โครงการอบรมทางไกลผ่านระบบดาวเทียม
เรื่อง พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
วันที่อบรม วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ 2554 (เวลา 13.30 – 16.30 น.)
วิทยากร นายชั่งทอง โอภาสศิริวิทย์ เลขาธิการสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สรุปเนื้อหาการบรรยาย
การมีกฎหมายก็เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินการต่างๆของรัฐอย่างกว้างขวาง เพื่อให้สามารถแสดงความคิดเห็นและใช้สิทธิทางการเมืองได้โดยถูกต้องตรงตามความเป็นจริง ส่งเสริมให้รัฐบาล เป็นไปโดยประชาชนมากยิ่งขึ้น เพื่อคุ้มครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารของราชการ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 56 บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับทราบและเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยราชการ หน่วยยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นเว้นแต่การเปิดเผยข้อมูลหรือข่าวสารนั้นจะกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประชาชน หรือส่วนได้เสียอันพึงได้รับความคุ้มครองของบุคคลอื่นหรือเป็นข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
มาตรา 57 บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับข้อมูล คำชี้แจง และเหตุผลจากหน่วยราชการ หน่วยงาน ของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือราชการส่วนท้องถิ่น ก่อนการอนุญาตหรือการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมใดที่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้ส่วนเสียสำคัญอื่นใดที่เกี่ยวกับตนหรือชุมชนท้องถิ่น และมีสิทธิแสดงความคิดเห็นของตนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปประกอบการพิจารณาในเรื่องดังกล่าว ฯลฯ
มาตรา 61 สิทธิของบุคคลซึ่งเป็นผู้บริโภคย่อมได้รับความคุ้มครองในการได้รับข้อมูลที่เป็นความจริง ฯลฯ
มาตรา 62 บุคคลย่อมมีสิทธิติดตามและร้องขอให้มีการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หน่วยงานของรัฐ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ บุคคลซึ่งให้ข้อมูลโดยสุจริตแก่องค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐหรือหน่วยงานของรัฐเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐย่อมมได้รับความคุ้มครอง
มาตรา 87 รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน ดังต่อไปนี้
(1) ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น
(2) ส่งเสริมและสนับสนุนการมีสว่นร่วมของประชาชนในการตัดสินใจทางการเมืองการวางแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจ และสังคม รวมทั้งการจัดทำบริการสาธารณะ
(3) ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทุกระดับ ฯลฯ
มาตรา 282 วรรคสอง ให้มีการกำหนดมาตรฐานกลางเพื่อเป็นแนวทางให้อปท.เลือกไปปฏิบัติได้เอง โดยคำนึงถึงความเหมาะสมและความแตกต่างในระดับของการพัฒนาและประสิทธิภาพในการบริหาร ของ อปท. ในแต่ละรูปแบบ รวมทั้งจัดให้มีกลไกการตรวจสอบการดำเนินงานโดยประชาชนเป็นหลัก
ข้อมูลข่าวสารของราชการ ข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมดูแลของหน่วยงานของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินงานของรัฐหรือข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเอกชน
