นางสาววิริยา สมบูรณ์ผล
ตำแหน่ง บรรณารักษ์
เนื้อหาโดยสรุป
การอบรมการใช้งานฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสืบค้น จำนวน 8 ฐานข้อมูล ประกอบด้วย 1. ฐานข้อมูล ProQuest ABI/INFORM Complete 2. ฐานข้อมูล ACM Digital Library 3. ฐานข้อมูล American Chemical Society : ACS 4. ฐานข้อมูล IEEE/IET Electronic Library (IEL) 5. ฐานข้อมูล ProQuest Dissertations & Theses 6. ฐานข้อมูล SpringerLink 7. ฐานข้อมูล Web of Science และ 8. ฐานข้อมูล Emerald Managment eJournal 92 ดังนี้
1. ฐานข้อมูล ProQuest ABI/INFORM Complete เป็นฐานข้อมูลที่ครอบคลุมสาขาบริหารการจัดการ และสาขาที่เกี่ยวข้อง ให้บริการสิ่งพิมพ์ประเภท สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง และวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม โดยปีที่สามารถเข้าดู Full Text ตั้งแต่ ปี 1971 – ปัจจุบัน ในฐานนี้มีการเปลี่ยนแปลงในส่วนของหน้าแพลตฟอร์ม และฟังก์ชันภาษาเข้ามาเพื่อใช้ปรับเปลี่ยนเมนูต่างๆ ให้เป็นภาษาที่ต้องการได้ ส่วนรูปแบบการค้นหาแบบ Advanced Search มีฟังก์ชัน Thesaurus เป็นการค้นหาศัพท์สัมพันธ์ที่มีความหมายเหมือนๆ กัน ที่จะสามารถดึงคำศัพท์ต่างๆ ที่มีความหมายอย่างเดียวกันมาแสดงให้ดู และ Broader Terms เป็นการดูคำที่กว้างกว่า เพื่อใช้ดูคำค้นที่ใช้อยู่ รวมถึงการค้นหาแบบ Search within เป็นการค้นหาภายใต้ผลลัพธ์ของคำค้นที่กว้างไปหาแคบ
2. ฐานข้อมูล ACM Digital Library เป็นฐานข้อมูลที่ครอบคลุมสาขาคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้บริการสิ่งพิมพ์ประเภท สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง, จดหมายข่าว, เอกสารในการประชุมวิชาการ และSpecial Interest Groups โดยปีที่สามารถเข้าดู Full Text ตั้งแต่ ปี 1985 – ปัจจุบัน ในฐานนี้มีการเพิ่มฟังก์ชัน Refine by Publications เพื่อใช้ในการกรองดูข้อมูล VDO ได้ และการใช้งาน Bookmarks ในฐานนี้มีให้บริการในกรณีที่ไม่ต้องการบันทึกข้อมูลลงเครื่อง แต่ใช้วิธีการเก็บลิงก์ URL แต่ต้องให้แน่ใจว่าเป็นลิงก์ถาวรสามารถใช้งานได้ตลอดไม่เป็นลิงก์ตาย ซึ่งนิยมใช้ลิงก์ DOI แทนลิงก์ URL หลัก
3. ฐานข้อมูล ACS Publication เป็นฐานข้อมูลที่ครอบคลุมสาขาเคมีและสาขาที่เกี่ยวข้อง เช่น Biochemistry, Biotechnology, Biomedical Science เป็นต้น ให้บริการสิ่งพิมพ์ประเภท วารสารอิเล็กทรอนิกส์ โดยปีที่สามารถเข้าดู Full Text ตั้งแต่ ปี 1996 – ปัจจุบัน ในฐานนี้มีฟังก์ชันการสืบค้นเพิ่มมาใหม่ คือ การค้นแบบ CAS Subjects เป็นการค้นหาเกี่ยวกับหัวเรื่อง และฟังก์ชันการค้นหาเพิ่มภายใต้หัวเรื่องหรือคำค้นอื่นๆ ที่ต้องการ ด้วยคำสั่ง Refine Search ซึ่งคำสั่งจะถูกซ่อนไว้อยู่ต้องทำการคลิกเพื่อให้แสดงช่องสืบค้น รวมถึงการนำออก Full text จะมีให้เลือกหลายรูปแบบตามความต้องการของผู้ใช้ และการนำออกภาพประกอบบทความ
