เรื่อง กฎหมายชวนรู้
วันที่อบรม วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม 2554 (เวลา 13.30 – 16.30 น.)
วิทยากร อ.วันชัย สอนศิริ สมาชิกวุฒิสภา
สรุปเนื้อหาการบรรยาย
การทำนิติกรรมสัญญา
ในชีวิตประจำวันของบุคคลนั้น จำต้องเกี่ยวข้องอยู่กับกฎหมายไม่มากก็น้อย เช่น เรื่องซื้อขาย กู้ยืม จำนอง จำนำ แบ่งทรัพย์สินกัน ฯลฯ เป็นต้น และมักมีปัญหาอยู่เสมออาจเพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ความไม่รู้เรื่องกฎหมายกำหนดไว้ หรือถูกหลอกลวง เป็นต้น มีคำแนะนำเบื้องต้นดังนี้
1. ต้องพิจารณาความสามารถของคู่สัญญาเสียก่อนว่ากฎหมายให้สิทธิกระทำได้หรือไม่ เช่น
1.1 เป็นผู้เยาว์หรือไม่ คืออายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ แต่หากสมรสกัน (จดทะเบียนสมรสเมื่ออายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ ก็ไม่เป็นผู้เยาว์ต่อไป)
1.2 มีคู่สมรสหรือไม่ หรือหากมีแล้วในบางกรณีอาจต้องได้รับความยินยอมของอีกฝ่ายหนึ่งปัจจุบันกรณีนี้มีปัญหามาก
1.3 เป็นคนไร้ความสามารถหรือไม่ เช่น ศาลสั่งเป็นคนไร้ความสามารถ คือ คนประเภทบ้า วิกลจริต เป็นต้น
2. ต้องพิจารณาว่าเป็นผู้มีสิทธิหรือมีอำนาจทำสัญญาได้หรือไม่ เช่น
2.1 เป็นเจ้าของบ้านที่ดินจริงหรือไม่ เช่น ต้องดูจากโฉนดมีชื่อใคร ดูจากบัตรประจำตัว
ประชาชน เป็นต้น
2.2 หากเป็นผู้รับมอบอำนาจ มีหลักฐานการรับมอบอำนาจหรือไม่
2.3 เป็นผู้แทนของนิติบุคคล เช่น ของห้างหุ้นส่วนบริษัทสมาคมจริงหรือไม่ และมีหนังสือกำหนดว่า ในการจะทำอะไรต้องมีกรรมการกี่คน ลงชื่อต้องประทับตราหรือไม่ วิธีง่าย ๆ ก็ต้องขอดูหลักฐานจากทางราชการให้แน่นอนเสียก่อน
2.4 หากเป็นคนต่างด้าว ก็ต้องดูว่ามีสิทธิได้แค่ไหนเพียงใด ปัญหาที่มีบ่อย ๆ คือ เรื่องการซื้อขายที่ดิน
3. เกี่ยวกับทรัพย์สินที่จะทำสัญญาก็มีความสำคัญเช่นกัน ต้องตรวจสอบดูให้ดี เช่น ที่ดินก็ต้องไปดูให้แน่ ๆ ว่าอยู่ที่ไหนโดยสอบถามจากพนักงานที่ดิน หากจะให้ดีที่สุดก็ขอให้มีการรังวัดรวจสอบก่อนเคยมีบ่อย ๆ ผู้ขายไปชี้ว่าอยู่ติดถนนที่ไหนได้พอซื้อแล้วปรากฏว่าอยู่ห่างจากถนนเป็นสิบกิโลเมตร มิหนำซ้ำเป็นที่ลุ่มน้ำขังตลอดปี ไม่มีทางเข้า ทำอะไรไม่ได้ หรืออยู่ใกล้ถนนแต่มีคนอื่นอยู่ด้านหน้า หรือบางทีที่ติดจำนองขายฝาก ติดภาระจำยอมหรืออยู่ใกล้โรงงาน ใกล้แหล่งเสื่อมโทรมซึ่งล้วนแล้วแต่มีปัญหาทั้งสิ้น
4. ต้องพิจารณาตัวบุคคลด้วย ถึงแม้ว่าจะเป็นผู้มีสิทธิหรือมีอำนาจทำสัญญาได้ เช่น เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น เป็นกรรมการบริษัทที่มีอำนาจหรือเป็นผู้รัu3610 .มอบอำนาจว่าจะเชื่อถือได้แค่ไหนเพียงไร เคยมีบ่อย ๆ พอทำสัญญาขายให้คนนี้แล้ว ต่อมาก็เอาทรัพย์สินสิ่งเดียวกันนี้ไปทำสัญญาขายให้คนอื่นอีก ทำให้เกิดปัญหาภายหลัง หรือเช่าซื้อที่ดิน ครั้นส่งครบปรากฏว่าที่ดินซึ่งเช่าซื้อนั้นติดจำนอง หรือไม่ยอมโอนให้เขา อุตส่าห์ส่งมาสิบปีกลับมีปัญหายุ่งยากเกิดขึ้น เป็นต้น
5. การเข้าทำสัญญา เรื่องนี้สำคัญเช่นกัน จะต้องอ่านข้อความในสัญญาให้ดีว่าเอารัดเอาเปรียบกันหรือไม่ มีข้อที่จะทำให้เสียหายหรือไม่ ไม่แน่ใจควรปรึกษาผู้รู้กฎหมายเสียก่อน เช่น ปรึกษาทนายความนิติกร และผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายอื่น ๆ เป็นต้น อย่าประมาท การซื้อขายราคาทรัพย์สินราคาเป็นหมื่นเป็นแสนยิ่งจำเป็น เมื่อแน่ใจแล้วจึงทำสัญญา
