เรื่อง การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA)
วันที่อบรม วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม 2554 (เวลา 09.00 – 16.30 น.)
วิทยากร อาจารย์สังวร รัตนรักษ์
สรุปเนื้อหาการบรรยาย
วัตถุประสงค์ของเกณฑ์ PMQA เพื่อยกระดับคุณภาพการปฏิบัติงานของภาครัฐให้สอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 เพื่อให้เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการ บริหารจัดการของหน่วยงานสู่ระดับมาตรฐานสากล เพื่อเป็นกรอบในการประเมินตนเอง และเป็นบรรทัดฐานการติดตามและประเมินผลการบริหารจัดการของหน่วยงานภาครัฐ
ค่านิยมหลักขององค์กรที่เป็นเลิศ
เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ
ลักษณะสำคัญขององค์กร สภาพแวดล้อม ความสัมพันธ์และความท้าทาย (1) การนำองค์กร (2) การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ (3) การให้ความสำคัญกับผู้บริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (4) การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ (5) การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคลากร (6) การจัดการกระบวนการ (7) ผลลัพธ์ ประสิทธิผล คุณภาพ ประสิทธิภาพ พัฒนาองค์กร
ลักษณะสำคัญขององค์กร
ก. ลักษณะพื้นฐานของส่วนราชการ
ข. ความสัมพันธ์ภายในและภายนอกองค์กร
สภาพการแข่งขัน ประเด็นการแข่งขัน
ความท้าทายเชิงยุทธศาสตร์
ระบบการปรับปรุงผลการดำเนินการ
หมวดที่ 1 การนำองค์กร
1.1 การนำองค์กร
1.2 ธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม
ค่านิยม คือ หลักการและพฤติกรรมขององค์กรที่จำเป็นต่อการบรรลุวิสัยทัศน์และเป็นพื้นฐานของวัฒนธรรมที่พึงประสงค์”
หมวดที่ 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์
2.1 การวางยุทธศาสตร์ กำหนดขั้นตอน กรอบเวลา และระบุ ผู้รับผิดชอบ วิเคราะห์ปัจจัยทั้งภายในและภายนอกที่สำคัญอย่างครบถ้วน วางแผนทรัพยากรบุคคลให้สอดคล้อง
2.2 การสื่อสารและถ่ายทอดยุทธศาสตร์เพื่อนำไปฏิบัติ สื่อสารและทำความเข้าใจ ถ่ายทอด (Cascading) ตัวชี้วัดและเป้าหมายระดับองค์การและระดับบุคคล จัดทำรายละเอียดโครงการเพื่อใช้ในการติดตามผลการดำเนินงาน วิเคราะห์และจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงตามมาตรฐาน COSO
ความเสี่ยง คือ เหตุการณ์ใดๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น แล้วมีผลกระทบทำให้การดำเนินงานสะดุด หรือหยุดชะงัก และมีผลทำให้ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายอย่างสมบูรณ์ เป็นเหตุการณ์ที่ไม่สามารถขจัดได้ โดยสิ้นเชิง ทำได้เพียงลดระดับเหตุการณ์ หรือยอมรับว่าเหตุการณ์นั้นๆ ต้องเกิด”
ปัจจัยความเสี่ยง
หมวดที่ 3 การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
3.1 ความรู้เกี่ยวกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กำหนดกลุ่มผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามพันธกิจ รับฟังและเรียนรู้ความต้องการของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างมีประสิทธิภาพ
3.2 การสร้างความสัมพันธ์กับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จัดการข้อร้องเรียน ข้อเสนอแนะสร้างเครือข่ายและจัดกิจกรรมเพื่อสร้างความสัมพันธ์กับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม วัดทั้งความพึงพอใจและความไม่พึงพอใจ ของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กำหนดมาตรฐานการให้บริการ
