที่เกิดจากการนำสิ่งเร้าที่ไม่ต้องการออกไป ทำให้การตอบสนองมีพลังขึ้น
วิธีการให้การเสริมแรงมี 2 ลักษณะ คือ เสริมแรงทุกครั้งที่มีการตอบสนองที่ถูกต้อง และ เสริมแรงแบบครั้งคราว
ปัจจัยที่มีผลต่อการเสริมแรง
นักจิตวิทยาคนสำคัญ ได้แก่ อับราฮัม มาสโลว์ (Abraham Maslow)
ฐานแนวคิดของกลุ่มมนุษยนิยม มีมุมมองในแง่ธรรมชาติที่ดีงามของมนุษย์ ความใฝ่ดี และความต้องการพัฒนาบุคลิกภาพของตนไปสู่สภาวะที่ดีกว่า
แรงจูงใจของมนุษย์มีลำดับขั้นตอน ตั้งแต่ขั้นต่ำไปจนถึงขั้นสูงสุด มีทั้งหมด 5 ขั้นตอนด้วยกัน
ที่มาจาก : https://lms.thaimooc.org/
การวัดและการประเมินบุคลิกภาพ คือการพยายามอธิบาย ความเป็นตัวตนของบุคคลโดยใช้วิธีการศึกษาอย่างมีระบบระเบียบ มีจุดประสงค์สำคัญ คือ ต้องการให้ตัวตน ได้รับรู้ว่าตัวเองนั้นเป็นอย่างไร รวมไปถึงสามารถที่จะเข้าใจผู้อื่น และนำข้อมูลเหล่านี้เป็นพื้นฐาน สำหรับการพัฒนา และปรับปรุงบุคลิกภาพต่อไป