นางสาววราภรณ์ จันทคัต
ตำแหน่ง บรรณารักษ์
เนื้อหาโดยสรุป
การอบรมเชิงปฏิบัติการฯ นี้ เกิดขึ้นสืบเนื่องจากประกาศของสำนักงานคณะกรรมการการวิจัย (วช.) เรื่อง จรรยาบรรณนักวิจัย พ.ศ. 2541 ส่งผลให้แวดวงวิชาการและการศึกษาของไทยตระหนักถึงความสำคัญของจรรณยาบรรณที่นักวิจัยพึงมีและปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ประพฤติตนถูกต้องตามหลักวิชาชีพวิจัย รวมถึงการเป็นบุคคลที่มีคุณธรรมและจริยธรรม อันจะนำไปสู่การพัฒนามาตรฐานคุณภาพนักวิจัยระดับสากล ซึ่งปัญหาใหญ่ที่พบทั้งในระดับนักวิจัย ครู อาจารย์ นักเรียน และนักศึกษา คือ การคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนโดยไม่มีการอ้างอิงแหล่งที่มา หรือที่เรียกว่า การโจรกรรมทางวรรณกรรม (Plagiarism) ถือเป็นการกระทำที่ผิดจริยธรรมและจรรยาบรรณ ประกอบด้วย (1) การตัดแปะข้อความ (2) การดัดแปลงข้อความบางคำ หรือบางประโยค และ (3) การสรุปย่อ ซึ่งจะกระทำสิ่งเหล่านี้โดยไม่อ้างอิงแหล่งที่มา ไม่ใส่เครื่องหมายอัญประกาศ “…” คร่อมข้อความที่คัดลอกมา และการอ้างอิงแหล่งที่มาที่ไม่ถูกต้อง ก็ถือเป็นการโจรกรรมทางวรรณกรรมเช่นเดียวกัน
สำหรับในต่างประเทศถือเป็นการกระทำผิดกฎหมาย เนื่องจากผลงานวิชาการถือเป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่ต้องใช้ระยะเวลาในการสร้างสรรค์ ซึ่งวิธีการตรวจสอบผลงานวิชาการแบบดั้งเดิม คือ การตรวจสอบด้วยการอ่านซ้ำไปมาสำหรับเอกสารแต่ละเรื่องที่ต้องการตรวจสอบ และเนื่องจากปัจจุบัน เอกสารได้รับการผลิตตีพิมพ์ออกมามากขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี เมื่อมีการนำเอกสารไปดัดแปลงให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ก็จะส่งผลให้การคัดลอกผลงานของผู้อื่นเป็นเรื่องง่ายดาย สร้างความยุ่งยากให้กับผู้ตรวจสอบมากขึ้น และในการประชุมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ก็มีการหารือกันว่า ในอนาคต วิทยานิพนธ์ของนักศึกษาทุกระดับจะต้องมีใบรับรองการตรวจสอบผลงานวิชาการ จึงจะสามารถให้สอบและจบการศึกษาได้
จึงเป็นที่มาให้หน่วยปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีเสียง ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ได้ทำการวิจัยและพัฒนาระบบบริหารจัดการวิทยานิพนธ์ที่มีชื่อว่า MyCat (Management System for Copyright, Academic Work and Thesis) โดยพัฒนาร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 เพื่อสร้างความตระหนักในการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลที่ใช้ในผลงานวิชาการของนักวิจัย ครู อาจารย์ นักเรียน และนักศึกษา
1. กลุ่มเป้าหมายของระบบ ได้แก่ อาจารย์ที่ปรึกษา เจ้าหน้าที่ และนักศึกษา
หมายเหตุ ฟีเจอร์ (Feature) ของระบบสำหรับเจ้าหน้าที่ (Staff) จะมีมากกว่าของอาจารย์และนักศึกษา คือ สามารถตรวจสอบการส่งวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาได้
2. กระบวนการทำงานของระบบ มีดังต่อไปนี้
3. เทคโนโลยีหลักของระบบ
4. ประสิทธิภาพความเร็ว ยกตัวอย่างเช่น ข้อเสนอโครงการของนักศึกษาจะมีความยาวของเนื้อหาโดยเฉลี่ย 30 – 40 หน้าต่อเล่ม โปรแกรมสามารถใช้ความเร็วในการตรวจสอบทั้งเล่มโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 12.44 วินาที
5. รูปแบบการให้บริการ มี 2 รูปแบบ ดังนี้
6. งานที่จะพัฒนาในอนาคต
ประโยชน์ที่ได้รับ
ได้ทราบข้อมูลเบื้องต้นและขั้นตอนการใช้งานระบบ MyCat สามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียกับระบบอื่นๆ ที่ทางห้องสมุดได้จัดซื้อมาเพื่อให้บริการกับผู้ใช้อยู่ก่อนแล้ว เช่น Turnitin ซึ่งเป็นระบบของต่างประเทศ มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงกว่า และมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า และเพื่อนำข้อมูลไปตัดสินใจวางแผนที่จะนำระบบอื่นๆ มาให้บริการแก่ผู้ใช้ในอนาคตต่อไป
ปัญหาอุปสรรค / ข้อเสนอแนะ