แหล่งที่มาภาพ:@dronecnx
นายวันชัย แก้วดี
ตำแหน่ง นักวิชาการโสตทัศนศึกษา ชำนาญการ
การถ่ายภาพทางอากาศยานโดยอากาศยานไร้คนขับ (โดรน) Aerial Photography by Drone โดย ผศ.ดร. สุรพล บุญลือ และดร.ไพฑูรย์ กานต์ธัญลักษณ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
วิวัฒนาการอากาศยานไร้คนขับ (Drone)
วิวัฒนาการอากาศยานไร้คนขับ (Drone) แบ่งเป็น 2 ยุค ก็คือยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง และยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ความหมายคำว่า “Drone” ทำหน้าที่นำมาใช้ในภารกิจทหาร ในส่วนของภารกิจทหารสมัยก่อนนั้น ก็จะมีในเรื่องของเทคโนโลยี Radar ในการตรวจจับ จะต้องใช้เครื่องบินจริง ๆ ใช้นักบินจริง ๆ ในการที่จะบินเข้าไปตรวจจับ เพื่อที่จะหาข่าวต่าง ๆ ดังนั้น เมื่อเกิดการโจมตี หรือเกิดการจู่โจมขึ้นมา ก็จะเกิดการสูญเสีย จำนวนมหาศาล จึงมีมีแนวคิดว่า จะต้องสร้างเครื่องบินที่ไม่มีคนขับ เพื่อที่จะเข้าไป ค้นหา ตรวจจับ หรือว่าเข้าไปถ่ายภาพ ไปหาข่าวต่าง ๆ ในปัจจุบันนี้นะครับ อากาศยานไร้คนขับ นอกเหนือจากจะนำมาใช้ในภารกิจทหารแล้ว ยังมีการนำมาใช้ทางด้านพลเรือนด้วย ในยุคของเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้มีการถ่ายภาพในรูปแบบใหม่ขึ้น ที่เราเรียกว่า การถ่ายภาพทางอากาศ ซึ่งสำหรับการถ่ายภาพทางอากาศ ในปัจจุบันนี้ บางคนอาจจะเรียกว่าเป็น UAV ซึ่งย่อมาจากคำว่า Unmanned Aerial Vehicle
องค์ประกอบของอากาศยานไร้คนขับ
ภาพที่ 1 องค์ประกอบของโดรน
ที่มา http://droneswu.blogspot.com/2017/12/1.html
-
Motor ใช้ในการพยุง Drone นั้น ให้ลอยขึ้น หรือให้จอดลง ก็จะใช้ Motor เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ
-
Helicopter ก็คือส่วนควบคุมที่อยู่ตรงกลาง ในการควบคุมทั้ง 4 ใบพัด ให้สามารถทำงานตามที่เราต้องการได้โดย control จาก remote control
-
Propeller ก็คือ ในเรื่องของใบพัด ใบพัดนั้นก็จะแบ่งเป็น 2 ประเภท 2 ทิศทางดังนั้นการใส่ใบพัดลงไปต้องดูว่าใส่ใบพัดเข้าไปนั้น ถูกต้องตามทิศทางหรือไม่ถ้าใส่ผิดอาจจะเกิดการเสียสมดุล หรือว่าทำให้เกิดการตกได้
-
Protection framework หรือตัวป้องกันใบพัดและสามารถปกป้องไม่ให้ใบพัดนั้นไปทำอันตรายกับผู้ทำการบินหรือผู้ที่อยู่ใกล้เคียง หรือประชาชนที่อยู่ทั่ว ๆ ไป
-
Landing gear ใช้ในการป้องกันหรือตัวที่เป็นขาตั้งเพื่อที่จะทำการจอด ให้เกิดความสมดุล คือไม่เอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง สามารถจอดลงได้ในทิศทางที่เหมาะสม
-
Video Shot กล้องที่ใช้ในการถ่าย ไม่ว่าจะเป็นถ่ายภาพนิ่ง หรือถ่ายภาพวิดีโอ
-
Night light คือแสงไฟที่ใช้เวลาเราบินในเวลากลางคืน ดังนั้น Night light ก็จะเป็นตัวที่คอยบอกสถานะของว่าด้านไหนคือด้านหน้า ด้านไหนคือด้านหลัง
ประเภทของอากาศยานไร้คนขับ
ประเภทของอากาศยานไร้คนขับแบ่งเป็น 3 ประเภทด้วยกัน