หน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ “หน่วยงานของรัฐ” ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ ส่วนราชการสังกัดรัฐสภา ศาล เฉพาะในส่วนที่ไม่เกี่ยวกับการพิจารณาพิพากษาคดี องค์กรควบคุมการประกอบวิชาชีพ หน่วยงานอิสระของรัฐ และหน่วยงานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง “เจ้าหน้าที่ ” ผู้ซึ่งปฏิบัติงานให้แก่หน่วยงานของรัฐ
สิทธิของประชาชน (ตามกฎหมายข้อมูลข่าวสารของราชการ)
1. สิทธิในการเข้าตรวจดูข้อมูลข่าวสาร
2. สิทธิที่จะยื่นคำขอข้อมูลข่าวสาร
3. สิทธิขอตรวจดูข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน
4. สิทธิที่จะได้รับความรู้ความคุ้มครองมิให้มีการนำข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลไปใช้อย่างไม่เหมาะสม
5. สิทธิในการร้องเรียนหน่วยงานของรัฐ
6. สิทธิในการอุทธรณค์คำสั่งต่างๆ ของหนว่วยงานของรัฐ
ข้อมูลข่าวสารทางราชการ
1. การพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา (มาตรา 7) เพื่อเผยแพร่
1.1 โครงสร้างและการจัดองค์กร
1.2 สรุปอำนาจหน้าที่ที่สำคัญ และวิธีการดำเนินงาน
1.3 สถานที่ติดต่อขอรับข้อมมูลข่าวสาร
1.4 กฎ มติ ค.ร.ม. ข้อบังคับ คำสั่ง
1.5 ข้อมูลข่าวสารอื่นที่กรรมการกำหนด
2. การจัดไว้ให้ประชาชนตรวจดู (มาตรา 9)
2.1 ผลการพิจารณาที่มีผลต่อเอกชนโดยตรง
2.2 นโยบายและการตีความ
2.3 แผนงาน โครงการและงบประมาณ
2.4 คู่มือหรือ คำาสั่งเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติงาน
2.5 สิ่งพิมพท์ที่มีการอ้างงอิงถึงในราชกิจจานุเบกษา
2.6 สัญญาสำคัญของรัฐ
– สัญญาสัมปทาน สัญญาผูกขาดตัดตอน
– สัญญาร่วมทุนกับเอกชนจัดทำบริการสาธารณะ
2.7 มติ ค.ร.ม., คณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยกฎหมายและคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี
2.8 ข้อมูลข่าวสารที่ประกาศเพิ่มเติม เช่น ประกาศสอบราคา ประกวดราคา และผลการพิจารณาจัดซื้อจัดจ้าง
3. การจัดหาให้เอกชนเป็นการเฉพาะราย (มาตรา 11)
3.1 มีการยื่นคำขอระบุข้อมูลข่าวสารที่ต้องการในลักษณะที่อาจเข้าใจได้ตามควร
3.2 ต้องไม่ขอจำนวนมาก หรือบ่อยครั้งโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
กรณีข้อมูลข่าวสารไม่อยู่ในครอบครอง ของหน่วยงานของรัฐและเห็นว่าเป็นของหน่วยงานของรัฐแห่งอื่นให้แนะนำไปยื่นคำขอที่หน่วยงานของรัฐที่ควบคุมดูแล (มาตรา 12)
กรณีข้อมูลข่าวสารอยู่ในครอบครองแต่ข้อมูลข่าวสารจัดทำโดยหน่วยงานของรัฐแห่งอื่นและเป็นข้อมูลข่าวสารที่มีการกำหนดชั้นความลับให้ส่งคำขอให้หน่วยงานนั้นเป็นผู้พิจารณา (มาตรา 12 วรรคสอง)
ข้อมูลข่าวสารที่ไม่ต้องเปิดเผย คือ ข้อมูลข่าวสารที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ (มาตรา 14)
มาตรา 15 ข้อมูลข่าวสารที่อาจมีคำสั่งมิให้เปิดเผยใช้ดุลพินิจโดยคำนึงถึงเรื่องต่อไปนี้ประกอบกัน
1) การปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ
2) ประโยชนสาธารณะ
3) ประโยชน์ของเอกชนที่เกี่ยวข้อง
ข้อมูลข่าวสารที่อาจมีคำสั่งมิให้เปิดเผย ต้องมีข้อยกเว้นต่อไปนี้ (มาตรา 15)
1. กระทบความมั่นคงของประเทศ ระหว่างประเทศ และเศรษฐกิจการคลังของประเทศ
2. ทำให้การบังคับใช้กฎหมาย เสื่อมประสิทธิภาพ
3. เป็นความเห็นหรือคำาแนะนำภายในหน่วยงาน
4. เป็นอันตรายต่อชีวิต หรือความปลอดภัยบุคคล
