February 7, 2012

ว่าด้วยเรื่องของ “มาตรฐาน”

” มาตรฐาน” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ได้ให้ความหมายไว้ว่า สิ่งที่ถือเอาเป็นเกณฑ์ที่รับรองกันทั่วไป เช่น เวลามาตรฐานกรีนิช, สิ่งที่ถือเอาเป็นเกณฑ์สำหรับเทียบกำหนดทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ เช่น มาตรฐานอุตสาหกรรม หนังสือนี้ยังไม่เข้ามาตรฐาน                 ในระบบราชการ มีระเบียบ วินัย จรรยาบรรณ และมีกติกา อะไรต่อมิอะไรอีกมากมาย ให้ทำตามมาตรฐาน แต่ในทางปฏิบัติเรากลับพบว่า หากมีความพอใจและความไม่พอใจเข้ามาเกี่ยวข้องแล้ว สิ่งเหล่านั้นถูกนำไปใช้อย่างบิดเบือนตามแต่วัตถุประสงค์และอำนาจที่มีอยู่ในมือ มันจึงเกิดคำว่า “สองมาตรฐาน” และสิ่งนี้นั่นเอง […]
February 7, 2012

เมทาดาตา (Metadata)

เมทาดาตา หรือ เมทาเดตา (metadata) หมายถึง ข้อมูลที่ใช้กำกับและอภิบายข้อมูลหลักหรือกลุ่มของข้อมูลอื่น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ บัตรในห้องสมุดสำหรับสืบค้นหนังสือ โดยเก็บข้อมูลเกี่ยวกับชื่อหนังสือและตำแหน่งของหนังสือที่ต้องการหา ซึ่งหนังสือเป็นข้อมูลที่ต้องการ และบัตรเป็นข้อมูลที่อธิบายรายละเอียดของข้อมูลนั้น กล่าวโดยสรุป เมทาดาตาหรือเมทาเดตาก็คือ ข้อมูลที่อธิบายรายละเอียดของข้อมูลหรือสารสนเทศนั่นเอง มาตรฐานเมทาดาตาที่ประเทศไทยได้มีการประกาศใช้ได้แก่ สารสนเทศภูมิศาสตร์-การอธิบายข้อมูล ซึ่งเป็นแบบแผนของการอธิบายที่จะช่วยให้ผู้ใช้ทราบถึงสถานะภาพ คุณภาพ แหล่งข้อมูล รายละเอียดคุณลักษณะข้อมูลเชิงพื้นที่ รวมถึงนโยบายเผยแพร่ข้อมูล อันเป็นส่วนสำคัญในการแลกเปลี่ยน หรือการใช้ข้อมูลร่วมกัน การลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล เพิ่มความน่าเชื่อถือของข้อมูล ดูเพิ่มเติมที่นี่
February 7, 2012

การนำเสนอผลงานวิจัยด้วยโปรแกรม Adobe Presenter

มาทำความรู้จักโปรแกรม Adobe Presenter กัน โปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมที่ต้องทำงานร่วมกับโปรแกรม Microsoft PowerPoint มีความสามารถในการสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในลักษณะของมัลติมีเดียสามารถสร้างข้อสอบและแบบสอบถามได้ แต่ในการประมวลผลนั้นต้องใช้ร่วมกับระบบบริหารจัดการด้านการเรียนการสอน หรือ Learning Management System (LMS) ซึ่งของ Adobe ก็จะใช้ร่วมกับ Adobe Connect แต่อย่างพวกเราที่ใช้ Freeware เช่น Moodle นั้น เราก็จะใช้ […]
February 7, 2012

ความสำคัญในการเตรียมข้อมูล

ความสำคัญในการเตรียมข้อมูล การที่จะทำสิ่งใดๆ ก็ตามจะต้องมีการเตรียมข้อมูลต่างๆ ไว้ เพื่อจะได้มีเนื้อหาไปแลกเปลี่ยนกัน ดังนั้นก่อนที่เราจะเริ่มทำข้อตกลงกันในเรื่องใดๆ สิ่งที่สำคัญที่จะต้องเตรียมการก็คือ ประเด็นที่จะพูดคุย ข้อยุติที่ต้องการ เพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้จัดเตรียมข้อมูลเพื่อมาแลกเปลี่ยนพูดคุยกันได้อย่างเป็นประสิทธิผล ดังนั้นการเตรียมข้อมูลจึงมีความสำคัญมาก นอกจากจะทำให้มีข้อยุติที่มีคุณภาพแล้ว ยังสามารถประหยัดเวลาลงไปได้เป็นอันมาก เราจะเตรียมข้อมูลอะไร อย่างไร เราต้องศึกษาวัตถุประสงค์ที่ถูกตั้งไว้ก่อนที่จะไปแลกเปลี่ยน ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป ข้อมูลสำคัญ ข้อมูลปัญหาและอุปสรรค ข้อมูลข้อเสนอแนะ และข้อมูลเชิงลึก (บางกรณีสำคัญมาก) ร่างกรอบและขอบเขตของข้อมูล ที่ได้ศึกษาวัตถุประสงค์ […]
February 7, 2012

การระดมสมองในการจัดทำแผน

ความสำคัญของการจัดทำแผน คือการระดมความคิด การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การช่วยกันให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ การสรุปกระบวนการทำงานร่วมกัน การนำเสนอผลการระดมความคิด และการระดมสมอง การระดมสมองให้ประสบความสำเร็จ การเตรียมข้อมูล ที่เกี่ยวข้อง ให้ครอบคลุมวัตถุประสงค์ การนำข้อมูลมาวิเคราะห์ความเชื่อมโยง ทั้งในงานของตนเอง และงานที่เกี่ยวข้องกับผู้อื่น การสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อสรุปประเด็น เพื่อนำเสนอ การยอมรับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากผู้อื่น การรายงานให้รวดเร็วทันการณ์ เพื่อตรวจสอบรายงาน ให้ถูกต้องตรงกัน ผลพลอยได้จากการระดมความคิด คือการเข้าใจความคิดของผู้อื่นมากขึ้น ดูเพิ่มเติมที่นี่
February 7, 2012

มาทำความรู้จักระบบสมรรถนะ (Competency) กันดีกว่า

นางสุจิตรา ยอดเสน่หา ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษาชำนาญการ เดี๋ยวนี้เวลาไปที่ไหนก็ได้ยินคำว่า “competency” มันคืออะไร แล้วเกี่ยวข้องกับเราอย่างไร แล้วถ้าเราไม่มี competency จะได้ไหม ทำไมคำนี้ถึงมีความสำคัญกับตัวเรา หรือว่าการทำงานของเรา มาสำรวจกันว่าเรามี competency กันหรือยัง มีครบหรือไม่ แล้วมีวิธีการอย่างไรที่จะทำให้เรา มี competency ในการทำงานอย่างครบถ้วน เดี๋ยวเรามาดูกัน   Competency หรือ สมรรถนะ มันคืออะไร […]