1.ประเภทปีกหมุน (Multirotor) ที่เราเคยเห็นทั่วไปๆ ก็คือปีกหมุนก็จะแบ่งเป็นหลายๆขาด้วยกัน บางประเภทก็จะมีแค่ 4 ขา ปีกหมุนบางประเภทหรือบางประเภทมี 6 ขามี 8 ขาซึ่งประเภทเหล่านี้เราจะเรียกว่าประเภทที่เป็นปีกหมุนนั่นเอง จะมีปีกในการติดที่จะติดตั้ง ซึ้งสามารถถอดได้เก็บได้พับได้
2.ประเภทปีกยึด (Fixed wing) ลักษณะของการขึ้นบินและการคอนโทรนนั้นก็จะมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการขึ้นและลง สามารถที่จะบินในลักษณะของระยะไกลๆ และเกิดความเร็วสูงได้ ดังนั้นภารกิจจะใช้ในการสำรวจนะครับสำรวจในระยะทางไกลๆ
3.ประเภทไฮบริด (Hybrid) เป็นการผสมกันระหว่างปีกหมุนและก็ปีกยึด ก็คือแบบไฮบริดก็จะทำงานใน 2 ลักษณะนั้นคือลักษณะของการขึ้นอาจจะขึ้นลักษณะของปีกหมุนนะครับ และเมื่อขึ้นไปในระดับหนึ่งก็สามารถบินโดนใช้ความเร็วของลักษณะของปีกยึดได้ก็คือมีการเอนนะครับ มีการเอนลำในลักษณะแนวนอนและก็บินไปในลักษณะแนวนอนซึ่งจะบินไปในลักษณะของปีกยึดได้ ฉะนั้นลักษณะปีกหมุนนั้นลักษณะการทำงานแบบเดียวกันกับฮีรีคอปเตอร์โดยมีใบพัดเป็นแนวนอนนะครับหรือมีใบพัดมากกว่า 2 ใบพัดนะครับเช่น มี 3 ใบพัดก็ได้ 4 ใบพัด 6 ใบพัด 8 ใบพัด
อุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุม
อุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท ก็คือ
-
-
อุปกรณ์ที่ควบคุมจากภาคพื้นดินหรือที่เรียกว่า Remote Control ใช้ในการควบคุมอากาศยานไร้คนขับในลักษณะที่เรามองเห็นด้วยตาเปล่าได้ เช่น ในขณะที่เราควบคุม เราต้องมองเห็นอากาศยานไร้คนขับอยู่ในสายตาตลอดเวลา เราจะสามารถควบคุมได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากที่สุด
-
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ การควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ อาจจะใช้ลักษณะการควบคุมในระยะไกล ซึ่งอาจจะต้องมีการติดตั้งเสาอากาศที่มีกำลังส่งค่อนข้างสูงและบินไประยะไกล ๆ
ดังนั้นอุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมเหล่านี้
Remote Control หรือ Joy Stick จะแบ่งเป็น 2 ด้าน คือด้านซ้ายและด้านขวา
ด้านซ้าย ใช้ในการควบคุมการขึ้นและลง และด้านซ้ายทางขวาใช้ลักษณะของการหมุนรอบตัวเอง เช่น ถ้าเราผลักรีโมทด้านขวามือ อากาศยานไร้คนขับหรือโดรนจะหมุนรอบตัวเองไปด้านขวา ตามเข็มนาฬิกา เราผลักรีโมทด้านซ้าย โดรนจะหมุนมาด้านซ้าย ทวนเข็มนาฬิกา ตำแหน่งของโดรนจะอยู่กับที่ ไม่เคลื่อนที่ไปไหน
ภาพที่ 2 การบังคับโดรนผ่าน Remote Control หรือ Joy Stick
ที่มา https://www.techxcite.com/topic/21053.html
ด้านขวามือของ Remote Control จะพบว่ามีทิศทาง 4 ทิศทางด้วยกัน ก็คือ เดินหน้า ถอยหลัง ขยับไปด้านซ้าย ขยับไปด้านขวา สรุปก็คือ Remote Control ด้านขวา คือ การ Move ในแนวแกน X แกน Y แปลว่า ถ้าจะ Move เข้าหาวัตถุก็ผลักขึ้นด้านบน เดินหน้า ถ้าจะ Move ถอยห่างจากวัตถุก็ผลักลงด้านล่างหรือถอยหลัง