5. รายงานทางการแพทย์หรือข้อมูลส่วนบุคคลที่การเปิดเผยอาจเป็นการรุกล้ำสิทธิส่วนบุคคลเกินสมควร
6. กฎหมายหรือผู้ให้ข้อมูลกำหนดมิให้เปิดเผยผู้ให้ข้อมูล
มาตรา 7 การเปิเผยข้อมูลข่าวสารใด อาจกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของผู้ใด ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐแจ้งให้ผู้นั้นเสนอคำคัดค้านภายในเวลาที่กำหนด (ไม่น้อยกว่า 15 วัน)
ข้อมูลข่าวสารลับ หมายความว่า : ข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 14 หรือ 15 ที่มีคำสั่งไม่ให้เปิดเผย และมีการกำหนดให้มีชั้นความลับเป็นชั้น ลับ ลับมาก หรือ ลับที่สุดโดยคำนึงถึงการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐและประโยชน์แห่งรัฐประกอบกัน
ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล” (ม.4 วรรคที่ห้า) ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับของบุคคล สิ่งเฉพาะตัว เช่น การศึกษา ฐานะการเงิน ประวัติสุขภาพ ประวัติ อาชญากรรม หรือประวัติการทำางาน บรรดาที่มีชื่อของผู้นั้น หรือมีเลขหมาย รหัส หรือสิ่งที่ทำให้รู้ตัวผู้นั้นได้ เช่น ลายพิมพ์นิ้วมือ แผ่นบันทึกที่บอกลักษณะเสียงของคน หรือรูปถ่าย และให้หมายความ รวมถึงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งเฉพาะตัวของผู้ที่ถึงแก่กรรมแล้วด้วย
มาตรการคุ้มครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
1. จัดเก็บข้อมูลเท่าที่จำเป็น เพื่อการดำเนินงานของหน่วยงานให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์เท่านั้นนั้น ต้องยกเลิก เมื่อหมดความจำเป็น ตรวจสอบข้อมูลใหถูกต้องอยู่เสมอ และจัดระบบ รปภ. (ม.23)
2. พยายามเก็บข้อมูลโดยตรงจากเจ้าของข้อมูล (ม.23)
3. จะเปิดเผยข้อมูลโดยปราศจากความยินยอมไม่ได้เว้นแต่เข้าข้อยกเว้นตามกฎหมาย (ม.24)
4. ยอมให้เจ้าของข้อมูลขอดูข้อมูลเกี่ยวกับตนได้ (ม. 25)
5. แก้ไขข้อมูลให้ตรงความจริงตามที่เจ้าของแจ้ง (ม. 25)
6. เปิดเผยการจัดระบบฯ โดยจัดให้มีการพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา ใน 6 ประเด็น [ ม. 23 (3) ]
ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่ต้องพิมพ์ในราชกิจจาฯ [ ม. 23 (3) ]
(ก) ประเภทของบุคคลที่มีการเก็บข้อมูลไว้
(ข) ประเภทของระบบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
(ค) ลักษณะการใช้ข้อมูลตามปกติ
(ง) วิธีการขอตรวจดูข้อมูลข่าวสารของเจ้าของข้อมูล
(จ) วิธีการขอให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูล
(ฉ) แหล่งที่มาของข้อมูล
การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลโดยปราศจากความยินยอมของเจ้าของข้อมูลจะเปิดเผยได้เฉพาะกรณีเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 24 เป็นกรณีเปิดเผยดังนี้
1. ต่อเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานนำไปใช้ตามอำนาจหน้าที่
2. การใช้ข้อมูลตามปกติตามวัตถุประสงค์
3. ต่อหน่วยงานที่ทำงานในแผน / การสถิติ
4. การใช้เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัย
5. ต่อหอจดหมายเหตุฯ เพื่อการตรวจดูคุณค่า ม. 26 วรรคหนึ่ง
6. ต่อเจ้าหน้าที่เพื่อป้องกันการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย
7. กรณีจำเป็นเพื่อป้องกัน / ระงับอันตรายต่อ ชีวิต / สุขภาพ
8. ต่อศาล และเจ้าหน้าที่หน่วยงาน / บุคคลที่มีอำานาจตาม กม.