6. การลงมือทำสัญญา เช่น กรอกข้อความควรให้ชัดเจน ที่ไหนไม่ต้องการก็ขีดออกไป โดยคู่สัญญาลงชื่อกำกับไว้ ตรวจดูให้เรียบร้อยว่าถูกต้องตรงกับความประสงค์หรือไม่ เมื่อถูกต้องตรงกับ ความประสงค์แล้ว จึงลงลายมือชื่อในช่องคู่สัญญา
7. การลงชื่อในสัญญาสำคัญเช่นกัน ต้องดูว่าลงในฐานะอะไร เคยมีบ่อย ๆ ลงชื่อผิด เช่นเป็นผู้แทนลงชื่อช่องผู้ซื้อกลับกัน ผู้ซื้อลงชื่อในช่องผู้ขาย หรือเป็นพยานแต่ลงชื่อในช่องผู้ซื้อ เป็นต้น กรณีต้องพิมพ์นิ้วมือ ก็ต้องมีพยานรับรองอย่างน้อยสองคน ควรได้ลงชื่อรับรองทันทีและระบุให้ชัดว่าเป็นพยานรับรองในเรื่องนี้ จะได้ไม่มีปัญหาภายหลัง อนึ่ง ลงชื่อในสัญญานี้เป็นเรื่องสำคัญมากเช่นกัน ต้องตรวจดูให้ดีและควรลงชื่อทั้งสองฝ่ายไม่ว่ากฎหมายจะบังคับหรือไม่ก็ตาม และควรมีพยานด้วยซึ่งมาจากทั้งสองฝ่าย
8. แบบของสัญญานี้ อาจต้องทำเองหรือซื้อจากที่เขาทำจำหน่าย หากจะให้ดีก็ควรจะปรึกษา นักกฎหมายอาชีพ เช่น ทนายความ หรือที่ปรึกษากฎหมายขอให้เขาทำให้ จะเสียค่าใช้จ่ายบ้างก็ยังดีกว่าที่จะทำไปไม่ถูกต้องซึ่งอาจเสียหายมากมาย รายละเอียดของสัญญาควรมี
8.1 สถานที่ วัน เดือน ปี ที่ทำสัญญา
8.2 ชื่อ นามสกุล อายุ ตำบลที่อยู่ อาชีพของคู่สัญญา ตลอดจนหลักฐานแสดงตัวบุคคลควรระบุไว้ด้วย
8.3 ข้อความในสัญญาเป็นเรื่องอะไร มีรายละเอียดอย่างไร เช่น เกี่ยวกับทรัพย์ตกลงกันอย่างไร เช่น การชำระเงิน การไปโอนเมื่อไร ข้อความในสัญญาอาจแยกเป็นข้อย่อย ๆ เพื่อความเข้าใจง่ายหรือให้รายละเอียดก็ได้
8.4 กำหนดความรับผิด เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญา
8.5 การลงลายมือชื่อคู่สัญญา ลงลายมือชื่อพยาน
9. ข้อแนะนำอื่น ๆ กระดาษ อุปกรณ์ที่ใช้ เช่น ปากกา กระดาษควรใช้อย่างดี เพราะต้องเก็บไว้เป็นหลักฐาน ปากกาเขียนควรใช้ด้ามเดียวตลอดในการเขียนสัญญา ผู้เขียนสัญญาเช่นกันใครเป็นผู้เขียนก็เขียนตลอด และควรระบุว่าเป็นผู้เขียนสัญญาด้วย และควรเขียนได้พอดีกับกระดาษ เช่น ไม่เขียนต่ำเกินไป หรือสูงเกินไป ทำให้เหลือที่ว่างมาก อาจเกิดความสงสัยกันขึ้นมาว่าเป็นเอกสารปลอมเป็นต้น และขอเน้นว่าก่อนลงลายมือชื่อต้องอ่านดูข้อความให้ดีเสียก่อนว่าเป็นไปตามที่เราต้องการหรือไปไม่ เมื่อถูกต้องตามความต้องการแล้วลงชื่อ
1. การกู้ยืมเงิน
การกู้ยืมเงินเกินกว่า 2,000 บาท จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือแสดงข้อความว่าได้มีการกู้เงินกันจริง โดยต้องมี ลายชื่อของผู้กู้เป็นสำคัญ หากผู้กู้ไม่สามารถเขียนหนังสือได้ ต้องมีลายพิมพ์นิ้วมือของผู้กู้ประทับในหนังสือ โดยมีพยานลงลายมือชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือของผู้กู้อย่างน้อย 2 คน หากไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ผู้ให้กู้จะฟ้องร้องต่อศาลให้บังคับให้ผู้กู้ชำระเงินตามสัญญาไม่ได้
ตามกฎหมายผู้ให้กู้มีสิทธิเก็บดอกเบี้ยจากผู้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี หากคิดดอกเบี้ยเกินนั้น ดอกเบี้ยจะตกเป็นโมฆะทั้งหมด ผู้ให้กู้เรียกให้ผู้กู้ชำระเงินต้นคืนเท่านั้น ยกเว้นกู้เงินจากธนาคาร หรือสถาบันการเงิน กฎหมายยินยอมให้คิดอัตราดอกเบี้ยได้เกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี ตามอัตราดอกเบี้ยที่กระทรวงการคลังกำหนดไว้