หมวดที่ 4 การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้
4.1 การวัด การวิเคราะห์และการปรับปรุงผลการดำเนินการ มีระบบฐานข้อมูลที่ช่วยสนับสนุนการดำเนินงานตามแผน ทบทวนฐานข้อมูลเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน ของกระบวนการที่สร้างคุณค่า มีฐานข้อมูลเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของกระบวนการสนับสนุน
4.2 การจัดการสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศและความรู้ มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูล ข่าวสารและรับบริการ มีกระบวนการติดตาม เฝ้าระวังและเตือนภัย
(Warning System) มีระบบบริหารความเสี่ยงของระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศ จัดทำแผนการจัดการความรู้และนำแผนไปปฏิบัติ
ขั้นตอนในการเลือกและกำหนดตัวชี้วัดคุณภาพ
1. กำหนดสิ่งที่จะวัด
2. หาปัจจัยหลักในการกำหนดตัวชี้วัด เช่น ปัจจัยแห่งความสำเร็จ (Key Success Factors) ปัจจัยที่เป็นวิกฤติ (Critical Success Factors) ความต้องการของผู้รับบริการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กระบวนการทำงานที่สำคัญ
3. กำหนดตัวชี้วัดที่เป็นไปได้
4. กลั่นกรอง เพื่อหาตัวชี้วัดหลัก
5. กำหนดผู้รับผิดชอบ
6. จัดทำ คู่มือตัวชี้วัด
หมวดที่ 5 การมุ่งเน้นบุคลากร
5.1 ความผูกพันของบุคลากร
การสร้างบรรยากาศการทำงาน ความผาสุกและความพึงพอใจ กำหนดปัจจัยที่มีผลต่อความผาสุกและความพึงพอใจของบุคลากร ปรับปรุงปัจจัยดังกล่าวให้มีความเหมาะสม เพื่อสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานและให้เกิดความผูกพันต่อองค์การ มีระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรที่มีประสิทธิผล และเป็นธรรม
การพัฒนาบุคลากร ดำเนินการตามแผนกลยุทธ์การบริหาร ทรัพยากรบุคคลที่กำหนดไว้ มีระบบการประกันคุณภาพของการฝึกอบรม รวมถึงการประเมินประสิทธิภาพและความคุ้มค่าของการพัฒนา/ กอบรมบุคลากร มีแผนการสร้างความก้าวหน้าในสายงานให้แก่บุคลากร การพัฒนาบุคลากร
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันของบุคลากร
ผู้บริหารเอาใจใส่ดูแลความผาสุกของบุคลากร ได้รับการพัฒนาทักษะและความสามารถ องค์กรมีความรับผิดชอบต่อสังคม องค์กรให้โอกาสเสนอความเห็นในการตัดสินใจขององค์กร องค์กรแก้ปัญหาของลูกค้าอย่างรวดเร็ว กำหนดมาตรฐานของบุคลากรสูง มีโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงานมาก ได้รับมอบหมายงานที่ท้าทายทำให้มีทักษะเพิ่ม มีความสัมพันธ์ที่ดีกับหัวหน้า องค์กรสนับสนุนให้คิดอย่างสร้างสรรค์
หมวดที่ 6 การจัดการกระบวนการ
6.1 การออกแบบกระบวนการ กำหนดกระบวนการที่สร้างคุณค่าจากยุทธศาสตร์พันธกิจ และความต้องการของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ข้อกำหนดที่สำคัญของกระบวนการที่สร้างคุณค่า ออกแบบกระบวนการจากข้อกำหนดที่สำคัญ มีระบบรองรับภาวะฉุกเฉิน การออกแบบกระบวนการ
6.2 การจัดการและการปรับปรุงกระบวนการ กำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานของกระบวนการ ที่สร้างคุณค่าและกระบวนการสนับสนุน นำมาตรฐานการปฏิบัติงานดังกล่าวให้บุคลากร นำไปปฏิบัติ ปรับปรุงกระบวนการที่สร้างคุณค่าและกระบวนการสนับสนุน
หมวดที่ 7 ผลลัพธ์
7.1 ด้านประสิทธิผล การบรรลุผลสำเร็จตามยุทธศาสตร์