ภาพที่ 3 การบังคับโดรนผ่านแอบพลิเคชั่นสมาร์ทโฟน
ที่มา https://www.facebook.com/dronecnx/photos/a.1502887869970271/1514788375446887/?type=3&theater
กฎระเบียบเกี่ยวกับการถ่ายภาพโดยใช้อากาศยานไร้คนขับ
-
เรื่องของสมรรถนะ ตามกฎหมายจะแบ่งไว้ในลักษณะนี้ก็คือจะแบ่งอยู่ที่ 2 กิโลกรัมครับ เช่น ไม่เกิน 2 กิโลกรัม และน้ำหนักที่เกิน 2 กิโลกรัมขึ้นไป
-
เรื่องภารกิจ ว่าอุปกรณ์ไร้คนขับ (Drone) มีภารกิจแบ่งเป็นสองส่วนด้วยกัน คือ ภารกิจในเรื่องงาน อดิเรก การบินเพื่อความบันเทิง/ฝึกฝนในเรื่องของงานอดิเรก และในเรื่องภารกิจเฉพาะในเรื่อง งานข่าว งานนำเสนอ และภารกิจในการถ่ายภาพ
-
เรื่องระดับความสูงสิ่งที่ต้องคำนึงถึง คือ จะมีกฎหมายบอกไว้ว่า Drone ไม่ควรจะบินไม่เกิน 90 เมตร นับจากระดับความสูงของพื้นดิน เพราะว่าเราไม่สามารถมองเห็นได้รอบทิศในระหว่างการบิน
-
ต้องทำการบินในระหว่างวัน หรือในระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตก ซึ่งเราจะสามารถมองเห็นอากาศยานได้อย่างชัดเจน เราสามารถบินได้ แต่อาจจะเกิดอันตราย เพราะเราไม่สามารถมองเห็นสิ่งที่อยู่รอบ ๆ บริเวณอากาศยานและคนขับโดรนของเราได้ตามระเบียบแล้ว เราควรจะมองเห็นตัวโดรนได้อย่างชัดเจน ห้ามบินเข้าไปใกล้ก้อนเมฆ ซึ่งแปลว่าอากาศในวันนั้นอาจจะมีก้อนเมฆจำนวนมากแล้วเมฆนั้นอาจจะบินต่ำ ซึ่งเราอาจจะใช้ความสูงที่ไม่เกิน 90 เมตร ห้ามทำการบินภายในระยะ 9 กิโลเมตร หรือ 5 ไมล์ทะเลจากสนามบิน หรือที่ขึ้น – ลงชั่วคราวของอากาศยาน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าของ หรือผู้ดำเนินการของสนามบิน เพราะอาจจะไปรบกวน หรือกีดขวางระบบการบินหลักของการบินได้ ในระหว่างบินนั้น ห้ามทำการบินเหนือเมือง หมู่บ้าน ชุมชน หรือพื้นที่ที่มีคนชุมนุมอยู่ ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดอันตรายได้ ห้ามบังคับอากาศยาน เข้าใกล้อากาศยานที่ซึ่งมีนักบินอยู่ ซึ่งอาจจะเกิดอันตราย เกิดความสูญเสียแก่อากาศยานที่มีคนบังคับอยู่ได้ ห้ามทำการบินละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่น ห้ามทำการบินที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อน รำคาญแก่ผู้อื่น ซึ่งมันเป็นกฎหมาย อาจจะถูกฟ้องจับได้ ดังนั้นในระหว่างบินก็ควรระวังและสุดท้ายก็คือ ในระหว่างบิน ห้ามส่งหรือพาวัตถุอันตราย ตามที่กำหนดในกฎหมาย กฎกระทรวงต่าง ๆ หรืออุปกรณ์ปล่อยแสง Laser ติดไปกับอากาศยาน เพราะอาจจะมีในเรื่องของการทำผิดกฎหมาย การส่งยาเสพติดต่าง ๆ รวมถึงอุปกรณ์ที่อาจจะทำให้เกิดระเบิด ทำร้าย ทำลายผู้อื่นได้ ห้ามทำการบินโดยมีระยะห่างในแนวราบกับบุคคลอื่นหรือยานพาหนะ สิ่งก่อสร้าง อาคาร น้อยกว่า 30 เมตร หรือ 100 ฟุตเหนือพื้นดินระหว่างการบินน้ำหนักเกิน 2 กิโลกรัม แต่ไม่เกิน 25 กิโลกรัมนั้น ห้ามทำการบินโดยมีระยะห่างในแนวราบกับบุคคล หรืออาคาร ไม่น้อยกว่า 30 เมตร เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นแก่อากาศยาน ให้ผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยานนั้นแจ้งอุบัติเหตุต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ อย่างรวดเร็ว