การฟ้องร้องให้ผู้กู้ชำระเงินตามสัญญากู้จะต้องฟ้องภายใน 10 ปี นับจากวันที่ถึงกำหนดชำระเงินตามสัญญา ถ้าพ้นจากนี้คดีขาดอายุความ ผู้ให้กู้ไม่มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาล
ข้อควรระวังในการกู้ยืมเงิน
2. เช่าซื้อ
สัญญาเช่าซื้อ คือ สัญญาซึ่งเจ้าของเอาทรัพย์สินออกให้เช่าและให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้น หรือจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่า โดยมีเงื่อนไขว่าผู้เช่าจะต้องใช้เงินเป็นจำนวนเงินเท่านั้นเท่านี้คราว
สัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อผู้ให้เช่าซื้อและผู้เช่าซื้อทั้งสองฝ่ายหากไม่ได้ทำเป็นหนังสือหรือไม่ได้ลงลายมือชื่อคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายสัญญาจะตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลผูกพันคู่สัญญา การเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ (ทรัพย์เคลื่อนที่ไม่ได้) เช่น บ้านหรือที่ดิน นอกจากจะทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อ คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายและชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้ว จะต้องไปจดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วย การได้มาจึงจะบริบูรณ์
ผู้เช่าซื้อ มีสิทธิบอกเลิกสัญญาในเวลาใดเวลาหนึ่งก็ได้ ด้วยการส่งมอบทรัพย์สินที่เช่าซื้อกลับคืนให้แก่เจ้าของ (ผู้ให้เช่าซื้อ) และต้องเสียค่าใช้จ่ายในการส่งมอบทรัพย์สินคืนให้ผู้เช่าซื้อเอง ผู้เช่าซื้อต้องสงวนรักษาทรัพย์สินที่เช่าซื้อดังเช่นวิญญูชนสงวนรักษาทรัพย์สินของตน ถ้าผู้เช่าซื้อไม่สงวนรักษาทรัพย์สินจนทำให้ทรัพย์สินนั้นเสียหาย ผู้เช่าซื้อจะต้องรับผิดในความเสียหายแก่เจ้าของทรัพย์ด้วย หากชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้ว ทรัพย์สินที่เช่าซื้อย่อมตกเป็นของผู้ให้เช่าซื้อ ถ้าผู้เช่าซื้อยังชำระค่างวดไม่ครบ จะนำทรัพย์สินที่เช่าซื้อไปขายต่อ เพื่อให้ผู้ซื้อผ่อนต่อไม่ได้ เนื่องจากกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่าซื้อยังคงเป็นของผู้ให้เช่าซื้อจนกว่าผู้เช่าซื้อจะชำระค่าเช่าซื้ออย่าง ครบถ้วน ดังนั้น ในระหว่างที่ยังชำระค่าเช่าซื้อไม่ครบ ผู้เช่าซื้อไม่ใช่เจ้าของ จึงไม่มีสิทธินำทรัพย์สินที่เช่าซื้อไปขายต่อ
ผู้ให้เช่าซื้อ (เจ้าของทรัพย์) มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อในกรณีต่อไปนี้
3. ซื้อขาย
สัญญาซื้อขาย คือ สัญญาที่ผู้ขายโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อและผู้ซื้อตกลงว่าจะใช้ราคาทรัพย์สินให้แก่ผู้ขาย
การโอนกรรมสิทธิ์ หมายถึง การโอนความเป็นเจ้าของในทรัพย์สินที่ซื้อขายไปให้แก่ผู้ซื้อ ผู้ซื้อเมื่อได้เป็นเจ้าของก็สามารถที่จะใช้ ได้รับประโยชน์ หรือจะขายอย่างไรก็ได้
โดยปกติในการทำสัญญาซื้อขายทรัพย์สินนั้นทันทีที่ทำสัญญากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินชิ้นนั้นก็จะโอนไปยังผู้ซื้อทันที แม้ว่าจะยังไม่ได้ส่งมอบทรัพย์สินชิ้นนั้นให้แก่ผู้ซื้อหรือแม้ผู้ซื้อจะยังไม่ได้ชำระเงินค่าทรัพย์สินนั้นก็ตาม ผู้ซื้อก็ได้ความเป็นเจ้าของไปแล้ว ยกเว้นแต่การซื้อขายเงินผ่อนนั้น ผู้ซื้อและผู้ขายอาจตกลงกันว่าเมื่อผ่อนชำระเงินกันเสร็จแล้ว กรรมสิทธิ์ค่อยโอนไปเช่นนี้ก็ทำได้ แต่เนื่องจากการซื้อขายเงินผ่อนนี้ ผู้ซื้อมักได้ทรัพย์สินนั้นไปใช้ก่อนแล้วค่อย ๆ ผ่อนใช้ราคาของทรัพย์สินที่จะต้องจ่ายจึงมักรวมดอกเบี้ยไปด้วย ทำให้ผู้ซื้อซื้อทรัพย์นั้นในราคาที่แพงกว่าท้องตลาดหรือเมื่อซื้อเป็นเงินสด ดังนั้น หากผู้ซื้อไม่ลำบาก จนเกินไปในการซื้อเป็นเงินสดแล้ว ก็ควรซื้อเป็นเงินสด