7.2 ด้านคุณภาพการให้บริการ ความพึงพอใจ ไม่พึงพอใจของผู้รับบริการ คุณค่าในมุมมองของผู้รับบริการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
7.3 ด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ ผลของกระบวนการ ผลด้านงบประมาณ การเงิน การปฏิบัติตามกฎหมาย การสนับสนุนชุมชน
7.4 ด้านการพัฒนาองค์กร ผลด้านระบบงาน ผลด้านการเรียนรู้ และพัฒนาบุคลากร ความพึงพอใจของบุคลากร
การประเมินกระบวนการ : ADLI
การตรวจรับรองคุณภาพระดับพื้นฐานเพื่อให้มั่นใจว่า
ประเด็นสำคัญในการตรวจรับรอง
ลักษณะสำคัญขององค์กร ทบทวนลักษณะสำคัญขององค์การ เพื่อเป็นพื้นฐานการประเมินความสอดคล้องเชื่อมโยงแต่ละหมวด
หมวดที่ 1 การนำองค์การ : เน้นบทบาทของผุ้บริหารในการผลักดันองค์การให้บรรลุวิสัยทัศน์ การสื่อสารที่ชัดเจนเพื่อทำให้นำไปปฏิบัติ กำกับดูแลให้ดำเนินการตามหลักธรรมาภิบาล
หมวดที่ 2 การวางแผนยุทธศาสตร์ : เน้นกระบวนการวางแผนยุทธศาสตร์ที่สอดคล้องกับความท้าทายขององค์การ มีการกำหนดตัวชี้วัด การติดตามทบทวนผลการดำเนินการเพื่อให้นำแผนไปสู่การปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ
หมวดที่ 3 การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย : เน้นการกำหนดกลุ่มผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามพันธกิจ ความต้องการของแต่ละกลุ่ม และการจัดลำดับความสำคัญที่สอดคล้องกับพันธกิจ การสร้างความสัมพันธ์และความพึงพอใจต่อคุณภาพการบริการโดยกระบวนการที่มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
หมวดที่ 4 การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้ : เน้นระบบฐานข้อมูลที่ครอบคลุม ถูกต้องทันสมัยเพื่อสนับสนุนแผนยุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติราชการและกระบวนการที่สำคัญ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลและรับบริการได้อย่างสะดวก แสดงให้เห็นว่า ได้นำข้อมูลมาใช้ในการตัดสินใจหรือบริหารจัดการ
หมวดที่ 5 การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล : เน้นการหาปัจจัยความผูกพัน บริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อให้ส่วนราชการบรรลุเป้าประสงค์ทางยุทธศาสตร์ ทำให้บุคลากรมีความผาสุก ความพึงพอใจและความผูกพันกับส่วนราชการ แผนกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคล สอดคล้องกับความท้าทายด้านบุคลากรตามลักษณะสำคัญขององค์การ
หมวดที่ 6 การจัดการกระบวนการ : กำหนดกระบวนการที่สร้างคุณค่าตามพันธกิจและตอบสนองต่อความต้องการของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การออแบบกระบวนการเพื่อให้บรรลุต่อข้อกำหนดของกระบวนการ การปรับปรุงกระบวนการเพี่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
หมวดที่ 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ : เป็นการตรวจสอบผลลัพธ์ของกระบวนการของการดำเนินการตามหมวด 1 – 6 ว่ามีระดับผลการดำเนินการเป็นอย่างไร
ปัจจัยความสำเร็จของการพัฒนาองค์กร
ผลที่ได้จากการอบรม
สรุปแบบประเมินผลการอบรม
จากการหาค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรม จากแบบประเมินผู้เข้าอบรม จำนวน 8 ชุด ผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจอยู่ที่ระดับ 4.23 คิดเป็นร้อยละ 84.60 % ดังตารางต่อไปนี้
หัวข้อการแสดงความคิดเห็น | ระดับคะแนน/จำนวนคน | ความพึงพอใจ | ||||
5 | 4 | 3 | 2 | 1 | เฉลี่ย | |
ทั่วไป | 4.29 | |||||
1. โดยรวมแล้ว การเข้ารับการอบรมคุ้มค่ากับเวลาของท่าน | 3 | 5 | 0 | 0 | 0 | 4.38 |
