นำเสนอรูปแบบ กลไก แนวคิด หรือวิธีการในการบริหารจัดการที่นำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการมหาวิทยาลัย เพื่อการพัฒนาคุณภาพอย่างยั่งยืน ปัญหา อุปสรรค ในการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยของสภามหาวิทยาลัย รวมทั้งโอกาสที่ได้รับจากวิธีปฏิบัติที่ดี
1 รูปแบบ กลไก แนวคิด หรือวิธีการในการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาคุณภาพอย่างยั่งยืน
จากการศึกษาพบว่ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลมีวิธีปฏิบัติที่ดี (Good Practice) ในหลายประเด็น แนวปฏิบัติบางอย่างจะมีลักษณะที่เหมือนกัน แต่บางอย่างจะมีลักษณะเฉพาะของแต่ละมหาวิทยาลัย ซึ่งวิธีการปฏิบัติที่ดีจะเก็บรวบรวมในลักษณะของคลังความรู้ หรือฐานข้อมูลเพื่อเผยแพร่แนวทางให้กับมหาวิทยาลัยอื่น หรือผู้ที่สนใจสามารถนำไปประยุกต์ใช้ ต่อยอดหรือนำเสนอแนวทางปฏิบัติที่ดี เพิ่มเติมต่อไป ซึ่งการเก็บรวบรวมวิธีปฏิบัติที่ดีดังกล่าวจะนำเสอในรูปแบบที่คล้ายคลึงกับ องค์กรการรับรองคุณภาพของมหาวิทยาลัยในออสเตรเลีย (Australian Universities Quality Agency หรือ AUQA) (www.auqa.edu.au) แต่ในเบื้องต้นจะใช้ประเด็นที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งในรูปแบบการสนทนากลุ่มหรือการสัมภาษณ์ เช่น
ธรรมาภิบาล (Governance)
การจัดการ การวางแผน การทบทวน
การเรียนการสอน
วิจัยและที่ปรึกษา
บุคลากร
นักศึกษา
ความร่วมมือกับชุมชนและอุตสาหกรรม
บริการสนับสนุน
ห้องสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ
กิจกรรมต่างประเทศ
รูปแบบการนำเสนอวิธีปฏิบัติที่ดี (Good Practice) ของแต่ละมหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง จะประกอบด้วยรายละเอียดในหัวข้อต่อไปนี้
จุดประสงค์
แนวทางการปฎิบัติ
หลักฐานของความสำเร็จ
ทรัพยากรที่ต้องใช้
ผู้เขียนและที่อยู่สำหรับการติดต่อสอบถาม
ซึ่งเมื่อมีการนำออกเผยแพร่ผู้อ่านสามารถแสดงความคิดเห็นเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และต้องการผลสะท้อนกลับ หรือข้อเสนอแนะ
ผลตอบรับ ข้อเสนอแนะของผู้อ่าน
ค่าคะแนนเฉลี่ยที่ผู้อ่านให้เพื่อแสดงคุณค่าของวิธีการปฎิบัติที่ดีที่นำเสนอ
ตัวอย่างสำหรับวิธีการปฎิบัติที่ดีในด้านต่างๆ สามารถสรุปได้ดังนี้
ตารางที่ วิธีการปฎิบัติที่ดี ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
หัวข้อ |
แนวทางการปฎิบัติที่ดี |
มหาวิทยาลัย |
ธรรมาภิบาล (Governance) | การดำเนินการประชุมอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล | มทร. สุวรรณภูมิ มทร.ธัญบุรี มทร.ล้านนา |
การประชุมสภามหาวิทยาลัยก่อนการประชุมจริง | มทร. 9 แห่ง | |
การประชุมสภามหาวิทยาลัย ณ ที่ตั้งของแต่ละวิทยาเขตของมหาวิทยาลัย | มทร.ล้านนา | |
การทบทวน (Retreat) การทำงานระหว่างสภามหาวิทยาลัยกับผู้บริหารมหาวิทยาลัย | มทร.ล้านนา | |
การจัดตั้งคณะกรรมการย่อยเพื่อกลั่นกรองเรื่องก่อนการประชุมจริง | มทร. สุวรรณภูมิ มทร.ธัญบุรี มทร.ล้านนา | |