วิธีในการทำสัญญาซื้อขาย
ทรัพย์สินที่ซื้อขายกันไม่ได้ คือ
1. สาธารณสมบัติแผ่นดิน เช่น ชายตลิ่ง ทางน้ำ ที่ดินที่รัฐบาลหวงห้าม เช่น ที่ป่าสงวน
2. สิทธิที่กฎหมายห้ามโอน เช่น สิทธิที่จะได้รับมรดกของเจ้ามรดกที่ยังมีชีวิตอยู่ สิทธิที่จะได้รับค่า
อุปการะเลี้ยงดู
3. ทรัพย์สินที่กฎหมายห้ามมีไว้ในครอบครอง เช่น อาวุธปืนเถื่อน ฝิ่น เฮโรอีน กัญชา เป็น ต้น
4. วัดและธรณีสงฆ์
4. ค้ำประกัน
ผู้ค้ำประกันไม่ต้องชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ในกรณี
5. จำนอง
**กู้เงินแล้วมอบโฉนด หรือ น.ส. 3 ให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้ไม่ใช่จำนอง เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิพิเศษเป็นเพียงเจ้าหนี้ธรรมดา แต่มีสิทธิยึดโฉนด หรือ น.ส. 3 ไว้ตามข้อตกลงจนกว่าลูกหนี้จะชำระหนี้ ฉะนั้นถ้าจะทำจำนอง ก็ต้องจดทะเบียนให้ถูกต้อง
6. จำนำ
ผู้รับจำนำมีหน้าที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่จำนำบางประการ
1. ต้องเก็บรักษาและสงวนทรัพย์ที่จำนำให้ปลอดภัย ไม่ให้สูญหาย หรือเสียหาย เช่น รับจำนำ แหวนเพชรก็ต้องเก็บในที่มั่นคง ถ้าประมาทเลินเล่อวางไว้ไม่เป็นที่เป็นทางคนร้ายลักไปก็อาจจะต้องรับผิดได้
2. ไม่เอาทรัพย์สินที่จำนำออกใช้เอง หรือให้บุคคลภายนอกใช้สอยหรือเก็บรักษา มิฉะนั้นถ้าเกิดความเสียหายใด ๆ ขึ้นก็ต้องรับผิดชอบ เช่น เอาแหวนที่จำนำสวมใส่ไปที่เที่ยว ถูกคนร้ายจี้เอาไปก็ต้องใช้ ราคาให้เขา
3. ทรัพย์สินจำนำบางอย่าง ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา เช่น จำนำสุนัขพันธุ์ดี อาจจะต้องเสียค่าบำรุงรักษา อาหาร ผู้จำนำต้องชดใช้ให้แก่ผู้รับจำนำ มิฉะนั้นผู้รับจำนำก็มีสิทธิยึดหน่วงทรัพย์ที่จำนำไว้ก่อน ไม่ยอมคืนให้จนกว่าจะได้รับชำระหนี้ครบถ้วน
1. เอาทรัพย์สินที่จำนำออกขายทอดตลาด คือกระทำได้เองไม่ต้องขออำนาจซึ่งตามธรรมดา ก็ให้บุคคลซึ่งมีอาชีพทางดำเนินธุรกิจขายทอดตลาดเป็นผู้ขาย แต่ก่อนจะทำการขายทอดตลาดผู้รับจำนำต้องบอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังลูกหนี้ก่อนให้ชำระหนี้และหนี้ที่เกี่ยวเนื่องกัน เช่น ดอกเบี้ย ค่ารักษาทรัพย์ที่จำนำ เป็นต้น ภายในเวลาอันสมควร
2. ถ้าผู้รับจำนำไม่บังคับตามวิธีที่ 1 เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้เพื่อไถ่ถอนทรัพย์ที่จำนำคืนไป เจ้าหนี้ผู้รับจำนำจะยื่นฟ้องต่อศาล ให้ขายทอดตลาดทรัพย์ที่จำนำก็ย่อมทำได้ ไม่มีอะไรห้าม
7. ขายฝาก
** ข้อตกลงที่ว่า “ผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์คืนได้” ข้อตกลงนี้จะต้องมีขึ้นในขณะที่ทำสัญญาซื้อขายกันเท่านั้น ถ้าทำขึ้นภายหลังจากที่ได้ทำสัญญาซื้อขายกันแล้ว สัญญาดังกล่าวไม่ใช่สัญญาขายฝากแต่เป็นเพียงคำมั่นว่าจะขายคืนเท่านั้น ***
1. ถ้าเป็นการขายฝากอสังหาริมทรัพย์ คือ ทรัพย์สินที่เคลื่อนที่ไม่ได้ เช่น ที่ดิน ที่นา บ้าน ฯลฯ ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ในกรณีที่เป็นที่ดินต้องจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ถ้าเป็นบ้านก็จดทะเบียนต่อที่ว่าการอำเภอที่บ้านนั้นตั้งอยู่ ถ้าไม่ทำตามนี้แล้ว ถือว่าสัญญาขายฝากนี้เสียเปล่าเป็นอันใช้ไม่ได้ เท่ากับไม่ได้ทำสัญญากันเลย
