นางสาววิริยา สมบูรณ์ผล
ตำแหน่ง บรรณารักษ์
การประชุมวิชาการประจำปี 2558 ภายใต้หัวข้อ ห้องสมุดดิจิทัล : ประสบการณ์และข้อพึงระวัง (Digital Library : Best Practice and Pit Fall) ประกอบด้วยการบรรยายเรื่อง แนวโน้มของห้องสมุดในยุค Digital Library, เรื่อง แนวทางการ Digitized Rare Book, เรื่อง ห้องสมุดดิจิทัล : ความคุ้มค่าในการลงทุนของมหาวิทยาลัย และ เรื่อง ห้องสมุดดิจิทัล กับ กฎหมายลิขสิทธิ์ มีดังนี้
โดย รศ.ดร.อมร เพชรสม ได้กล่าวว่า ถึงห้องสมุดอนาคตในอุดมคติ ซึ่งประกอบด้วย แหล่งจัดเก็บที่เป็นเลิศ บริการที่ดีเยี่ยมในการดำเนินงาน ความสะดวกสบายในสถานที่ปฏิบัติงาน และการพัฒนาที่ยั่งยืน บวกกับความท้าทายของการพัฒนาห้องสมุดในอนาคต ที่มีหลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นเรื่องของนโยบายมหาวิทยาลัย, ความต้องการของผู้ใช้บริการ, เทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และข้อจำกัดของงบประมาณ รวมถึงกล่าวเกี่ยวกับทักษะในศตวรรษที่ 21 สำหรับอาจารย์และนักศึกษา ที่ควรจะมี คือ ทักษะในการเรียนรู้และนวัตกรรมใหม่ ทักษะในการทำงาน และความสามารถทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
โดย คุณดารารัตน์ จุฬาพันธ์ และคุณประสิทธิชัย เลิศรัตนเคหกาล ท่านแรกคุณดารารัตน์ จุฬาพันธ์ ได้กล่าวไว้ว่า การคัดเลือกหนังสือหายากมาทำ e-Book ของหอสมุดสาขา วังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากร มีกรอบการคัดเลือก ดังนี้ 1. ต้องเป็นหนังสือที่จัดพิมพ์ตั้งแต่ พ.ศ. 2500 ลงมา 2. เป็นหนังสือที่จัดพิมพ์จำนวนจำกัด 3. เป็นหนังสือที่เป็นหลักฐานด้านประวัติการพิมพ์ แสดงให้เห็นถึงคุณค่าทางวิวัฒนาการด้านการพิมพ์ของไทยตั้งแต่สมัยแรกเริ่ม 4. เป็นหนังสือที่พิมพ์แจกเป็นของชำร่วยในงานมงคลและหนังสืออนุสรณ์งานศพ 5. เป็นหนังสือที่มีเนื้อหาโดนเด่นหรือเป็นข้อมูลปฐมภูมิ และ 6. เป็นหนังสือที่มีประวัติการครอบครอง รวมถึงขั้นตอนการจัดทำ e-Book หนังสือหายาก ประกอบด้วย 1. การคัดเลือกหนังสือ 2. การแปลงเป็นไฟล์ดิจิทัล โดยการกำหนดขนาดของไฟล์และรูปแบบของไฟล์ 3. การออกแบบข้อมูล ซึ่งออกแบบตาม D.C Metadata 4. การเขียนโปรแกรม โดยใช้ PHP จัดการข้อมูลจากฐานข้อมูล 5. การบันทึกข้อมูล และ 6. การตรวจสอบและเผยแพร่ ส่วนท่านที่สอง คุณประสิทธิชัย เลิศรัตนเคหกาล ได้กล่าวถึง D-Library ซึ่งเป็นโครงการของห้องสมุดดิจิทัลของหอสมุดแห่งชาติ ในการจัดเก็บ การอนุรักษ์ การเผยแพร่เนื้อหาดิจิทัลทางมรดกภูมิปัญญา และมรดกทางวัฒนธรรมชองชาติ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงเนื้อหาดิจิทัลได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันทีผ่านทางออนไลน์ ซึ่งประกอบไปด้วย หนังสือพิมพ์เก่า หนังสือหายาก ภาพถ่าย เอกสารโบราณ ฯลฯ โดยมีให้บริการผ่านเว็บไซต์ www.digital.nlt.go.th ในการพัฒนาระบบ D-Library รองรับการเชื่อมข้อมูลด้วยมาตรฐานสากล โดยใช้มาตรฐาน OAI-PMH สำหรับความร่วมมือในโครงการ National Library Asia Pacific (NL-AP) ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือการจัดทำและการให้บริการห้องสมุดดิจิทัลของหอสมุดแห่งชาติในกลุ่มประเทศอาเซียน (ASEAN Digital Library) โดยผู้ใช้สามารถสืบค้นข้อมูลผ่านหน้าจอเดียวในลักษณะ Single search ได้