4. ฐานข้อมูล IEEE/IET Electronic Library (IEL) เป็นฐานข้อมูลที่ครอบคลุมสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้บริการสิ่งพิมพ์ประเภท สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง เอกสารในการประชุมวิชาการ และเอกสารมาตรฐาน โดยปีที่สามารถเข้าดู Full Text ตั้งแต่ ปี 1988 – ปัจจุบัน ในฐานนี้มีการแนะนำเทคนิคการสืบคืนแบบ Advanced Search Options เป็นการสืบค้นแบบมีเงื่อนไข โดยการเลือก Content Fitter เป็น My Subscribed Content คือ เป็นการเลือกค้นเฉพาะ Full text เท่านั้น ซึ่งจะสามารถสั่งเกตได้จากสัญลักษณ์สีเขียวรูปแม่กุญแจมือ
5. ฐานข้อมูล ProQuest Dissertations & Theses เป็นฐานข้อมูลที่ครอบคลุม สหสาขา (Multidisciplinary) คือ ครอบคลุมในกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์ : การออกแบบและสถาปัตยกรรม (Architecture and Design), วิศวกรรม (Engineering), วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ (Computer Science), ฟิสิกส์และดาราศาสตร์ (Physics and Astronomy), เคมีและวัสดุศาสตร์ (Chemistry and Materials Science) และ Medicine เป็นต้น สาขาสังคมศาสตร์ : บริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์ (Business and Life Science), กฎหมาย (Law), การศึกษา (Education) เป็นต้น สาขามนุษยศาสตร์ : ประวัติศาสตร์ (History), บรรณรักษศาสตร์ (Library Science), วัฒนธรรมศึกษา (Cultural Studies) เป็นต้น ให้บริการสิ่งพิมพ์ประเภท วิทยานิพนธ์ และดุษฎีนิพนธ์ โดยปีที่สามารถเข้าดู Full Text ตั้งแต่ ปี 1997 – ปัจจุบัน ในฐานนี้ก็เช่นกันมีการเปลี่ยนแปลงเหมือนกับฐานข้อมูล ABI/INFORM Complete
6. ฐานข้อมูล SpringerLink เป็นฐานข้อมูลที่ครอบคลุม สหสาขา (Multidisciplinary) คือ ครอบคลุมในกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์ : การออกแบบและสถาปัตยกรรม (Architecture and Design), วิศวกรรม (Engineering), วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ (Computer Science), ฟิสิกส์และดาราศาสตร์ (Physics and
Astronomy), เคมีและวัสดุศาสตร์ (Chemistry and Materials Science) และ Medicine เป็นต้น สาขาสังคมศาสตร์ : บริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์ (Business and Life Science), กฎหมาย (Law), การศึกษา (Education) เป็นต้น สาขามนุษยศาสตร์ : ประวัติศาสตร์ (History), บรรณรักษศาสตร์ (Library Science), วัฒนธรรมศึกษา (Cultural Studies) เป็นต้น ให้บริการสิ่งพิมพ์ประเภท วารสารอิเล็กทรอนิกส์ ประมาณ 1,800 ชื่อวารสาร โดยปีที่สามารถเข้าดู Full Text ตั้งแต่ ปี 1997 – ปัจจุบัน ในฐานนี้มีการแนะนำการแสดงการใช้งานรูปแบบ Full text HTML ซึ่งจะอยู่ในเมนูคำสั่ง View Article มีแค่เฉพาะบางบทความเท่านั้น หรือการเช็คดูวารสารว่าบอกรับถึงถึงไหนกรณีลืม ให้เข้าการใช้งานของวารสารโดยสังเกตปีของวารสารแต่ละฉบับ และสัญลักษณ์รูปแม่กุญแจหากปรากฏอยู่ที่หน้าแต่ละบทความแสดงว่าวารสารปีนั้นไม่ได้บอกรับ รวมถึงการดูสถานะว่าใช้งานอยู่ภายใต้เครือข่ายหรือไม่นั้น ในหน้าแรกของฐานข้อมูลจะปรากฏคำว่า New books and Journals are available every day โดยให้สังเกตที่พื้นของข้อความว่าเป็นสีอะไร ถ้าเป็นสีม่วงแสดงว่าใช้งานอยู่ภายใต้เครือข่าย หากเป็นสีส้มแสดงว่าใช้งานอยู่ภายนอกเครือข่ายจะไม่สามารถ Download ในส่วนของ Full text ได้
