นางวันดี เจียมสมบุญ
ตำแหน่ง บรรณารักษ์
สรุปรายละเอียดเนื้อหาการสัมมนา
“การอุดมศึกษาในยุคของความเปลี่ยนแปลง” โดย รศ.ดร. สมศักดิ์ มิตะถา
แนวทางที่จะนำทุกมหาวิทยาลัยสู่ทางรอดในศตวรรษที่ 21
1. จะต้องผลิตบุคลากรที่มีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะการคิดที่เป็นระบบ
2. มหาวิทยาลัยต้องสนับสนุน ส่งเสริม คณาจารย์ นักศึกษา เพื่อก้าวสูการเป็นผู้ประกอบการใหม่
3. จะต้องสนับสนุนให้นักศึกษา คณาจารย์ สร้างเทคโนโลยี หรือนวัตกรรมใหม่
4. ให้ทุนการศึกษาในการทำวิจัยแก่คณาจารย์
5. สร้างองค์ความรู้ และนวัตกรรมใหม่ การทำงานวิจัย
6. สร้างแรงจูงใจให้ภาคเอกชนเห็นถึงความสำคัญของการร่วมพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรม เช่น การลดหย่อนภาษีให้กับภาคเอกชน
7. เปิดกว้างให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมกับการศึกษาวิจัยในสถาบันการศึกษา โดยโจทย์ของการศึกษาวิจัย ควรตอบสนอง การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในภาคการผลิตได้จริง
8. ต้องสร้างเทคโนโลยีที่เหมาะสม สามารถนำไปปรับใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน
“Rethink and Reform : สู่บริการห้องสมุดเต็มประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน” โดย รศ.ดร.อมร เพชรสม
Why do we need to transform the Library? ทำไมเราต้องเปลี่ยนแปลงห้องสมุด?
1. ปัจจัยทางด้านนโยบาย
2. ความเสี่ยงและความต้องการของผู้ใช้
3. การปฏิรูปโครงสร้างองค์กร
4. งบประมาณที่มีน้อย
5. การจัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพ
6. การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
7. ความยั่งยืนและการมีส่วนร่วมทางสังคม
Risk and Crisis ความเสี่ยงและวิกฤตการณ์ของห้องสมุด
1. เด็กหายรายได้หด
2. ห้องสมุดหมดความสำคัญ
3. ผู้ใช้ไม่มีความสุข
4. ต้นทุนการดำเนินงานที่สูงขึ้น
5. ความท้าทายจากภาคเอกชน
6. ความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
Rethink คิดใหม่ บทบาทของห้องสมุดจะเป็นอย่างไรจะเหมือนเดิมหรือจะปรับเปลี่ยนจะต้องดำเนินการ
1. Swot analysis
2. Collection development (worth,updata and needed)
3. Space (comfortable and ample)
4. Support life long learning
5. Customer focus
6. International accreditation
“Green Library สู่ Green Office: ความสำเร็จขององค์กรกับความรับผิดชอบต่อสังคม”
โดย ดร.อารีย์ ธัญกิจจานุกิจ
ห้องสมุดสีเขียว Green Library เป็นห้องสมุดที่มีการอนุรักษ์พลังงาน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการเรียนรู้ในเรื่องการประหยัดพลังงาน และการอนุรักษ์พลังงาน สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้เป็นผู้คิดริเริ่มพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ในด้านการพัฒนาเครือข่ายห้องสมุดสีเขียวขึ้น
เครือข่ายห้องสมุดสีเขียว เป็นเครือข่ายความร่วมมือของห้องสมุดที่ให้ความสนใจด้านการอนุรักษ์พลังงาน และสิ่งแวดล้อม มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันพัฒนาสารสนเทศและให้บริการความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงาน และสิ่งแวดล้อม ร่วมกันจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การบริหารจัดการพลังงาน และสิ่งแวดล้อมระหว่างหน่วยงานงานความร่วมมือ โดยมีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรมส่งเสริมคุณภาพ สิ่งแวดล้อม องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) กระทรวงพลังงาน และสมาคมห้องสมุด แห่งประเทศไทยฯ เป็นที่ปรึกษา หน่วยงานเครือข่ายความร่วมมือได้ร่วมกันพัฒนาห้องสมุดสู่การเป็นศูนย์ เรียนรู้และคลังความรู้ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม
มาตรฐานห้องสมุดสีเขียวมีสาระสำคัญดังนี้
หมวดที่ 1 ว่าด้วยเรื่องนโยบายด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่ง ของนโยบายการบริหารงานห้องสมุด
หมวดที่ 2 ว่าด้วยเรื่องโครงสร้างพื้นฐานทางด้านกายภาพและเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กำหนดให้ห้องสมุดมีโครงสร้างพื้นฐานหรือลักษณะทางกายภาพที่เอื้อต่อการลดการใช้พลังงานและลด ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในการให้บริการและการบริหารจัดการ ห้องสมุด มีการใช้เทคโนโลยีเพื่อการจัดการพลังงาน การจัดการขยะ การลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก รวมทั้ง การจัดการภูมิทัศน์และการเพิ่มพื้นที่สีเขียว
หมวดที่ 3 ว่าด้วยเรื่องการจัดการทรัพยากรและพลังงาน กำหนดให้มีการใช้ทรัพยากรและพลังงาน อย่างมีประสิทธิภาพ มีการรณรงค์และสร้างความตระหนักรู้ในการใช้ทรัพยากรอย่างงรู้คุณค่า ลดปริมาณของ เสีย และหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ก่อให้เกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม ทั้งภายในและภายนอกอาคารห้องสมุด
หมวดที่ 4 ว่าด้วยเรื่องการจัดการของเสียและมลพิษ กำหนดให้มีการจําแนกประเด็นปัญหาด้านของ เสียและมลพิษ กำหนดมาตรการการจัดการขยะ นำของเสีย และมลพิษทางอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ หลีกเลี่ยง กิจกรรมที่ก่อให้เกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกอาคารห้องสมุด
หมวดที่ 5 ว่าด้วยเรื่องการบริหารจัดการและการให้บริการห้องสมุดเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ห้องสมุดจะต้องมีทรัพยากรสารสนเทศ เช่น หนังสือ วารสาร ข้อมูลความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับพลังงานและสิ่งแวดล้อมคิดเป็นปริมาณ 5% ของทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมด ต้องมีกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้พลังงานและสิ่งแวดล้อม
ให้กับผู้ใช้บริการ
หมวดที่ 6 ว่าด้วยเรื่องบทบาทของบุคลากรห้องสมุด และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้แก่ บุคคลในหน่วยงานไล่มาตั้งแต่ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน แม่บ้าน ต้องร่วมมืออนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
หมวดที่ 7 ว่าด้วยความร่วมมือเครือข่ายห้องสมุดที่สามารถแลกเปลี่ยนทรัพยากรสารสนเทศ การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้และทำงานร่วมกันในลักษณะเครือข่ายความร่วมมือ เพื่อจะได้ขับเคลื่อนห้องสมุดอย่างมีพลัง
หมวดที่ 8 ว่าด้วยเรื่องการประเมินคุณภาพ จะตรวจวัดใน 7 หมวดที่กล่าวมาว่าทำอะไรบ้าง เช่น ตรวจวัดการลดปริมาณขยะ คุณภาพน้ำเสีย ปริมาณก๊าซเรือนกระจก การจัดกิจกรรมของห้องสมุด
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. ทำให้ทราบถึงแนวทางการเปลี่ยนแปลงของมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่จะต้องเปลี่ยนแปลงเพื่อ
ความอยู่รอดในศตวรรษที่ 21
2. ทราบแนวทางการเปลี่ยนแปลง บทบาทของห้องสมุดที่จะต้องดำเนินการสู่การบริการที่มี
ประสิทธิภาพ
3. ทราบถึงมาตรฐานของห้องสมุดสีเขียว การอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมภายในห้องสมุด