9. กรณีอื่นตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา
เอกสารประวัติศาสตร์
เอกสารที่ต้องส่งให้หอจดหมายเหตุแห่งชาติ เมื่อหน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์จะเก็บรักษา เมื่อมีอายุครบกำหนด ข้อมูลข่าวสารตาม ม. 14 ได้ 75 ปี ข้อมูลข่าวสารตาม ม. 15 ได้ 20 ปี
กรณีขอขยายเวลา
หน่วยงานขอเก็บรักษาไว้เอง เพื่อใช้สอยต้องจัดให้ประชาชนศึกษาได้ หน่วยงานเห็นว่ายังไม่ควรเปิดต้องขยายขยายเวลา เก็บได้คราวละไม่เกิน 5 ปี
ความรับผิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
การปฏิบัติตามกฎหมายข้อมูลข่าวสารโดยสุจริต ได้รับความคุ้มครองไม่ต้องรับผิด (มาตรา 20) เมื่อ ดำเนินการโดยถูกต้องตามระเบียบตามมาตรา 16 เป็นเจ้าหน้าที่ตามกฎกระทรวง และได้เปิดเผยเพื่อประโยชน์อันสำคัญยิ่งกว่า และกระทำโดยสมควรแก่เหตุ
การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ
ประเด็นพิจารณา
1) วิธีการเปิด – เปิดอย่างไร (ขอดูขอสำาเนา ให้รับรองสำาเนา)
2) เนื้อหาที่เปิด – เปิดแค่ไหน (ทั้งหมด – บางส่วน)
3) เวลาที่เปิด – เปิดเมื่อใด (กรณีความสำคัญของข้อมูลขึ้นกับเงื่อนเวลา)
กลไกในการปฏิบัติงานของภาครัฐ
คณะกรรมการ ข้อมูข่าวสารของราชการ องค์ประกอบ อำนาจ หน้าที่ คณะกรรมการวินิจฉัย การเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร องค์ประกอบ อำนาจ หน้าที่
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
– การไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น
– มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์
– ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ
– มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ
การบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
หมายถึง การปฏิบัติราชการที่มีเป้าหมาย เพื่อให้เกิดความผาสุก และความเป็นอยูที่ดีของประชาชน ความสงบและความปลอดภัยของสังคมสว่ นรวม ตลอดจนประโยชน์สุขของประเทศ โดยถือประชาชนเป็นศูนย์กลางที่จะได้รับการบริการจากรัฐ ซึ่งจะต้องมีแนวทางการบริหารราชการ ดังนี้
– ภารกิจสอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ และนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อสภา
– ปฏิบัติโดยซื่อสัตย์ สุจริต ตรวจสอบได้ มุ่งผลประโยชน์สุขประชาชนทั้งในระดับประเทศและท้องถิ่น
– มีการศึกษาวิเคราะห์ผลดี และผลเสียครบถ้วนก่อนเริ่มดำาเนินการ
– ภารกิจที่จะมีผลกระทบต่อประชาชนต้องรับฟังความคิดเห็น
– ต้องคอยรับฟังความคิดเห็นและความพึงพอใจของสังคมเพื่อปรับปรุงงาน
– มีปัญหาอุปสรรคต้องแก้ไขโดยเร็ว
– กรณีเป็นปัญหาจากส่วนราชการอื่นหรือระเบียบที่ออกโดยหน่วยอื่น ต้องแจ้งหน่วยงานนั้นให้แก้ไขโดยเร็ว
– และแจ้ง ก.พ.ร. ทราบ
การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์
1. ต้องจัดทำแผนปฏิบัติการไว้ล่วงหน้า ก่อนที่จะทำภารกิจใด แผนปฏิบัติการต้อมมีรายละเอียด ดังนี้ – ขั้นตอน ระยะเวลา และงบประมาณ – เป้าหมายของภารกิจ – ผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ – ตัวชี้วัดความสำเร็จของภารกิจ – ต้องมีภารกิจติดตามประเมินผลการปฏิบัติตามแผน – ถ้างานมีผลกระทบต่อประชาชนต้องแก้ไขหรือบรรเทาผลนั้น หรือเปลี่ยนแผน
2. งานที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยงานต้องกำหนดแนวทางปฏิบัติราชการเพื่อให้เกิดการบริหารแบบบูรณาการร่วมกัน
3. ต้องพัฒนาความรู้ความสามารถขององค์กรให้มีลักษณะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ มีระบบประมวลผลความรู้ด้านต่างๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์
4. ส่วนราชการต้องจัดทำแผนปฏิบัติราชการสี่ปี และแผนปฏิบัติราชการประจำปีให้สอดคล้องกับแผนบริหารราชการแผ่นดิน (ซึ่งต้องสอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ตามรัฐธรรมนูญ)
