นางสาวจันทิมา เจริญผล
ตำแหน่ง นักวิชาการโสตทัศนศึกษา
เพื่อหาแนวทางในการพัฒนานักศึกษาและบุคลากรที่ทำงานด้านกิจการนักศึกษาได้เข้าแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเพื่อได้แนวคิดในการปฏิบัติงาน
นายทองสุข สีลิด กำนัน ตำบลบึงกาสาม (ผู้นำชุมชน) บรรยายเรื่องมหาวิทยาลัยกับชุมชน กล่าวถึงปัญหาเพื่อต้องการให้ทางมหาวิทยาลัยฯ นำไปสู่ทางแก้ไขของชุมชน ชุมชนได้รับเงินสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐบาล แต่ยังขาดความรู้ ความชำนาญ กระบวนการ เทคโนโลยี และมีความต้องการให้มหาวิทยาลัยเข้ามาร่วมบูรณาการ จัดการปัญหาของชุมชน สร้างกระบวนการจัดการให้ประชาชนทำงานให้ง่ายขึ้น เช่นการจัดทำระบบฐานข้อมูลชุมชน
ผศ.ดร.มโน สุวรรณคำ บรรยายเรื่องการยกระดับงานด้านพัฒนานักศึกษา กล่าวถึงศักยภาพทางด้านความคิด (IQ 20% : EQ 80%) แนะนำให้นำแบบประเมินด้าน EQ มาใช้ประเมินนักศึกษาในทุกเทอม เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของอาจารย์ที่ปรึกษา มหาวิทยาลัย ผู้ประกอบการและของประเทศ เพื่อยกระดับตัวตนของประชาชน
การขับเคลื่อนให้มีการเปิดรายวิชา และวิธีป้องกันเพื่อการแก้ปัญหา ผู้เข้าร่วมโครงการได้แบ่งกลุ่มผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน เป็น 2 กลุ่ม หารือแนวทางการพัฒนานักศึกษากับการบรูณาการบริการของมูลนิธิรากแก้ว ความกังวลในการเปิดรายวิชาและการบริหารหลักสูตร
กลุ่มระดับผู้บริหาร คือ 1. การจัดสรรงบประมาณ 2. การจัดการเรียนการสอน/หลักสูตร ความพร้อมของชุมชน จำนวนผู้เข้าเรียน การเลือกรายวิชาเพื่อให้สัมพันธ์กับคณะ 3. ผู้รับผิดชอบ วิธีการแก้ปัญหาคือ หลักสูตรรายวิชา การตั้งคณะกรรมการจัดตั้งหลักสูตร
กลุ่มระดับผู้ปฏิบัติงาน คือ 1. วิธีการของผู้รับผิดชอบ นักศึกษามีความสนใจ เลือกเรียน การตอบรับในแง่ดีหรือแง่ลบ ความปลอดภัย วิธีการป้องกัน การสนับสนุนทรัพยากร 2. หลักสูตรที่เปิดสอน วิธีการแก้ปัญหา จัดตั้งผู้ดูแล คณะ หน่วยงาน หรือแต่งตั้งคณะกรรมการ
ผศ.สุมานิการ์ จันทร์บรรเจิด บรรยายเรื่อง รูปแบบกิจกรรมนักศึกษากับงานบริการวิชาการแก่ชุมชน ได้กล่าวถึงโครงการมูลนิธิรากแก้ว กิจกรรมเสริมทักษะการเรียนรู้และทำงานร่วมกับชุมชน เพื่อสร้างความเข้าใจแนวทางในการขับเคลื่อนโครงการตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้วยพลังนักศึกษา พัฒนาองค์ความรู้ในพื้นที่เป้าหมาย วิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ โดยผ่านการบวนการสำรวจข้อมูล เก็บข้อมูลของพื้นที่และนำมาวิเคราะห์จากความต้องการของสังคม มองปัญหา และนำข้อมูลกลับไปยังชุมชนเพื่อให้พัฒนาปรับแผนโดยให้ตกผลึก และนำมาเป็นกิจกรรมรากแก้ว คือการบริการวิชาการเป็นพันธกิจหนึ่งในยุทธศาสตร์การบูรณาการ ทำนุบำรุงศาสนา การพัฒนาศักยภาพ บูรณาการและขับเคลื่อนในทิศทางที่ชัดเจน ตัวอย่างเช่น
