เรื่อง การหาความจำเป็นในการฝึกอบรมและพัฒนาหลักสูตร
วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม 2552 (เวลา 09.00 – 12.00 น.)
สถานที่ ห้องมินิเธียเตอร์ชั้น 1 และห้องประชุมชั้น 4 อาคารวิทยบริการ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
จำนวนผู้เข้ารับการอบรม
17 คน
สรุปเนื้อหาการบรรยาย
เริ่มจากการกำหนดความจำเป็นในการฝึกอบรม Identification of training needs) การกำหนดความจำเป็นในการฝึกอบรมขององค์กรอย่าง ครบถ้วนสมบูรณ์นั้น เป็นสิ่งสำคัญต่อความสำเร็จและการพัฒนา อย่างไรก็ตามทฤษฎีต่าง ๆ ช่วยผู้ที่รับผิดชอบงานด้านนี้ได้เพียงเล็กน้อย การกำหนดความจำเป็นในการฝึกอบรมไม่ใช่เป็นเพียงเรื่อง ของการตัดสินใจว่า ความจำเป็น (needs) นั้นอยู่ที่ใด และสำคัญ แค่ไหนเท่านั้น การจัดลำดับความสำคัญของความจำเป็นถือเป็น สิ่งสำคัญด้วยเช่นกัน โดยต้องมีการเชื่อมโยงกับความจำเป็นของส่วนงานต่างๆ (functions) ในองค์กร ทั้งเชื่อมโยงกับองค์กรในภาพรวมด้วย (as a whole)
แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการสนับสนุนการวิเคราะห์ระดับองค์กร
- เป้าหมายและวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ขององค์กร ซึ่งอาจจะเป็นตัวกำหนด มาตรฐานการทำงาน (Performance Standard)
- แผนกำลังคน (Manpower Plan) ซึ่งจะเป็นตัวทำนายช่องว่างกำลังคนที่เกิดจากการเกษียณ การเลื่อนตำแหน่งหรือการลาออก
- Skills Pool ซึ่งเป็น inventory ของความรู้และทักษะภายในองค์กร ในการรักษาระดับความเหมาะสมของ inventory นั้นอาจจะเป็นตัวชี้ถึงความจำเป็นในการฝึกอบรม นอกจากนั้นอาจจะต้องทำนายความต้องการ ทักษะต่าง ๆ ในอนาคตซึ่งทักษะดังกล่าวยังไม่มีในองค์กร ณ เวลาปัจจุบัน
- ดัชนีชี้วัดบรรยากาศองค์กร เช่น การลาออก การขาดงานการเจ็บป่วย ผลการสำรวจทัศนคติ การร้องทุกข์ ฯลฯ
- ดัชนีวัดประสิทธิภาพ เช่น ต้นทุนแรงงาน วัตถุดิบ คุณภาพงาน การใช้ประโยชน์จากเครื่องมือเครื่องใช้ ต้นทุนการกระจายสินค้า การสูญเสีย ความล่าช้าในการขนส่งการซ่อมบำรุง การต่อว่าของลูกค้า
- การเรียกร้องจากฝ่ายจัดการหรือการสำรวจความคิดเห็นของฝ่ายจัดการ
- มีการใช้ระบบหรืออุปกรณ์ใหม่ ๆ
เทคนิคการกำหนดความจำเป็นในการฝึกอบรม 4 ประเภท
- การสำรวจความจำเป็นในการฝึกอบรม (Training Needs Survey) ซึ่งการสำรวจความจำเป็นแบบออกเป็น 2 วิธีด คือ การออกแบบสอบถาม การออกแบบสัมภาษณ์
- การศึกษาความสามารถในการปฏิบัติงาน (Competency Study) ซึ่งประกอบด้วย ความรู้และทักษะกรอบความคิด พฤติกรรมในการปฏิบัติงาน และผลการปฏิบัติงาน
- การวิเคราะห์กิจกรรมของงาน (Task Analysis)
- การวิเคราะห์ผลการปฏิบัติงาน (Performance Analysis)
ผลที่ได้รับ
- ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับมาใช้เป็นหลักในการพิจารณาที่จะจัดฝึกอบรม
- รู้หลักการจัดทำหลักสูตรในการจัดผู้เข้ารับการอบรม การสำรวจความจำเป็นในการฝึกอบรม,การจัดทำหลักสูตรฝึกอบรม,การเขียนโครงการฝึกอบรม
- สามารถเรียนรู้และเข้าใจในองค์กรที่ทำงานเพิ่มมากขึ้น
- การวิเคราะห์ของระดับบุคคลว่าส่วนไหนควรได้รับการอบรมและอบรมอย่างไรให้ได้ประสิทธิภาพ นำมาใช้ประโยชน์กับหน่วยงาน
Post Views: 385