-
ต้องทำประกันภัยครับเพราะเนื่องจากว่าอาจจะเกิดอุบัติเหตุหรือความสูญเสียแก่ร่างกาย ชีวิต ตลอดจนทรัพย์สินของบุคคลภายนอก ซึ่งจะต้องมีวงเงินประกันไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาทต่อการบิน 1 ครั้ง จะต้องทำประกันภัยควบคู่ไปกับใบอนุญาตขอบิน
เงื่อนไขในการบังคับหรือการปล่อยอากาศยานไร้คนขับ
-
นามของนิติบุคคลนั้น จะต้องมีหนังสือรับรองหรือหลักฐานที่เกี่ยวกับนิติบุคคล ซึ่งต้องแสดงรายการที่เกี่ยวกับชื่อ วัตถุประสงค์ ที่ตั้งของสำนักงาน และผู้มีอำนาจลงนาม ผูกพันกับนิติบุคคลที่เป็นปัจจุบัน โดยมีคำรับรองของผู้มีอำนาจ การให้คำรับรองตามกฎหมายไม่เกินสามสิบวัน นับจากวันออกหนังสือรับรอง หรือหลักฐานนั้น จะต้องมีรายชื่อหุ้นส่วน ผู้จัดการ หรือกรรมการผู้จัดการ และผู้มีอำนาจในการควบคุม ถ้ามี สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทางของบุคคลตามข้อสองก็จะต้องมีประกอบกันไปด้วยมีรายชื่อของผู้บังคับอากาศยาน และบุคคลอื่นที่จำเป็นจะต้องมีในการปฏิบัติงานของอากาศยานและคนขับนั้น ๆ และสุดท้ายก็คือต้องมีสำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านรวมทั้งเอกสารแสดงความยินยอมตามบุคคล
-
ในนามของบุคคลธรรมดา จะต้องประกอบไปด้วยสองส่วนด้วยกัน คือสำเนาบัตรประชาชน ถ้าเป็นต่างชาติก็จะต้องเป็นสำเนาหนังสือเดินทาง และสำเนาทะเบียนบ้าน จะต้องมีหลักแหล่งที่ชัดเจนสามารถระบุตัวตนได้ ไม่ว่าจะเป็นทั้งสองแบบ ก็คือนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดา จะต้องแสดงแบบหรือยี่ห้อ หรือหมายเลขประจำเครื่องต่าง ๆ จำนวน และสมรรถนะของเครื่อง รวมทั้งอุปกรณ์ที่ใช้ในการติดตั้ง
เทคนิคการถ่ายภาพสำหรับงานวิดีทัศน์
เทคนิคการถ่ายภาพสำหรับงานวิดีทัศน์ โดยอากาศยานไร้คนขับ
-
ของขนาดของภาพที่ใช้ในการถ่ายภาพ แบ่งเป็น 3 ระดับ มุมขนาดกว้าง (long shot) เหมาะสำหรับถ่ายภาพลักษณะกว้าง เพื่อให้มองเห็น landscape หรือมองเห็นพื้นที่บริเวณนั้นโดยกว้าง มุมขนาดกลาง (medium shot) คือการเข้าไปใกล้วัตถุ หรือเข้าไปใกล้สิ่งก่อสร้างนั้นให้เห็นรายละเอียดมาขึ้น และมุมภาพขนาดใกล้ หรือขนาดแคบ เราใช้เลนส์แบบเดียวกันแต่เราไปถ่ายใกล้ๆ เพื่อให้เห็นรายละเอียดว่าเขากำลังทำอะไรอยู่ ดังนั้นจะพบว่าตัวโดรน จะใช้ลักษณะของภาพขนาดกว้าง ขนาดกลาง และขนาดแคบ
-