กลุ่มนักศึกษาที่เข้าร่วมคือ ผู้นำศึกษาที่มีจิตใจในการทำงาน ซึ่งต้องทำให้อยู่ในกลุ่มวิชาเรียน หรือวิชาเลือก โดยจะผลักดันให้มีการเปิดรายวิชาต่อไป เพื่อนำไปพัฒนาต่อเนื่องและยังยืน สร้างระบบและบูรณาการโดยมีเงื่อนไขตรงกับศาสตร์พระราชา ศาสตร์สากลของมหาวิทยาลัยฯ รายวิชาที่สอนของแต่ละคณะ ภูมิปัญญาท้องถิ่น อัตลักษณ์ของชุมชน
1.1 ความสำคัญและหลักการของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
1.2 ภูมิศาสตร์ชุมชน
1.3 แนวทางการจัดเก็บปัญหาและความต้องการจำเป็นของชุมชน
1.4 การบูรณาการศาสตร์ของคณะต่างๆ มาใช้ในการแก้ไขปัญหาชุมชน
1.5 การเขียนโครงการเพื่อการแก้ไขปัญหาชุมชน
2.1 แนะนำรายวิชา
2.2 ลงพื้นที่เพื่อศึกษาชุมชน (แนะนำโดยผู้นำชุมชน)
2.3 เก็บความต้องการจำเป็นของชุมชน
2.4 นำเสนอปัญหาชุมชนและคัดเลือกปัญหาชุมชนที่ต้องการแก้ไขเร่งด่วน
2.5 เขียนโครงการเพื่อของบประมาณและนำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหา และหาหน่วยงานช่วยเหลือ/แก้ไขปัญหา
2.6 นำเสนอผลลัพธ์ของกิจกรรม
2.7 จัดประกวดกิจกรรม best practice
นายวิรัช โหตระไวศยะ บรรยายเรื่องแนวทางการดำเนินงานด้านพัฒนานักศึกษาตามยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยฯ แนวทาง “ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมพัฒนา” มหาวิทยาลัยกับชุมชนมุ่งเน้นโรงเรียนใกล้มหาวิทยาลัยฯที่อยู่แถบรังสิต ดูแลชุมชน สภาพแวดล้อม ลงพื้นที่ สร้างกิจกรรมกับชุมชนภายใต้มูลนิธิรากแก้ว ประชาสัมพันธ์การรับนักศึกษารีไทร์ตามเกณฑ์มาตรฐานมหาวิทยาลัยฯ การดูแลสภาพจิตใจนักศึกษา ตรวจสอบสถิติการมีงานทำของนักศึกษาที่จบไปแล้ว การขอทุนของนักศึกษาที่ได้รับเรียบร้อยแล้ว ระบบการกู้ กยศ. กรอ. และ นักศึกษาทุนพระราชทาน ได้รับทุนการศึกษาแล้วต้องเข้มงวดเรื่องเกรด เรียนจบตามเกณฑ์ การทำระบบของสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน ตารางใบรับรองจบให้รับได้ภายใน 5 นาที การพัฒนา QR Cord ระบบนักศึกษา การสร้างกิจกรรมดูแลนักศึกษา ระบบการให้ทุน ระบบทะเบียนนักศึกษา นักศึกษา กยศ. กรอ.
ได้รับความรู้ ความเข้าใจเรื่องการพัฒนาองค์ความรู้ในการปฏิบัติงานด้านพัฒนานักศึกษาเพื่อนำมาบูรณาการวิชาการสู่แก่สังคมและชุมชน โดยผ่านมูลนิธิรากแก้ว และข่าวสารของกิจกรรมนักศึกษา