โครงการอบรมทางไกลผ่านระบบดาวเทียม
เรื่อง การบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในภาคราชการ
วันที่อบรม วันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ 2554 (เวลา 09.00–12.00 น.)
วิทยากร คุณนพรัตน์ พรหมนารท ผู้อำนวยการกลุ่มงานกำกับและพัฒนาการตรวจสอบ 1 สำนักกำกับและพัฒนาการตรวจสอบภาครัฐ กรมบัญชีกลาง
สรุปเนื้อหาการบรรยาย
การบริหารราชการจะบรรลุเป้าหมายตามนโยบายรัฐบาล ประต้องประกอบด้วย แผนบริหารราชการแผ่นดิน แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี แผนปฏิบัติราชการประจำปี และแผนของหน่วยงาน
ความเสี่ยง (Risk)
ความเสี่ยง คือ เหตุการณ์ หรือการกระทำใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นภายใต้สถานการณ์ที่ไม่แน่นอนและจะส่งผลกระทบหรือสร้างความเสียหายเป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน หรือลดโอกาสที่จะบรรลุเป้าหมาย ความเสี่ยงจะถูกวัดด้วยผลกระทบและโอกาสความน่าจะเป็นของเหตุการณ์
การบริหารความเสี่ยงองค์กร (ERM : Enterprise Risk Management)
กระบวนการที่ได้รับอิทธิพลจากคณะกรรมการ ผู้บริหารและบุคลากรขององค์กร เพื่อช่วยในการกำหนดกลยุทธ์ทั่วทั้งองค์กร ซึ่งได้รับการออกแบบไว้ให้สามารถบ่งชี้เหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อองค์กร และเพื่อจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับความเสี่ยงที่องค์กรยอมรับได้รวมทั้งเพื่อให้ได้รับความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผลในการบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร
วัตถุประสงค์
– ด้านยุทธศาสตร์ – วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ ในภาพรวม (Strategic)
– ด้านการปฏิบัติงาน – ประสิทธิผลและประสิทธิภาพ (Operations)
– ด้านการรายงานการเงิน – ความเชื่อถือได้ทั้งภายในและภายนอก (Reporting)
– ด้านการปฏิบัติตามข้อกำหนด – กฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ (Compliance)
องค์ประกอบของการบริหารความเสี่ยง
1. สภาพแวดล้อมภายใน (Objective Setting) สภาพแวดล้อมขององค์กรที่มีอิทธิพลต่อ ความตระหนักในเรื่องความเสี่ยงของคนภายในองค์กร และเป็นพื้นฐานขององค์ประกอบอื่นทั้งหมดของการบริหารความเสี่ยงขององค์กร ซึ่งจะก่อให้เกิดระเบียบ วินัย และโครงสร้างขององคก์ร สภาวะการณ์หรือปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลให้เกิดการบริหารความเสี่ยงในองค์กร มีดังนี้ ปรัชญาการบริหารความเสี่ยง ระดับการยอมรับ ความเสี่ยง นโยบายกระบวนการด้านทรัพยากรบุคคล การมอบหมายอำนาจหน้าที่ โครงสร้างองค์กร ปรัชญาการบริหารและรูปแบบการดำเนินงาน คุณค่าของคุณธรรม / จริยธรรม วัฒนธรรมความเสี่ยง ระดับการยอมรับความเสี่ยง
2. การกำหนดวัตถุประสงค์ (Objective Setting) การกำหนดสิ่งที่ต้องการทำให้สำเร็จหรือผลลัพธ์ของการดำเนินการ ซึ่งการกำหนดวัตถุประสงค์มีหลายระดับ กำหนดเพื่อให้มั่นใจว่าวัตถุประสงค์ที่กำหนดสอดคล้องกับยุทธศาสตร์และความเสี่ยง
3. การบ่งชี้เหตุการณ์ (Event Identification) ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานร่วมกันระบุถึงเหตุการณ์ ที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับองค์กรและกิจกรรม การดำเนินงานขององค์กร ซึ่งมีผลกระทบต่อการบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด การระบุเหตุ /ปัจจัยที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงที่จะไม่บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดภายใต้สภาพแวดล้อมภายใน
4. การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) เป็นการประเมินนัยสำคัญหรือผลกระทบของ ความเสี่ยง (Impact) และความถี่ที่จะเกิดหรือโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง (Likelihood) ต่อการบรรลุวัตถุประสงค์
