โครงการอบรมทางไกลผ่านระบบดาวเทียม
เรื่อง วิวัฒนาการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐ
วันที่อบรม วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ 2554 (เวลา 09.00 – 12.00 น.)
วิทยากร คุณเบญจวรรณ สร่างนิทร
สรุปเนื้อหาการบรรยาย
กล่าวถึงวิวัฒนาการของระบบราชการไทย ตั้งแต่สมัยสุโขทัย จนถึงปัจจุบัน ดังนี้
ระบบราชการสมัยกรุงสุโขทัย
รูปแบบการปกครองในระยะแรกโครงสร้างทางสังคมการเมืองและการบริหารของอาณาจักรสุโขทัยยังไม่ซับซ้อนมากนัก การปกครองจึงเป็นไปในรูปแบบ “พ่อปกครองลูก” (Patriarchism) กษัตริย์เปรียบเสมือนพ่อของครอบครัวใหญ่ให้การดูแลราษฎรได้อย่างทั่วถึง
การจัดระเบียบบริหารราชการ อาณาจักรสุโขทัยมีการจัดระเบียบบริหารราชการ โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ราชธานี คือ
1. กรุงสุโขทัยและเมืองลูกหลวงที่มีเชื้อพระวงศ์เป็นผู้ปกครองรายล้อมกรุงสุโขทัยไว้ทั้ง 4 ด้าน ในระยะไม่เกิน 2 วันเดินทาง
2. เมืองพระยามหานคร มีเจ้าเมืองเป็นเจ้าผู้ครองนคร แต่บ้านเมืองมีข้าราชการที่ถูกส่งจาก ราชธานีไปเป็นผู้ปกครอง
ระบบราชการสมัยกรุงศรีอยุธยา
พระเจ้าอู่ทองกษัตริย์ของอยุธยาประกาศอิสรภาพไม่ขึ้นกับอาณาจักรสุโขทัยในปี พ.ศ. 1893 และได้นำรูปแบบ “เทวสิทธิ์” (Devine rights) มาใช้ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับอาณาจักร โดยกษัตริย์ถูกยกย่องเป็นสมมติเทพ แบ่งแยกออกจากผู้ใต้ปกครองอย่างเด็ดขาด มีอำานาจปกครองอาณาจักรตามที่ได้รับบัญชาจากสวรรค์ ทั้งนี้ เพื่อรวมอำนาจการปกครองให้อยู่ในตัวบุคคลคนเดียว ทำให้สามารถสร้างอาณาจักรให้เป็นปรึกแผ่นมั่นคงได้อย่ารวด
การจัดโครงสร้างการบริหาร ของอาณาจักรอยุธยาเป็นรูปแบบเช่นเดียวกับอาณาจักรสุโขทัย คือ ราชธานี และเมืองพระยามหานคร
1. ราชธานี คือ กรุงศรีอยุธยาและหัวเมืองชั้นใน (เมืองลูกหลวง) ซึ่งห่างจากกรุงศรีอยุธยาในระยะไม่เกิน 2 วันเดินทาง
2. เมืองพระยามหานคร (หัวเมืองชั้นนอก) เป็นเมืองที่อยู่ห่างไกลจากราชธานีออกไปและมีเมืองประเทศราชที่ขึ้นกับกรุงศรีอยุธยาอีกหลายเมือง คือ เมืองมะละกา เมืองยะโฮร์ และเมืองกัมพูชา
การจัดระบบงานในส่วนกลาง ในเขตราชธานี พระเจ้าอู่ทองได้นำระบบการแบ่งงานแบบขอม ที่เรียกว่า “จตุสดมภ” มาใช้ กษัตริย์เป็นศูนย์กลางการบริหารโดยมีเสนาบดี 4 คน รับผิดชอบงาน 4 กลุ่ม คือ
มีการตั้งอัครมหาเสนาบดีขึ้น 2 ตำแหน่ง คือ
ขุนนาง คือ ข้าราชการที่ได้รับพระราชทานยศถาบรรดาศักดิ์ราชทินนามและศักดินาตั้งแต่ 400 ขึ้นไป ตำแหน่งขุนนางในสมัยอยุธยา ประกอบด้วย – ยศหรือบรรดาศักดิ์ – ราชทินนาม – ตำแหน่ง
ระบบราชการสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
มีการปฏิรูประบบราชการครั้งสำคัญ โดยมีวัตถุประสงค์ของการปฏิรูป เพื่อปรับระบบราชการให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ของประเทศที่มีความเจริญมากขึ้น สร้างเอกภาพและเสถียรภาพของประเทศให้รอดพ้นจากการคุกคามของลัทธิล่าอาณานิคม เพราะมหาอำนาจตะวันตกมักอ้างเหตุผลในการเข้ายึดครองประเทศต่างๆ ว่าเป็นการช่วยสร้างความเจริญให้แก่ดินแดนที่ล้าหลังพระองค์จึงทรงปรับปรุงประเทศใหก้าวหน้าตามแบบตะวันตกโดยทรงเสด็จประพาสต่างประเทศเพื่อเชื่อมสันถวไมตรีกับประเทศมหาอำนาจในยุโรปและศึกษา หาความรู้ ทั้งยังส่งพระราชโอรสไปศึกษาในต่างประเทศหลายประเทศด้วย
การปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดินของรัชกาลที่ 5
การตั้งคณะที่ปรึกษาราชการแผ่นดินและคณะที่ปรึกษาราชการส่วนพระองค์
การปฏิรูปการจัดเก็บภาษีอากรและการคลัง
การปรับโครงสร้างระบบบริหารราชการส่วนกลาง
การปรับโครงสร้างระบบบริหารราชการส่วนภูมิภาค
การปรับโครงสร้างระบบบริหารราชการสว่วนทอ้องถิ่น
การปฏิรูประบบกฎหมายและการศาล
การพัฒนาทรัพยากรกำลังคน
ระบบการปกครองส่วนท้องถิ่น
ระบบทั่วไป
ระบบพิเศษ
1. กรุงเทพมหานคร
2. เมืองพัทยา
ระบบราชการในระหว่างปี พ.ศ. 2471 – พ.ศ. 2499
หลังจากการเปลียนแปลงการกครอง มีการปรับปรุงระเบียบข้าราชการพลเรือนเป็นระยะ ๆ โดยกฎหมายการปรับปรุงระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับหลักที่ได้ตราขึ้นจนถึงปัจจุบัน มีดังนี้
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2471
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2476
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2479
พระราชบัญญัติระเบียบข้า ราชการพลเรือน พ.ศ. 2497
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535
โครงสร้างการบริหารบุคคลในราชการพลเรือน 2535
ประเภทตำแหน่งของราชการพลเรือนสามัญ
1. ตำแหน่งประเภททั่วไป
2. ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ
3. ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง หรือบริหารระดับกลาง
ระดับตำแหน่ง แบ่งเป็น 11 ระดับ ตั้งแต่ระดับ 1 – 11 เรียงไปตามลำดับ ตามความยากและคุณภาพของงาน
ประมวลจริยธรรมของข้าราชการพลเรือน
หลักการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐแนวใหม่
แนวคิดเดิม เป็น มาตรฐานเดียว เน้นกฎระเบียบ เน้นขั้นตอนการดำเนินงาน
แนวคิดใหม่ เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล มอบอำนาจให้ผู้บริหาร คำนึงถึงความจำเป็นและความเหมาะสมของแต่ละส่วนราชการ ความยืดหยุ่น คล่องตัว ยึดหลักคุณธรรม มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน คำนึงถึงประโยชน์ของราชการเป็นสำคัญ
หลักการพื้นฐาน หลักคุณธรรม (Merit) หลักสมรรถนะ ( Competency) หลักสมรรถนะ ( Competency) หลักสมรรถนะ ( Competency)
เป้าหมาย
วิวัฒนาการการปฏิรูประบบข้าราชการตาม พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ร.บ. 2471
พ.ร.บ. 2548
พ.ร.บ. 2551
แนวทางการเพิ่มพูนประสิทธิภาพของข้าราชการ
เพื่อให้การปฏิบัติราชการของข้าราชการมีประสิทธิภาพเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจภาครัฐ จึงต้องมีการเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจในการทำงาน
ตามกฎหมายใหม่ มี 2 ทาง คือ
1. เพิ่มพูนประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ โดยให้ข้าราชการมี – คุณภาพ – คุณธรรม – จริยธรรม
2. เสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการโดยให้เป็นหน้าที่ของข้าราชการ – คุณภาพชีวิตสำนักงาน ก.พ.และส่วน – ขวัญกำลังใจ
การเพิ่มพูนประสิทธิภาพข้าราชการ
1. เพิ่มพูนประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ โดยให้ข้าราชการมี
2. เสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการ โดยให้ข้าราชการมี
ขวัญ : เป็นความรู้สึกในจิตใจซึ่งทำให้เกิดผลต่อพลังในการทำงาน ทำให้ทุ่มเทในการทำงาน
กำลังใจ : เป็นพลังผลักดันให้สู้ ถ้ากำลังใจดีก็จะทำาใหม้มีพลังในการทำางาน
ผลที่ได้จากการฝึกอบรม