นางสาวธัญลักษณ์ แซ่โง้ว
ตำแหน่ง บรรณารักษ์
ในโครงการรณรงค์ป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ ซึ่งบรรยายโดยนายกล้านรงค์ จันทิก พอจะสรุปเนื้อหาคือ มนุษย์เรามีกรอบที่ใช้ในการควบคุมความประพฤติของมนุษย์อยู่ 3 กฎ ดังนี้
1. กฎหมาย ซึ่งในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่๒) พ.ศ. ๒๕๕๔ ให้ความหมายคำว่า “ทุจริตต่อหน้าที่” หมายถึง ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่ หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในพฤติการณ์ที่อาจทำให้ผู้อื่นเชื่อว่ามีตำแหน่งหรือหน้าที่ ทั้งที่ตนมิได้มีตำแหน่งหรือหน้าที่นั้นหรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่ ทั้งนี้เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบสำหรับตนเองหรือผู้อื่น ซึ่งจะมีบทลงโทษความผิดเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดในหน่วยงานของรัฐ
โดยจะยกตัวอย่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องที่ว่าด้วย “การฮั้ว” ซึ่งจะมีบทลงโทษความผิดเจ้าหน้าที่ของรัฐตามมาตราดังนี้
มาตรา 10
เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐผู้ใด ซึ่งมีอำหนาจหรือหน้าที่ในการอนุมัติ การพิจารณาหรือการดำเนิการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเสนอราคาครั้งใด รู้หรือมีพฤติการณ์ปรากฎแจ้งชัดว่าควรรู้ว่า การเสนอราคาในครั้งนั้นมีการคกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ละเว้นไม่ดำเนินการเพื่อให้มีการยดเลิกการดำเนินการเกี่ยวกับการเสนอราคาในครั้งนั้น มีความผิดฐานกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่
มาตรา 12
เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือกระทำการใดๆ โดยมุ่งหมายมิให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม เพื่อเอื้ออำนวยแก่ผู้เข้าทำการเสนอราคารายใดให้เป็นผู้มีสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐ มีความผิดฐานกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่
มาตรา 13
ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือกรรมการหรืออนุกรรมการในหน่วยงานของรัฐ ซึ่งมิใช่เป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือกระทำการใดๆ ต่อเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐซึ่งมีอำนาจหรือหน้าที่ในการอนุมัติการพิจารณา หรือการดำเนินการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเสนอราคาเพื่อจูงใจหรือทำให้จำยอมต้องยอมรับการเสนอราคาที่มีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำความผิดฐานกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่
2. กฎสังคม คือทำอย่างไรให้สังคมไม่ยอมรับการคอรับชั่นการทุจริต ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่หน่วยงานราชการควรสร้างวัฒนธรรมขึ้นมาให้รังเกียจการคอรับชั่น แล้วให้ทุกคนเป็นหูเป็นตา ทำให้เรียนรู้ว่าการทุจริตนั้นเกิดผลกระทบกับตัวเองอย่างไร ลึกไปถึงประชาชน หากมีการคอรับชั่นแล้วจะเกิดปัญหาอย่างไรต่อประชาชน
3. กฎแห่งกรรม หมายถึงสิ่งใดก็ตามที่เราทำดีหรือไม่ดี สิ่งนั้นจะย้อนกลับมาหาตัวเราเอง ถ้าทำดีกรรมดีก็กลับมา ถ้าทำไม่ดีกรรมนั้นก็ย้อนสนองตัวเอง
ถึงแม้กฎหมายจะดีขนาดไหนก็ตามแต่ยังมีช่องโหว่อยู่ บางครั้งยังมิอาจดำเนินคดีได้ทั้งหมด ซึ่งอาจต้องหาหลักฐานหาประจักษ์พยานเพิ่มเติมเพื่อมาพิสูจน์ ซึ่งหากหาไม่ได้ก็ไม่สามารถดำเนินคดีกับคนทุจริตได้ ดังนั้นบางครั้งกฎหมายยังทำให้คนไม่เชื่อว่าจะสามารถแก้ไข้ปัญหาการทุจริตได้จริง จึงเกิดกฎสังคมขึ้น และหากสองกฎแรกยังทำอะไรคนทุจริตไม่ได้แต่กฎแห่งกรรมนี้จะไม่มีทางที่จะละเว้นคนทุจริตคอรับชั่นได้
1. กระแสบริโภคนิยม วัตถุนิยม นิยมในสิ่งที่เกินกว่ารายได้ของตนเอง
2. โครงสร้างสังคมไทย ระบบอุปถัมภ์
3. กระบวนการยุติธรรมไม่เข้มแข็ง
4. การแทรกแซงจากผู้มีอิทธิพลและนักการเมือง
5. ความเบื่อหน่ายและเพิกเฉยของประชาชนต่อการทุจริต
1. ความไม่รู้กฎหมาย
2. จำเป็น
– เพื่อประโยชน์ของทางราชการ
– เกรงกลัว
3. ทุจริต
ดังนั้นไม่ว่าอะไรก็ตามควรทำให้ถูกต้องตามกฎและระเบียบ เพื่อความสุขใจ ภาคภูมิใจและไม่เป็นทุกข์ตลอดในการที่ปฏิบัติงานราชการ
ประโยชน์ที่ได้รับ
– ได้รับความรู้เกี่ยวกับกฎหมายการทุจริตคอรับชั่น
– ได้ทราบสถานการณ์ปัญหาการทุจริตของประเทศ
ปัญหาอุปสรรค / ข้อเสนอแนะ
– ในงานที่มีความเสี่ยง เช่น การตรวจรับ ควรจัดทำคู่มือหรือแนวทางที่ดีในการปฏิบัติงานเพื่อป้องกันการทุจริตโดยความไม่รู้
– การทุจริตอยู่ที่จิตสำนึกและใจ ดังนั้นควรปลูกฝังในเรื่องของศีลธรรมที่ตัวบุคคลด้วย