2. ถ้าเป็นขายฝากสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ เช่น แพ เรือยนต์ สัตว์พาหนะ ฯลฯ ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่ ถ้าไม่ทำตามนี้ถือว่าสัญญาขายฝากนี้เสียเปล่าใช้บังคับไม่ได้เลย
3. ถ้าเป็นการขายฝากสังหาริมทรัพย์ชนิดธรรมดา การขายฝากชนิดนี้ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญหรือต้องมีการวางมัดจำหรือจำต้องมีการชำระหนี้บางส่วน อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ถ้าไม่ทำตามนี้แล้วกฎหมายถือว่า สัญญาขายฝากรายนี้ต้องห้ามมิให้มีการฟ้องบังคับคดี
ในการตกลงฝากคู่สัญญาจะตกลงกันไม่ให้ผู้ซื้อฝากจำหน่ายทรัพย์สินที่ขายฝากก็ได้ แต่ถ้าผู้ซื้อฝากฝ่าฝืนข้อตกลงที่กำหนดในสัญญา โดยนำทรัพย์สินที่ขายฝากไปจำหน่ายให้ผู้อื่น ผู้ซื้อฝากจะต้องรับผิดชดใช้ความเสียหายใด ๆ ที่เกิดขึ้นแก่ผู้ขายฝาก
8. การหย่า
ประเภทของการหย่า
สาเหตุสำคัญที่จะทำให้มีการฟ้องหย่าได้
การตายมี 2 ประเภท ได้แก่
1. การตายโดยธรรมชาติ คือการพิจารณาว่าคนใดตายแล้ว ให้พิจารณาทั้ง 3 ส่วนดังนี้ คือ
1.1 สมอง
1.2 หัวใจ ถ้าสมองหยุดทำงานโดยตรวจด้วยการวัดคลื่นสมอง หัวใจหยุด
1.3 การหายใจ เต้นและหายใจเองไม่ได้ ถือว่าคนนั้นได้ตายไปแล้ว
2. การตายโดยผลของกฎหมาย หรือที่เรียกว่า “สาบสูญ” คือการที่ทายาทหรือบุคคลนั้นหรือพนักงานอัยการร้องขอต่อศาลว่าบุคคลนั้นได้หายสาบสูญไปจากถิ่นที่อยู่เป็นเวลา 5 ปี โดยไม่มีใครทราบข่าวคราวของบุคคลนั้นเลย หรืออยู่ในสมรภูมิแห่งสงคราม หรือตกในเรืออับปาง เมื่อนับเวลาหลังจากที่หมดสงครามแล้ว นับจากเรืออับปางได้สิ้นสุดไปแล้วเป็นเวลา 2 ปี และไม่มีใครรู้ว่าบุคคลนั้นอยู่ที่ไหนเป็นตายร้ายดีอย่างไร ดังนี้ ถ้าศาลสั่งว่าบุคคลนั้นเป็น “คนสาบสูญ” ดัวยเหตุดังกล่าวแล้ว ก็ต้องถือว่าบุคคลนั้นได้ถึงแก่ความตามเช่นกันและจะมีผลทำให้ “มรดก” ตกทอดไปยังทายาทเช่นเดียวกับการตายโดยธรรมชาติ
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิได้รับและผู้มีสิทธิแบ่งมรดก
ผู้ตายเรียกว่า “เจ้ามรดก” ส่วนลูกหลาน พ่อแม่ นั้นเรียกว่า “ทายาท” ในเรื่องการรับมรดกนั้นมีหลักอยู่ ว่า ทายาทที่มีสิทธิได้รับมรดกได้นั้น จะต้องเป็นบุคคลที่มีชิวิตอยู่ในขณะที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย กล่าวคือ ทายาทคนใดตายก่อนเจ้ามรดก ทายาทคนนั้นไม่มีสิทธิได้รับมรดกจากเจ้ามรดก
ดังนั้น การพิจารณาถึงการสิ้นสภาพบุคคล (การพิจารณาว่า บุคคลนั้นตายไปเมื่อไหร่) ก่อนหรือหลังที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย จึงเป็นปัญหาที่สำคัญมาก เพราะจะได้ทราบว่า ทายาทผู้นั้นมีสิทธิได้รับมรดกหรือไม่
ใครมีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตาย
เมื่อบุคคลตายทรัพย์สินหรือมรดกของผู้ตายจะตกทอดได้แก่ใครนั้น กฎหมายให้ควมสำคัญกับเจตนาของผู้ตายเป็นหลักว่าจะยกทรัพย์สินให้แก่ใครถ้าผู้ตายทำพินัยกรรมไว้ ทรัพย์สินตามที่ผู้ตายระบุก็จะตกเป็นของบุคคลที่มีชื่อในพินัยกรรมนั้น แต่ถ้าผู้ตายไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ กฎหมายกำหนดให้ทรัพย์สินนั้นตกทอดไปยังทายาทของผู้ตายที่ยังมีชีวิตอยู่ ได้แก่ ทายาที่เป็นลูกหรือญาติพี่น้องของผู้ตาย ดังนั้น ทายาทผู้สิทธิได้รับมรดก
กฎหมายจึงแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ทายาทโดยธรรม ทายาทโดยธรรม ทายาทโดยธรรมตามกฎหมายได้แก่ ญาติและคู่สมรส คือ สามีหรือภริยาของผู้ตายในทางกฎหมายได้มีการการจัดลำดับญาติไว้แล้ว โดยให้ญาติที่สนิทที่สุดมีสิทธิได้รับมรดกเหนือกว่าญาติที่ห่างออกไป หากญาติสนิทที่สุดยังมีชีวิตอยู่ ญาติที่สนิทน้อยลงไปจะไม่มีสิทธิได้รับมรดกเลย ตามหลักกฎหมายที่ ว่า “ญาติสนิทพิชิตญาติห่าง”ลำดับญาติตามกฎหมายนั้น สามารถเรียงลำดับตามความสนิทได้ ดังนี้คือ
ลำดับที่ 1 ผู้สืบสันดาน ได้แก่ บุตรของผู้ตาย ซึ่งอาจเป็นลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดก
1. บุตรที่เกิดจากบิดา (ซึ่งเป็นเจ้ามรดก) กับมารดาซึ่งบิดามารดานั้นได้จดทะเบียนสมรสกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย
2. บุตรบุญธรรมของเจ้ามรดก ซึ่งเป็นบุคคลที่เจ้ามรดกได้จดทะเบียนรับเป็นบุตรบุญธรรม
3. บุตรซึ่งบิดา (ซึ่งเป็นเจ้ามรดก) กับมารดาได้จดทะเบียนสมรสกันภายหลังจากที่บุตรได้เกิดแล้ว
(ข) บุตรนอกกฎหมาย หมายถึง บุตรที่บิดา (ซึ่งเป็นเจ้ามรดก) ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาแต่มีพฤติการณ์ที่เปิดเผยบางอย่างของบิดาที่เป็นการรับรองว่าเด็กนั้นเป็นบุตรของตน เช่น อนุญาตให้ใช้นามสกุลเดียวกันกับตน หรือเป็นธุระส่งเสียให้ค่าเล่าเรียน เพราะฉะนั้น หากบิดา (เจ้ามรดก) มีพฤติการณ์เช่นว่านี้ เด็กนั้นก็มีสิทธิได้รับมรดกของบิดา (เจ้ามรดก) เหมือนบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายทุกประการ
ลำดับที่ 2 บิดามารดาของเจ้ามรดก บิดานั้นต้องเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกถ้าเป็นบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย (ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาของเจ้ามรดก) แม้ว่าจะได้มีพฤติการณ์รับรองบุตรนอกกฎหมายว่าเจ้ามรดกเป็นบุตรของตนก็ตาม ก็ไม่มีสิทธิได้รับมรดกของบุตรตน ส่วนมารดานั้นย่อมเป็นมารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกเสมอ ไม่ว่าจะได้จดทะเบียนสมรสกับบิดาของเจ้ามรดกหรือไม่ก็ตาม
ลำดับที่ 3 พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับเจ้ามรดก คือ พี่น้องเจ้ามรดกที่เกิดจากบิดามารดาเดียวกัน
ลำดับที่ 4 พี่น้องร่วมแต่บิดา หรือพี่น้องร่วมแต่มารดาของเจ้ามรดก
ลำดับที่ 5 ปู่ ย่า ตา ยาย ของเจ้ามรดก
ลำดับที่ 6 ลุง ป้า น้า อา ของเจ้ามรดก
2. ผู้รับพินัยกรรม
ผู้รับพินัยกรรม หมายถึง บุคคลซึ่งผู้ตายหรือเป็นบุคคลภายนอกทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้ ผู้รับพินัยกรรม อาจเป็นญาติพี่น้องของผู้ตายก็ได้ พินัยกรรมนั้นกฎหมายบังคับให้ ต้องทำเป็นหนังสือและถูกต้องตามแบบที่กำหนดไว้
ข้อควรระวังในการทำพินัยกรรม
อายุความ
ทายาทผู้ได้รับมรดกอาจตกลงแบ่งมรดกกันเองก็ได้โดยไม่ต้องฟ้องร้องต่อศาล โดยทำสัญญาตกลงกันเองว่า จะให้ใครได้รับมรดกส่วนไหนบ้าง
ข้อสังเกต
(1) บิดามารดาบุญธรรม ไม่มีสิทธิได้รับมรดกของบุตรบุญธรรม