2. ท่านคิดว่าจะแนะนำผู้อื่นให้เข้ารับการอบรมลักษณะนี้ | 2 | 5 | 1 | 0 | 0 | 4.13 |
3. โดยรวมแล้ว วิทยากรสามารถนำเสนอเนื้อหาวิชาได้อย่างมีประสิทธิภาพ | 3 | 5 | 0 | 0 | 0 | 4.38 |
เนื้อหา | 4.29 | |||||
4. เนื้อหาสอดคล้องกับหัวข้อที่กำหนดไว้ | 3 | 5 | 0 | 0 | 0 | 4.38 |
5. ท่านสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในงานที่ทำอยู่ในปัจจุบัน | 2 | 6 | 0 | 0 | 0 | 4.25 |
6. ท่านสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้กับแผนงานในอนาคต | 2 | 6 | 0 | 0 | 0 | 4.25 |
เอกสารประกอบการอบรม | 4.25 | |||||
7. เอกสารประกอบการอบรม ชัดเจน น่าสนใจ เข้าใจง่าย | 2 | 6 | 0 | 0 | 0 | 4.25 |
วิทยากร | 4.15 | |||||
8. มีความรู้ในเรื่องที่บรรยายเป็นอย่างดี | 3 | 4 | 1 | 0 | 0 | 4.25 |
9. บรรยายได้ครอบคลุมเนื้อหาตามที่ท่านคาดหวังไว้ | 2 | 5 | 1 | 0 | 0 | 4.13 |
10. สามารถอธิบายเนื้อหาได้เป็นขั้นตอน ชัดเจน เข้าใจง่าย | 2 | 5 | 1 | 0 | 0 | 4.13 |
11. มีเทคนิคการสอนที่ดี สามารถดึงดูดความสนใจได้เป็นอย่างดี | 2 | 5 | 1 | 0 | 0 | 4.13 |
12. ยกตัวอย่างประกอบได้ชัดเจน | 2 | 5 | 1 | 0 | 0 | 4.13 |
อื่น ๆ | 4.16 | |||||
13. เสียงที่ท่านรับฟังชัดเจนดี | 3 | 4 | 1 | 0 | 0 | 4.25 |
14. ภาพที่รับชมชัดเจนดี | 3 | 4 | 1 | 0 | 0 | 4.25 |
15. ท่านคิดว่าการฝึกอบรมทางไกลมีประสิทธิภาพ และให้ผลทางการศึกษาสูง | 2 | 4 | 2 | 0 | 0 | 4.00 |
16. หน่วยงานของท่านได้จัดเตรียมอุปกรณ์สื่อสารสำหรับติดต่อกับห้องออกอากาศอย่างเพียงพอ | 2 | 5 | 1 | 0 | 0 | 4.13 |
ระดับคะแนนเฉลี่ย | 4.23 |
หมายเหตุ : (5 = มากที่สุด 4 = มาก 3 = ปานกลาง 2 = น้อย 1 = น้อยที่สุด)
ปัญหาและอุปสรรค
– ไม่มี
ผู้เข้ารับการอบรมมีข้อเสนอแนะ ดังนี้
– อยากให้บุคลากรทุกหน่วยงานเข้าร่วมการอบรม
รายชื่อผู้เข้าร่วมอบรม และคะแนนการทดสอบก่อนอบรมและหลังอบรม | ||||||||
ห้วข้อที่ 5 เรื่อง การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) | ||||||||
วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม 2554 (เวลา 09.00 – 16.30 น.) | ||||||||
ลำดับที่ | หน่วยงานสังกัด/คณะ | ชื่อ – สกุล | คะแนนการทดสอบ(10 คะแนน) | |||||
ก่อนอบรม | หลังอบรม | |||||||
1 | กองนโยบายและแผน | นางสาววราภา จิราภา | 5 | 8 | ||||
2 | กองนโยบายและแผน | นางบุษบา สถิรปัญญา | 6 | 8 | ||||
3 | คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ | นางสมจิตร์ แก้วประพาย | 5 | 4 | ||||
4 | คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ | นางพิศมัย กระแสสัตย์ | 3 | 5 | ||||
5 | สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ | นางอัญชัญ เกตุทับทิม | 5 | 9 | ||||
6 | สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ | นางสุจิตรา ยอดเสน่หา | 4 | 9 | ||||
7 | คณะวิศวกรรมศาสตร์ | นางสาวสิริรัตน์ ทองอินทร์ | – | – | ||||
8 | คณะวิศวกรรมศาสตร์ | นายเทอดเกียรติ ลิมปิทีปกรณ์ | – | – | ||||
9 | คณะศิลปกรรมศาสตร์ | ผศ.ภ้คกรกิจ ถาวรล้ำเลิศ | – | – | ||||
รวมผู้เข้าร่วมอบรม 9 คน | ||||||||
รายชื่อบุคลากรที่ลงทะเบียนแต่ไม่ได้เข้าร่วมอบรม | ||||||||
ลำดับที่ | หน่วยงานสังกัด/คณะ | ชื่อ – สกุล | ||||||
1 | กองบริหารงานบุคคล | นางสมพร สุขแก้ว | ||||||
ผู้ไม่เข้าร่วมอบรม 1 คน | ||||||||