โครงการอบรมทางไกลผ่านระบบดาวเทียม
เรื่อง ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม
วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม 2552 (เวลา 09.00 – 12.00 น.)
สถานที่ ห้องมินิเธียเตอร์ ชั้น 1 อาคารวิทยบริการ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
วิทยากร ผศ.ไตรสิทธิ์ เบญจบุณยสิทธิ์ ที่ปรึกษาด้านนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรคค์สถาบันทริซประเทศไทย
สรุปเนื้อหาการบรรยาย
Altshuller มองว่าความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหานั้นจะต้องมีวิธีการคิดที่เป็นระบบ สามารถเรียนรู้กันได้ และปัญหาทุกอย่างที่ประสบในปัจจุบันเคยมีคนแก้ปัญหาที่คล้ายคลึงกันในอดีตมาแล้วเกือบทั้งสิ้น
ความขัดแย้งทางเทคนิค และการยกตัวอย่างการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางเทคนิค ซึ่งจะต้องลดต้นทุนของวัสดุโดยการลดความหนาของกระป๋อง แต่จะทำให้กระป๋องมีความแข็งแรงลดลง
ความขัดแย้งเชิงกายภาพ ยกตัวอย่างเช่น ปลากระป๋องสยองขวัญ เปิดเจอหนอนยั้วเยี้ย ต้องการให้กระป๋องใสเพื่อให้เห็นคุณภาพของอาหารที่อยู่ข้างในขณะเดียวกันกระป๋องจะต้องไม่ใสเพื่อไม่ให้แสงเข้าไปทำให้อาหารเสื่อมคุณภาพ การแก้ปัญหาความขัดแย้งเชิงกายภาพโดยใช้หลักการของการแบ่งแยก หลักของการแบ่งแยก (Separation) เช่น การแบ่งแยกเชิงสถานที่ (Separation) การแบ่งแยกในเชิงเวลา (Time) การแบ่งแยกในเชิงส่วนย่อยกับภาพรวม (Parts and The Whole) การแบ่งแยกโดยการกำหนดเงื่อนไข (Condition)
การยกตัวอย่างการใช้ทรัพยากรในการแก้ปัญหา เช่นปัญหาการทดสอบความคงทนต่อการกัดกร่อนของชิ้นทดสอบในภาชนะบรรจุน้ำกรด
การยกตัวอย่าง การแก้ปัญหาโดยใช้ Effects เช่น ไฟฉายไร้ถ่านใช้ Effect อะไรในการแก้ปัญหาถ่านหมดบ่อย
วิธีการของตัวช่วยระดมสมอง (Guided Brainstorming Toolkit) เป้าหมายอยู่ที่การสร้างสรรค์เครื่องมือต่าง ๆ ของ TRIZ ใช้งานได้ง่ายขึ้นโดยยังคงรักษาไว้ซึ่งแนวทางความทรงพลังของ TRIZ 3 เฟส – 6 ขั้นตอน
ขั้นตอนที่ 1 ค้นหาปัญหา
การตอบคำถามข้างต้นอาจจะยังไม่สามารถนิยามปัญหาให้ชัดเจนได้
ขั้นตอนที่ 2 กำหนดเป้าหมาย
ขั้นตอนที่ 3 วิเคราะห์ค้นหาโจทย์ โอกาส 3 อย่างในการเพิ่มความเป็นอุดมคติ