(2) ในกรณีที่บิดาหรือมารดามีการสมรสใหม่ หลังจากขาดการสมรสแล้ว พ่อเลี้ยงแม่เลี้ยงไม่มีสิทธิได้รับมรดกของลูกเลี้ยง
(3) ลูกเขยไม่มีสิทธิได้รับมรดกของพ่อตาหรือแม่ยายและพ่อตาแม่ยายก็ไม่มีสิทธิได้รับมรดกของลูกเขยเช่นเดียวกัน
(4) ลูกสะใภ้ไม่มีสิทธิรับมรดกของแม่สามีหรือพ่อสามี และแม่สามีหรือพ่อสามีก็ไม่มีสิทธิรับมรดกของลูกสะใภ้เช่นกัน
**ข้อสังเกต ถ้าตกลงกันไม่ได้ ก็ต้องฟ้องขอให้ศาลแบ่งมรดกให้ภายใน 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย มิฉะนั้น ท่านอาจจะเสียสิทธิ เพราะคดีขาดอายุความ
มรดกไม่มีผู้รับ
หากว่าเจ้ามรดกไม่มีทายาทโดยธรรม หรือไม่มีผู้รับพินัยกรรม หรือไม่มีการตั้งมูลนิธิตามพินัยกรรม มรดกของเจ้ามรดกนั้นจะต้องตกทอดแก่แผ่นดิน
กฎหมายอาญา
1. สิทธิของผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ใหม่)
เมื่อผู้ถูกจับกุมได้ถูกควบคุมตัวมาถึงสถานีตำรวจ ทันที่มาถึงผู้ถูกจับกุมมีสิทธิที่จะติดต่อญาติหรือคนที่เขาไว้เนื้อเชื่อใจ เพื่อแจ้งข่าวขณะนี้ เขาถูกตำรวจควบคุมอยู่ที่สถานีตำรวจ เพื่อที่ว่าญาติหรือคนที่เขาไว้ใจจะได้เป็นธุระติดต่อหาทนายความหรือจัดเตรียมเอกสารที่จำเป็นเพื่อยื่นขอประกันตัว รวมถึงสามารถร้องขอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจติดต่อให้แทน ซึ่งเจ้าหน้าที่จะบ่ายเบี่ยงไม่ได้ รวมถึงผู้ต้องหาไม่จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายในการให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการให้นอกจากผู้ต้องหามีสิทธิแจ้งให้ญาติทราบแล้ว กระบวนการขั้นตอนการควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่ตำรวจนั้นพนักงานสอบสวนต้องแจ้งสิทธิให้ผู้ต้องหาทราบด้วย สิทธิที่ว่านี้ได้แก่ สิทธิที่จะพบหรือปรึกษาผู้ซึ่งเป็นทนายความเป็นการเฉพาะตัว สิทธิที่จะให้ทนายความหรือคนที่เขาไว้ใจเข้าฟังการสอบปากคำในชั้นสอบสวนสิทธิที่จะได้รับการเยี่ยมหรือติดต่อกับญาติพอสมควร และประการสุดท้าย เมื่อเขาเจ็บไข้ได้ป่วย ก็มีสิทธิที่จะได้รับการรักษาพยาบาลโดยเร็วที่สุด
2. หมายจับ
การจับกุมคุมขังนั้นเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพ โดยหลักนั้น เจ้าพนักงานจะจับกุมบุคคลใด ๆ ได้ก็ต่อเมื่อมีอำนาจตามหมายจับที่ออกโดยศาล เพื่อให้ศาลท่านเป็นผู้กลั่นกรองก่อน ว่ามีพยานหลักฐานและเหตุผลที่หนักแน่น ควรเชื่อได้ว่าบุคคลนั้นได้กระทำความผิดอาญาจริง ๆ
ในบางครั้งหากจะต้องดำเนินการขอออกหมายจับล่าช้าเกินไปไม่ทันการ อาจทำให้เกิดความเสียหายแก่สังคมโดยรวมมากยิ่งไปกว่านั้น เช่น เจ้าหน้าที่ตำรวจพบเห็นการกระทำผิดความผิดซึ่งหน้า กล่าวคือ เจ้าหน้าที่ตำรวจพบเห็นการวิ่งราวฉกชิงทรัพย์ต่อหน้าต่อตา เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้นั้นสามารถแสดงตนเข้าจับกุมผู้กระทำผิดผู้นั้นได้ทันที โดยไม่ต้องไปขอศาลให้ออกหมายจับก่อนเมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจพบเห็นบุคคลที่มีท่าทาง มีพิรุธ น่าจะก่อเหตุร้าย อาจจะสร้างภยันตรายให้แก่คนอื่นหรือทรัพย์สินของบุคคลอื่นได้ โดยพบเห็นคนใส่หมวกปิดบังใบหน้า ในมือมีอาวุธ อยู่หน้าธนาคาร แม้คน ๆ นั้นจะยังไม่ก่อเหตุ แต่พฤติกรรมเช่นนี้ คนทั่วไปย่อมต้องอนุมานว่า อาจจะมีการปล้นแบงค์ได้ ดังนั้นเจ้าหน้าที่จึงจับกุมได้โดยไม่ต้องมีหมายจับถ้าเป็นกรณีผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ได้รับการประกันตัวแค่หลบหนีไม่มาพบเจ้าพนักงานหรือไม่มาตามที่ศาลกำหนดนัด เจ้าหน้าที่สามารถจับกุมได้โดยไม่ต้องมีหมายจับ