7. ฐานข้อมูล Web of Science เป็นฐานข้อมูลที่ครอบคลุม สหสาขา (Multidisciplinary) คือ ครอบคลุมในกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์, สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ ประกอบด้วย 3 ฐานข้อมูลย่อย คือ 1. Science Citation Index Expanded 2. Social Sciences Citation Index และ 3. Arts & Humanities Citation Index ให้บริการสิ่งพิมพ์ประเภท วารสารอิเล็กทรอนิกส์ และเอกสารประเภทต่างๆ เช่น สิทธิบัตร ผลงานศิลปะ การแสดง รายงานของหน่วยงานรัฐหรือเอกชนมาตรฐาน เป็นต้น โดยปีที่สามารถเข้าดูข้อมูล ตั้งแต่ ปี 1997 – ปัจจุบัน ไม่มีบริการเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) ในฐานนี้มีการแนะนำการดูรายชื่อวารสารที่มีทั้งหมดภายในฐานข้อมูลด้วยวิธีการดูแบบ offline และ แบบ Online และแนะนำการดู Ranking ของวารสาร ว่าวารสารชื่อเรื่องนั้นมีคุณภาพอยู่ในระดับไหน โดยเข้าไปในชื่อเรื่องบทความที่ต้องการ เลือกดูในส่วนของ View Journal Information ดูตรงส่วนของ Quartile in Category รวมถึงยังแนะนำวิธีการค้นหา Full text มีทั้งหมด 4 วิธีด้วยกัน ดังนี้ 1. เลือกดูที่ Full text from publisher เพื่อเข้าไปดูสำนักพิมพ์โดยตรง 2. เลือกดูที่ Look up full text เพื่อลิงก์ไปยังแหล่งที่มีการจัดเก็บของบทความนั้น 3. นำหมายเลข DOI ของบทความนั้น ไปค้นหาที่เว็บไซต์ search.crossref.org เพื่อค้นหาลิงก์ DOI ที่จะใช้ในการเข้าถึงแหล่งจัดเก็บ Full text และ 4. นำชื่อเรื่องของบทความนั้น ไปค้นหาที่เว็บไซต์ scholar.google.com
8. ฐานข้อมูล Emerald Managment eJournal 92 เป็นฐานข้อมูลที่ครอบคลุมสาขาการบัญชี การเงินและเศรษฐศาสตร์ และการจัดการธุรกิจ และกลยุทธ์ ให้บริการสิ่งพิมพ์ประเภท วารสารอิเล็กทรอนิกส์ ประมาณ 92 ชื่อวารสาร โดยปีที่สามารถเข้าดู Full Text ตั้งแต่ ปี 1994 – ปัจจุบัน ในฐานนี้มีการแนะนำการเข้าถึง Full text โดยสังเกตตรงคำว่า Show ให้เลือกที่ Only content I have access to เพื่อเลือกดูเฉพาะเรื่องที่สามารถเข้าถึง Full text ได้ และในส่วนของสัญลักษณ์ Icon Key ฐานนี้จะมีแสดงสัญลักษณ์สีภายในรูปสี่เหลี่ยมเพื่อแสดงให้ทราบถึงสถานะการเข้าใช้งาน สัญลักษณ์รูปสี่เหลี่ยมสีเขียวเต็ม You have access แสดงว่าสามารถเข้าถึง Full text ของเรื่องนั้นได้ หากเป็นสัญลักษณ์สีเขียวครึ่งสีขาวครึ่งภายในรูปสี่เหลี่ยม Partial access แสดงว่าสามารถเข้าถึง Full text ได้เป็นบางส่วน แต่ถ้าเป็นสัญลักษณ์สีขาวล้วนแสดงว่าไม่สามารถเข้าถึงได้
เทคนิคการสืบค้น
การสืบค้นข้อมูลเพื่อให้สามารถเข้าถึงผลลัพธ์ที่ต้องการด้วยการใช้เทคนิคการสืบค้นด้วย โดยใช้สัญลักษณ์ การสร้างเงื่อนไข และการใช้ตัวเชื่อม ดังนี้
การใช้เครื่องหมายช่วยในการสืบค้น (Wildcards)
การสร้างเงื่อนไขเพื่อการสืบค้นโดยใช้ตัวเชื่อม (Operators)
การใช้ตัวเชื่อมเพื่อกำหนดคำให้อยู่ใกล้กันภายในจำนวนคำที่กำหนด (ทั้งนี้การใช้ตัวเชื่อม NEAR ใช้ได้กับบางฐานข้อมูลเท่านั้น)
ประโยชน์ที่ได้รับ
จากการอบรมในครั้งนี้ทำทราบถึงวิธีการใช้งาน และฟังก์ชันการใช้งานใหม่ๆ ที่มีเพิ่มเข้าในแต่ละฐานข้อมูล รวมถึงเทคนิคการสืบค้นเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