5. ส่วนราชการต้องจัดทำรายงานแสดงผลสัมฤทธิ์ของแผนฯ เสนอต่อ ครม.ทุกสิ้นปีงบประมาณ
6. ต้องกำหนดเป้าหมาย แผนการทำงาน ระยะเวลาแล้วเสร็จและต้องเผยแพร่ให้ข้าราชการและประชาชนทราบทั่วกัน
7. ให้ส่วนราชการจัดทำบัญชีต้นทุนในงานบริการสาธารณะแต่ละประเภท หน่วยงานใดจ่ายสูงกว่าเทียบเคียงกับเรื่องเดียวกันต้องปรับลดลง
8. การปฏิบัติภารกิจใด หากต้องได้รับอนุญาต อนุมัติ หรือเห็นชอบจากส่วนราชการอื่น ส่วนราชการที่มีอำานาจต้องแจ้งผลให้หน่วยงานที่แจ้งภายในสิบห้าวัน หากมีระเบียบหรือกฎหมายให้สามารถดำเนินการเกินสิบห้าวันต้องประกาศแจ้งให้หน่วยงานอื่นทราบด้วย
9. กรณีไม่ได้ดำเนินการให้แล้วเสร็จในเวลา หากเกิดความเสียหายให้ถือว่าข้าราชการที่เกี่ยวข้องและหัวหน้าในส่วนราชการนั้นประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
10. สศช./ สงป.ประเมินความคุ้มค่า : ประโยชน์ หรือผลเสียทางสังคม และประโยชนห์หรือผลเสียอื่นในการปฏิบัติภารกิจของรัฐ เพื่อรายงานคณะรัฐมนตรี
11. การจัดซื้อหรือจัดจ้าง : โดยเปิดิ เผยและเที่ยงธรรม คำนึงถึงประโยชน์ และผลเสียทางสังคม คุณภาพและวัตถุประสงค์การใช้
12. การพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาใด ส่วนราชการต้องพิจารณาวินิจฉัยโดยเร็ว และในกรณีที่พิจารณาโดยอาศัยมติคณะกรรมการ
13. ให้มติของกรรมการผูกพันส่วนราชการที่มีผู้แทนในกรรมการ แม้ว่าการพิจารณาเรื่องนั้น ผู้แทนส่วนราชการนั้น จะมิได้เข้าร่วมประชุม
14. การสั่งราชการโดยปกติให้กระทำแป็นลายลักษณ์อักษร เว้นแต่กรณีจำเป็นจะสั่งด้วยวาจาก็ได้ แต่ผู้รับคำสั่งนั้น ต้องบันทึกคำสั่งด้วยวาจาไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และเมื่อได้ปฏิบัติแล้ว ให้รายงานให้ผู้สั่งทราบ เป็นหนังสือโดยอ้างอิงคำสั่งด้วยวาจาไว้ด้วย
การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน
ให้มีการกระจายอำนาจการตัดสินใจ (การสั่ง การอนุญาตการอนุมัติและการปฏิบัติ) เพื่อให้เกิด ความสะดวกและรวดเร็วในการบริการประชาชน
– จัดทำขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการประชาชนเปิดเผยไว้ให้ประชาชนตรวจดู
– ให้มีศูนย์บริการร่วมระดับกรม/กระทรวง และอำเภอ/จังหวัด เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการที่จะต้องปฏิบัติตามกฏหมาย
– การปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการมีการทบทวนภารกิจของตนว่าภารกิจใด มีความจำเป็นหรือสมควรจะได้ดำเนินการต่อไปหรือไม่
– มีการตรวจสอบ ทบทวนกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับและประกาศให้ทันสมัยเหมาะสม โดยคำนึงถึงความสะดวกรวดเร็ว และลดภาระของประชาชนเป็นสำคัญ
การอำนวยความสะดวกและการตอบสนองความต้องการของประชาชน
– การปฏิบัติราชการที่เกี่ยวข้องกับบริการประชาชนต้องกำหนดเวลาแล้วเสร็จ และประกาศให้ประชาชนและข้าราชการทราบ
– การติดต่อสอบถามจากประชาชนหรือจากส่วนราชการต้องตอบหรือแจ้งผลการดำเนินการภายในสิบห้าวัน
– ต้องจัดระบบเครือข่ายสารสนเทศเพื่ออำนวยความสะดวกกับประชาชนในการติดต่อสอบถามหรือขอข้อมูล
– กรณีที่มีคำร้องเรียน เสนอแนะ หรือความคิดเห็นต่อการปฏิบัติราชการ ส่วนราชการต้องดำเนินการแจ้งให้บุคลนั้นทราบผลด้วย
– หน่วยงานที่มีอำนาจออก กฎ ระเบียบ เพื่อบังคับกับส่วนราชการอื่น มีหน้าที่ตรวจสอบตามสมควร ปรับปรุงกฎ ระเบียบดังกล่าวให้เหมาะสม และในกรณีที่ได้รับการร้องเรียนหรือเสนอแนะจากข้าราชการหรือส่วนราชการอื่นในเรื่องใด ต้องพิจารณาโดยทันที
– ต้องจัดให้มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับงบประมาณรายจ่ายประจำปี รายการเกี่ยวกับการจัดซื้อ จัดจ้าง และสัญญาใด ๆ ที่ไว้อนุมัติให้จัดซื้อจัดจ้างแล้ว ให้ประชาชนสามารถขอดูหรือตรวจสอบได้
ผลที่ได้รับจากการอบรม