ที่รโหฐานนั้นไม่ใช่ที่สาธารณะ แต่เป็นสถานที่ซึ่งเจ้าของหรือคนที่ครอบครองพำนักพักอาศัยอยู่ เช่น บ้านเรือนห้องแถว ห้องเช่า ดังนั้นแม้ตำรวจจะมีหมายจับ แต่เมื่อบุคคลที่มีชื่อตามหมายจับอยู่ในที่รโหฐาน ตำรวจก็ไม่สามารถเข้าไปจับกุมคน ๆ นั้นได้ ตำรวจต้องไปขอศาลให้ท่านออกหมายค้น และเมื่อได้หมายค้นสถานที่แห่งนั้นแล้ว ตำรวจจึงจะสามารถเข้าไปในที่รโหฐานเพื่อจับกุมบุคคลคนนั้นได้
3. การค้น
การค้นตัวบุคคล การค้นเคหะสถาน หรือที่รโหฐานจะกระทำมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายและที่พิเศษกว่านั้นคือ ถ้าเป็นการค้นที่รโหฐาน ที่อยู่ที่ทำงานอันเป็นส่วนตัวไม่ได้เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าไปได้นั้น จำต้องมีหมายหรือคำสั่งที่ออกโดยศาลสั่งให้ค้นสถานที่นั้นด้วย
การตรวจค้นสถานที่ซึ่งเป็นรโหฐาน เช่น บ้านพัก โดยหลักเจ้าหน้าที่จะกระทำได้ต่อเมื่อมีคำสั่งหรือหมายค้นของศาล และเมื่อเวลาที่ตำรวจไปขอให้ศาลออกหมายค้นนั้น ศาลท่านจะตรวจสอบว่า จะเอาไปหมายค้นไปเพื่ออะไรและมีเหตุผลเพียงพอที่จะออกหมายค้นหรือไม่ เช่น ขอออกหมายค้นเพื่อไปตรวจค้นหาพยานหลักฐานที่ใช้พิสูจน์ความผิดของผู้ต้องหาหรือจำเลย เช่น ปืนที่ใช้ยิงคน ค้นหาทรัพย์สินที่ผิดกฎหมาย เช่น ยาเสพติด เพื่อเข้าไปตรวจค้นหาทรัพย์สินที่ศาลสั่งให้ยึด รวมทั้งเพื่อเข้าไปตรวจค้นหาคนที่จะต้องถูกจับตามหมายจับที่ออกโดยศาลและเมื่อตำรวจมีหมายค้นสถานที่นั้นแล้ว ตำรวจสามารถเข้าไปค้นที่รโหฐานนั้นได้
ในบางครั้ง ถ้ามัวแต่ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจไปขอศาลให้ท่านออกหมายค้น คงจะไม่ทันการกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาจึงให้มีข้อยกเว้นให้มีการค้นโดยไม่ต้องมีหมายค้นก็ได้ เช่น ขณะที่ตำรวจสายตรวจกำลังขี่มอเตอร์ไซด์อยู่นั้น ได้ยินเสียงกรีดร้องขอความช่วยเหลือดังออกมาจากบ้านหลังหนึ่ง เมื่อเป็นเช่นนี้ ตำรวจสามารถเข้าไปค้นในบ้าน โดยไม่ต้องมีหมายค้นก็ได้ หรืออาจเป็นกรณีมีการกระทำความผิดซึ่งหน้าที่ตำรวจแล้ว ผู้ร้ายเข้าไปหลบหนีในบ้าน กรณีเช่นนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถเข้าไปค้นในที่รโหฐานได้เลย ไม่ต้องรอให้ศาลออกหมายค้นเสียก่อนถ้าเจ้าหน้าที่มีพยานหลักฐานว่ามีสิ่งของผิดกฎหมาย เช่น ยาเสพติด หรือรถยนต์ที่ขโมยมา ซุกซ่อนอยู่ในที่รโหฐาน และมีเหตุการณ์ข้อมูลต่าง ๆ ที่น่าเชื่อได้ว่า หากปล่อยเวลาให้นาน กว่าจะไปเอาหมายค้นมาจากศาลได้นั้น จะทำให้สิ่งของที่ผิดกฎหมายถูกโยกย้ายหรือถูกทำลายไปเสียก่อน ตำรวจสามารถเข้าไปค้นที่รโหฐานนั้นแม้ไม่มีหมายค้นได้ แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อตำรวจตรวจค้นที่แห่งนั้นแล้ว ต้องส่งมอบสำเนาบันทึกการตรวจค้นและบัญชีทรัพย์สินที่ได้จากการตรวจค้น ตลอดจนบันทึกเหตุผลว่าทำไมจึงสามารถเข้าไปค้นได้ให้แก่คนที่ครอบครองสถานที่แห่งนั้นไว้ด้วย
*** แต่การกระทำของเจ้าหน้าที่ตำรวจนั้นต้องทำเท่าที่จำเป็นเพื่อเข้าไปข้างใน และถ้าเจ้าหน้าที่ได้กระทำไปพอสมควรแก่เหตุด้วยความสุจริตใจแล้ว เจ้าหน้าที่ย่อมไม่มีความผิด
ประโยชน์ที่ได้จากการอบรม