การสนองตอบต่อมติของสภามหาวิทยาลัย | มทร. สุวรรณภูมิ มทร.ล้านนา | |
การมีคณะกรรมการกฎหมายเพื่อพิจารณาเรื่องที่เป็นความเสี่ยงของมหาวิทยาลัย | มทร. สุวรรณภูมิ มทร.ธัญบุรี | |
การปฎิบัติหน้าที่ได้อย่างเหมาะสมของประธานสภาอาจารย์และข้าราชการ | มทร.ธัญบุรี | |
การให้ความรู้กับกรรมการสภา | มทร. 9 แห่ง | |
การส่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิไปศึกษาดูงานกับต่างประเทศ | มทร.ธัญบุรี | |
การจัดประชุมร่วมระหว่างนายกสภามหาวิทยา | มทร. 9 แห่ง | |
การจัดให้มีที่ประชุมอธิการบดีเพื่อพิจารณานโยบายต่างๆ ร่วมกัน | มทร. 9 แห่ง | |
การจัดการ การวางแผน การทบทวน | นายกสภาฯ พบกับคณะหน่วยงานต่าง เพื่อรับทราบปัญหา ข้อคิดเห็น | มทร.ธัญบุรี |
การจัดการด้านการเงินเพื่อให้การเงินของมหาวิทยาลัยมีเสถียรภาพและเพิ่มรายได้ | มทร. สุวรรณภูมิ มทร.ธัญบุรี | |
การลงพื้นที่เพื่อการบริหารมหาวิทยาลัย | มทร.ศรีวิชัย | |
การร่วมมือในการจัดกิจกรรมด้านต่างๆ ในระดับคณะ สำนัก เช่น กีฬา การประชุมทางวิชาการ | มทร. 9 แห่ง | |
การจัดให้มีที่ประชุมระดับสำนักฯ เพื่อปรึกษา หารือนโยบาย และช่วยเหลือ เช่น ที่ประชุมผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ | มทร. 9 แห่ง | |
การใช้งบยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัย | มทร. 9 แห่ง | |
วิจัยและที่ปรึกษา | การเป็นเครือข่ายวิจัยร่วมกัน | มทร. 9 แห่ง |
การจัดประชุมทางวิชาการ | มทร. 9 แห่ง | |
ความร่วมมือกับชุมชนและอุตสาหกรรม | โครงการสหกิจ | มทร. 9 แห่ง |
Work Integrated Learning | มทร. 9 แห่ง | |
การร่วมมือในโครงกาตามพระราชดำริ | มทร.ล้านนา มทร.สุวรรณภูมิ | |
บริการสนับสนุน | การผลิตสื่อการเรียนการสอนเพื่อมูลนิธิวังไกลกังวล | มทร. 9 แห่ง |
ห้องสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ | ความร่วมมือด้านการจัดหาทรัพยากร | มทร. 9 แห่ง |
การบูรณาการระหว่างงานวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ | มทร.ธัญบุรี | |
เว็บไซต์สภามหาวิทยาลัย | มทร.พระนคร | |
กิจกรรมต่างประเทศ | ความร่วมมือกับประเทศจีนเพื่อเปิดสำนักพิมพ์และงานแปล | มทร. 9 แห่ง |
ความร่วมมือกับประเทศฝรั่งเศสด้าน WIL | ความร่วมมือกับประเทศจีนเพื่อเปิดสำนักพิมพ์และงานแปล |
ที่มา: ข้อมูลจากการสัมภาษณ์
2 ตัวอย่างวิธีการปฎิบัติที่ดีด้านธรรมาภิบาล (Governance)
วิธีการปฎิบัติที่ดี การดำเนินการประชุมอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
มหาวิทยาลัย มทร. สุวรรณภูมิ มทร.ธัญบุรี มทร.ล้านนา
การดำเนินการประชุมอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ถูกนำมาเป็นตัวอย่างเพื่อให้ผู้สนใจสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับวิธีปฎิบัติที่ดีของธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัยในประเทศไทยต่อไป
วัตถุประสงค์