ความคุ้มค่าในการลงทุนของมหาวิทยาลัย โดย ดร.มลิวัลย์ ประดิษฐ์ธีระ ได้กล่าวว่าถึง ห้องสมุดดิจิทัลในวันนี้และอนาคต ซึ่งห้องสมุดในวันนี้ได้พัฒนามาเป็นห้องสมุด 4.0 อย่างเช่น มี Maker space คือเป็นห้องสมุดมีพื้นที่สำหรับผู้ใช้ในการร่วมสร้างนวัตกรรม หรือการพัฒนาในเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง การให้ความสำคัญของ Big Data, บริการของ Cloud, การทำสื่อจำลอง เป็นต้น การที่จะทำให้ห้องสมุดกลายเป็น ห้องสมุด 4.0 ไม่เพียงแค่เครื่องมือที่นำมาใช้เท่านั้น แต่ยังมีในส่วนของเรื่องเนื้อหา เครื่องมืออัจฉริยะ รวมถึงพื้นที่ใช้ในการสร้างปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้บริการ ซึ่งผู้ปฏิบัติงานถือว่ามีส่วนสำคัญในการที่จะร่วมพัฒนาห้องสมุดให้เกิดการพัฒนาไปสู่ยุคห้องสมุด 4.0 ได้ด้วยการพัฒนาสมรรถนะของผู้ใช้บริการถือเป็นประเด็นที่สำคัญ และในส่วนของเรื่องการบริหารความคุ้มค่าและคุณค่า ซึ่งเป็นภาระสำคัญของผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัย ซึ่งมีดังนี้
โดย ดร.ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ ได้กล่าวถึง กระบวนทัศน์หลักของลิขสิทธิ์ เปรียบเสมือนดุลยภาพของผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่ง ลิขสิทธิ์ หมายถึง สิทธิแต่ผู้เดียวที่จะทำการใดๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น ส่วนงานอันมีลิขสิทธิ์ หมายถึง งานสร้างสรรค์ประเภทวรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ หรืองานอื่นใดในแผนวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ ของผู้สร้างสรรค์ไม่ว่างานดังกล่าวจะแสดงออกโดยวิธีหรือรูปแบบอย่างใด ตามมาตรา 15
1. วัตถุประสงค์และลักษณะของการใช้งานลิขสิทธิ์
2. ลักษณะของงานอันมีลิขสิทธิ์
3. ปริมาณและเนื้อหาที่เป็นสาระสำคัญที่ถูกนำไปใช้เมื่อเทียบกับเนื้อหาทั้งหมด
4. ผลกระทบต่อตลาดหรือมูลค่าของงานอันมีลิขสิทธิ์
การทำซ้ำโดยบรรณารักษ์ของห้องสมุดซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หากการทำซ้ำนั้นมิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อหากำไร และได้ปฏิบัติตามมาตรา 32 วรรคหนึ่ง ในกรณีดังต่อไปนี้
1. การทำซ้ำเพื่อใช้ในห้องสมุดหรือให้แก่ห้องสมุดอื่น
2. การทำซ้ำงานบางตอนตามสมควรให้แก่บุคคลอื่นเพื่อประโยชน์ในการวิจัยหรือการศึกษา
ได้รับทราบถึงสถานการณ์ปัจจุบันของห้องสมุดดิจิทัล และได้รับความรู้ถึงแนวปฏิบัติและข้อพึงระวังสำหรับห้องสมุดดิจิทัลที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน รวมถึงได้รับฟังการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการพัฒนาบริการและสารสนเทศของห้องสมุดจากผู้มีประสบการณ์จริง เพื่อให้เกิดการระดมความคิดสำหรับการพัฒนาห้องสมุดดิจิทัลในอนาคต รวมทั้งยังสามารถช่วยสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาและห้องสมุดอื่นๆ ได้