5. การตอบสนองความเสี่ยง (Control Activities) กำหนดวิธีการจัดการความเสี่ยงที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ ซึ่งควรคำนึงถึงความเสี่ยงที่ยอมรับได้และต้นทุนที่เกิดขึ้นเปรียบเทียบกับผลประโยชน์ที่จะได้รับ เพื่อลดโอกาสและผลกระทบของเหตุการณ์ให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ การยอมรับความเสี่ยง (Risk Acceptance) ความเสี่ยงที่หน่วยงานสามารถยอมรับได้ภายใต้การควบคุมที่มีอยู่ในปัจจุบัน
6. การลดหรือการควบคุมความเสี่ยง (Risk Reduction) การดำเนินการเพิ่มเติมเพื่อลดโอกาสที่อาจเกิดขึ้นหรือผลกระทบของความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้การกระจาย/โอนความเสี่ยง (Risk Sharing) การร่วมหรือแบ่งความรับผิดชอบกับผู้อื่นในการจัดการความเสี่ยง การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง (Risk Avoidance) ความเสี่ยงอยู่ในระดับสูงมากและหน่วยงานไม่อาจยอมรับได้จึงต้องจัดการความเสี่ยงนั้นให้อยู่นอกเงื่อนไขของการดำเนินงาน
7. กิจกรรมการควบคุม (Control Activities) นโยบาย มาตรการ และวิธีการต่างๆ ที่ฝ่ายบริหารกำหนดหรือนำมาใช้ เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น และช่วยเพิ่มความมั่นใจในความสำเร็จตามวัตถุประสงค์
8. สารสนเทศและการสื่อสาร (Information & Communication) สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลข่าวสารที่ใช้ในการบริหารซึ่งเป็นข้อมูลเกี่ยวกับการเงินและไม่ใช่การเงิน รวมทั้งข้อมูลข่าวสารอื่นๆ ทั้งจากแหล่งภายในและภายนอก ส่วนการสื่อสาร หมายถึง การรับและส่งข้อมูลระหว่างกันเพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างบุคคล ซึ่งมีหน้าที่ความรับผิดชอบในงานที่สัมพันธ์กัน การสื่อสารเกิดได้ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน
9. การติดตามและประเมินผล (Monitoring) การติดตามผล หมายถึง การสอดส่องดูแลกิจกรรมที่อยู่ระหว่างการดำเนินงาน เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าการดำเนินงานเป็นไปตามแผนการบริหารความเสี่ยงที่กำหนด การประเมินผล หมายถึง การเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานกับแผนการบริหารความเสี่ยงที่กำหนดไว้ว่ามีความสอดคล้องหรือไม่เพียงใด และประเมินว่ายังเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในปัจจุบันหรือไม่
การบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในภาคราชการ
• คตง. คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
กำหนดให้มีการจัดวางและประเมินคตง. การควบคมภายใน หน่วยรับคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินตรวจ ซึ่งหมายถึง ส่วนราชการทั้งส่วนกลางส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ
การจัดวางระบบการควบคุมภายใน
ตามระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ. 2544 ข้อ 5 กำหนดให้หน่วยรับตรวจเป็นผู้จ้ดวางระบบการควบคุมภายใน โดยอย่างน้อยต้องแสดงข้อมูลดังนี้
(1) สรุปภารกิจและวัตถุประสงค์การดำเนินงานระดับหน่วยรับตรวจ/กิจกรรม
(2) ข้อมูลสภาพแวดล้อมการควบคุม
(3) ความเสี่ยงที่สำคัญที่มีผลกระทบต่อการบรรลุวัตถุประสงค์
(4) กิจกรรมการควบคุมเพื่อป้องกัน/ลดความเสี่ยง
(5) ผู้รับผิดชอบประเมินระบบการควบคุมภายในและวิธีการติดตามประเมินผล
วิธีการ
– แผนปฏิบัติงาน / โครงการ
– กำหนดวัตถุประสงค์
– ระบุปัจจัยเสี่ยง
– กำหนดกิจกรรมการควบคุมที่มีอยู่ และที่ควรเพิ่มเติม
– รายงานการจัดวางการควบคุมภายใน ส่ง คตง. (หนังสือรับรอง) และปฏิบัติและติดตามประเมินผล
ระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วย การกำาหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ. 2544 ข้อ 6 กำหนดให้ผู้รับตรวจรายงานต่อคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน(คตง.) ผู้กำกับดูแลและคณะกรรมการตรวจสอบเกี่ยวกับการควบคุมภายใน อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งภายใน 90 วันนับจากวันสิ้นปีงบประมาณหรือปปีปฏิทินแล้วแต่กรณี โดยมีรายละเอียด ดังนี้