สภามหาวิทยาลัยทั้งสามแห่งมีความมุ่งมั่นที่จะให้การบริหารมหาวิทยาลัยโดยสภามหาวิทยาลัยมีประสิทธิผล ดังนั้นการประชุมซึ่งส่วนใหญ่กำหนดไว้เดือนละครั้ง ครั้งละ 3 ชั่วโมง จึงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สามารถนำนโยบายไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ถ้ามีปัญหาจะนำกลับมาแก้ไขในการประชุมครั้งต่อไป
การดำเนินการประชุมอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีดังนี้
จัดตั้งคณะกรรมการชุดต่างๆ เพื่อกลั่นกรองเรื่องที่นำเข้าสู่การประชุม ประธานของแต่ละคณะกรรมการจะเป็นผู้รายงาน
ประธานที่ประชุมตรงต่อเวลา รักษาเวลาในการประชุมแต่วาระ และสามารถตัดบทเมื่อกรรมการสภาพูดนอกประเด็น
ให้เวลากับการประชุมในวาระเพื่อพิจารณา เพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัย
เปิดโอกาสให้กรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิได้แสดงความคิดเห็น และให้ความสำคัญกับข้อคิดเห็นดังกล่าว
มอบหมายให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒินำเสนอในประเด็นที่จะเป็นการสร้างองค์ความรู้ให้กับกรรมสภาท่านอื่นและเป็นแนวคิดในการทำงานของผู้บริหารมหาวิทยาลัย
มทร.ธัญบุรี เปิดโอกาสให้ผู้บริหารระดับสูงเข้าร่วมรับฟังการประชุมสภาฯ เพื่อให้เข้าใจแนวนโยบายและนำไปปฎิบัติในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานที่รับผิดชอบ ยกเว้นมติลับ
มทร.สุวรรณภูมิ และ มทร.ล้านนา นำมติที่ได้รับจากสภามานำเสนอผลความคืบหน้าในการดำเนินงาน
ความสำเร็จของสภามหาวิทยาลัยจากการดำเนินการประชุมอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สามารถวัดได้จากจำนวนและคุณภาพของแนวทางการทำงานที่ได้รับการปรับปรุง และประสบความสำเร็จ เช่น
การจัดปฎิทินการประชุมตลอดปี
สามารถปิดการประชุมภายในเวลาที่กำหนด
กรรมการผู้ทรงคุณได้มีโอกาสได้ใช้ความรู้ในการช่วยเหลือมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยที่ทำตามมติของสภาและนำกลับมารายงานให้สภาทราบสามารถพัฒนาและแก้ไขปัญหาอุปสรรคได้รวดเร็วและต่อเนื่อง
มีส่วนร่วมระหว่างกรมการสภากับผู้บริหารมหาวิทยาลัยในการนำนโยบายไปปฎิบัติให้เป็นรูปธรรม
มหาวิทยาลัยรับนโยบายจากสภาฯ และดำเนินการ เช่นการจัดตั้งหน่วยงานต่างๆ เช่น การจัดการความเสี่ยงขององค์กร การประหยัดพลังงาน
ทรัพยากรที่ต้องใช้
การดำเนินการประชุมอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ดำเนินการโดยเลขาสภา สำนักงานสภา บางมหาวิทยาลัยสามารถทำได้ดี แต่บางมหาวิทยาลัยยังมีปัญหาอุปสรรคที่ต้องแก้ไขต่อไป
จัดหาทรัพยากรเช่น เอกสาร ต่างๆ
พัฒนาเครื่องมือและทรัพยากรด้านสารสนเทศ เช่นการประชุมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Meeting)
จัดทำเว็บไซต์ซึ่งให้สารสนเทศเกี่ยวกับสภา เช่น กฎระเบียบที่ใช้อ้างอิง วาระการประชุม รายงานย่อยของการประชุม สมาชิก รวมทั้งกรรมการชุดต่างๆ ของสภา
จัดหาบุคลากรเพื่อดูแลกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
จัดห้องทำงานให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิระหว่างรอการประชุม