(1) ทำความเห็นว่าระบบการควบคุมภายในของหน่วยรับตรวจที่ใช้อยู่มีมาตรฐานตามระเบียบฯ
(2) รายงานผลการประเมินความเพียงพอและประสิทธิผลของระบบการควบคุมภายในในการบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนด รวมทั้งข้อมูลสรุปผลการประเมินแต่ละองค์ประกอบของ
(3) จุดอ่อนของระบบการควบคุมภายในพร้อมข้อเสนอแนะและแผนการปรับปรุงระบบการควบคุมภายใน
วิธีการประเมินการควบคุมภายใน
• รายงานการประเมินผลการควบคมภายใน
1. การวางแผน
1.1 กำหนดผู้รับผิดชอบ
1.2 กำหนดขอบเขต/วัตถุประสงค์ ประกอบด้วย เรื่อง ทรัพยากร เทคนิค และระยะเวลา
1.3 จัดทำแผนการประเมินผล
2. การประเมินผล
2.1 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ / มอบหมายงาน
2.2 จัดเตรียมเครื่องมือการประเมินผล
2.3 วิเคราะห์ / ประเมินผล (ลดความเสี่ยง งานบรรลุวัตถุประสงค์ เพียงพอ เหมาะสม)
3. การสรุปผลและรายงาน
3.1 สรุปผลจากข้อมูลการวิเคราะห์
3.2 จัดทำรายงาน
4. เสนอรายงานต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง
• สกอ.สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา
กำหนดให้มีการนำระบบริหารและหน่วยงานอื่นของรัฐมาใช้ในการบริหารความเสี่ยงมาใช้ในกระบวนการบริหารการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา
คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา องค์ประกอบที่ 7 ตัวบ่งชี้ที่ 7.4 เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษามีระบบบริหารความเสี่ยง โดยการบริหารและควบคุมปัจจัย กิจกรรม และกระบวนการดำเนินงานที่อาจเป็นมูลเหตุของความเสียหายเพื่อให้ระดับความเสี่ยงและขนาดของความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอยู่ในระดับที่ยอมรับและควบคุมได้ โดยคำนึงถึงการเรียนรู้วิธีการป้องกันจากการคาดการณ์ปัญหาล่วงหน้าและโอกาสในการเกิด เพื่อป้องกันหรือบรรเทาความรุนแรงของปัญหา รวมทั้งการมีแผนสำรองต่อภาวะฉุกเฉินเพื่อให้มั่นใจว่าระบบงานต่างๆ มีความพร้อมใช้งานมีการปรับปรุงระบบอย่างต่อเนื่องและทันต่อการเปลี่ยนแปลง เพื่อการบรรลุเป้าหมายของสถาบันตามยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์เป็นสำคัญ
• กพร.สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ Public Sector Management Quality Award เพื่อให้ส่วนราชการมีการปรับปรุงการทำงาน ยกระดับการบริหารจัดการโดยนำเทคนิคและเครื่องมือบริหารจัดการสมัยใหม่มาใช้ โดยได้นำเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐมาเป็นเครื่องมือในการดำเนินการซึ่งเกณฑ์ดังกล่าวเป็นการนำหลักเกณฑ์และแนวคิดตามรางวัลคุณภาพแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา Malcolm Baldrige National QualityAward (MBNQA) และรางวัลคุณภาพแห่งชาติของประเทศไทย Thailand Quality Award (TQA) มาปรับใช้ให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบ ราชการไทย และการดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
การควบคุมภายในตามกรอบของ COSO
การควบคุมภายใน หมายความว่า กระบวนการปฏิบัติงานที่ผู้กำกับดูแล ฝ่ายบริหารและบุคลากรของหน่วยรับตรวจจัดให้มีขึ้น เพื่อสร้างความมั่นใจอย่างสมเหตุว่าการดำเนินงานของหน่วยรับตรวจจะบรรลุวัตถุประสงค์ของการควบคุมภายในด้านประสิทธิผลและประสิทธิภาพของการดำเนินงาน ซึ่งรวมถึงการดูแลรักษาทรัพย์สินการป้องกันหรือลดความผิดพลาด ความเสียหาย การรั่วไหล การสิ้นเปลืองหรือการทุจริตในหน่วยรับตรวจ ด้านความเชื่อถือได้ของรายงานการทางการเงิน และด้านการปฏิบัติระเบียบ ข้อบังคับ กฎหมาย และมติคณะรัฐมนตรี
ผลที่ได้จากการอบรม
1. ผู้เข้ารับการอบรมทราบและเข้าใจเกี่ยวกับระบบความเสี่ยง
2. สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปจัดทำความเสี่ยงขององค์
3. สามารถนำไปวิเคราะห์และบริหารจัดการความเสี่ยงได้