มุมภาพ แบ่งเป็น มุมทางดิ่ง หรือ birds eye view แปลว่าเป็นมุมมองของนก ซึ่งเค้าจะมีลักษณะการแบ่งขนาดก็คือ จะต้องมองลงไปในแนวดิ่ง 90องศา เหมือนกับเรามองลงไปพื้น 90องศา แล้วก็จะมองเห็นเป็น over view มุมในทางเฉียงเหมือนเรามองในลักษณะเฉียงลงในแนว 30 องศา ซึ่งเราก็จะมองสิ่งที่ไม่ได้อยู่ด้านล่าง จะมี 2 แบบ คือเฉียงต่ำกับเฉียงสูงเฉียงต่ำคือประมาณ 30องศา ซึ่งเราจะมองไม่เห็นขอบฟ้า แต่ถ้าเป็นเฉียงสูง เราจะมองในแนว 60องศา ซึ่งจะพบว่า มีขอบฟ้า มุมระดับสายตา แปลว่ากำลังบินถ่ายวัตถุ ที่อยู่ขนานกับตัวอากาศยานไร้คนขับ เหมือนกับสายตาที่เรากำลังมองอยู่ระดับเดียวกัน
-
การเคลื่อนไหวของกล้อง โดรนก็จะมีการเคลื่อนไหวในลักษณะแนวดิ่ง ขึ้น-ลง แล้วก็ไป ซ้าย-ขวา ตัวโดรน ซึ่งเคลื่อนไหวตามแกนอะไรครับ แกน x แกน y แกน z หรือเคลื่อนไหวในลักษณะของทางโค้งหรือที่เรียกว่า การ ARC การ TRACK การ ARC ก็คือ การโค้งไปรอบๆวัตถุนะครับ แล้วก็การ TRACK คือการติดตามวัตถุไปในทิศทางต่างๆ
การประเมินคุณภาพของการถ่ายภาพทางอากาศยาน
สิ่งที่ถ่ายทำมานั้นตรงกับที่ได้เขียนสคริปหรือตรงกับวัตถุประสงค์ที่เราต้องการนำเสนอหรือไม่
ทีนี้วิธีการประเมินจะก็แบ่งไปตามลักษณะงานในการนำเสนอ ให้คำนึงถึงเรื่องของการประเมิน 2 ด้าน คือ 1. ด้านเนื้อหา 2. ด้านคุณภาพ
กระบวนการทั้งหมดอยู่ 4 ขั้นตอน
1. การเตรียมงาน (Pre-Production) กระบวนการที่ใช้ในการบินโดรน จะมีอยู่ 3 ขั้นตอนใหญ่ๆ คือ 3A 2C และ 1P
3A คือ การวิเคราะห์ (Analysis) ประกอบด้วย
– วิเคราะห์โจทย์ (Task Analysis) จะเป็นตัวกำหนดรูปแบบของการบิน กำหนดอุปกรณ์ที่เราจำเป็นจะต้องใช้ กำหนดให้เราจะต้องวิเคราะห์ว่าเราจะต้องใช้เวลาในการบินเท่าไหร่
– Location Analysis การวิเคราะห์สถานที่ สามารถทำได้สองรูปแบบ
ก็คือ การวิเคราะห์จากออนไลน์ ใช้ google map ในการดูพื้นที่ ดูเส้นทางอะไรต่างๆ เราสามารถที่จะใช้ ตัวสถานที่ก็คือตัว google map เช็คก่อนได้ว่าก่อนที่เราจะไปบิน
มันจะมีลักษณะอย่างไรบ้าง อันนั้นก็คือใช้ google map ได้ รวมถึงเราสามารถใช้แอพพลิเคชั่น บางตัวนะครับเอาเข้ามาช่วยในการวิเคราะห์
– Equipment Analysis การวิเคราะห์อุปกรณ์ที่เราใช้เพียงพอหรือป่าว ก็คือการวิเคราะห์อุปกรณ์เรานะครับ
2C ขั้นตอนก่อนบิน
1. Location Confirm ตรวจสอบสถานที่ก่อนที่เราจะทำการบินอีกทีหนึ่งว่าเป็นพื้นที่ห้ามบิน
2. Equipment Confirm การตรวจสอบอุปกรณ์ต่าง ๆ ว่ามีความพร้อมที่จะขึ้นบินหรือไม่ Battery ความสมบูรณ์ของใบพัด อินเทอร์เน็ตสามารถเชื่อมต่อได้
1 P คือ Prepare คือ เตรียมอุปกรณ์เตรียมอุปกรณ์ทั้งหมดให้พร้อมก่อนที่เราจะทำการบิน เพราะฉะนั้นการบินต่าง ๆ ของการบิน
2. กระบวนการถ่ายทำ(Production) สรุปจะมีทั้งหมด 4C คือ
-
Concern คือ อากาศยานไร้คนขับนี้จะต้องอยู่ในสายตาของคนบังคับอยู่ตลอดเวลา
-
อากาศยานไร้คนขับจะต้องมีผู้ควบคุมอยู่ตลอดเวลา
-
Conduction ทำการบินด้วยความระมัดระวังไม่ควบคุมอากาศยานในลักษณะที่ก่อให้เกิดอันตราย
-
Confirm เราควรจะตรวจเช็คเรื่องของระดับของ Battery เราควรจะตรวจเช็คในเรื่องของพลังงาน หรือสัญญาณที่เกิดจากการแจ้งเตือนต่าง
3.กระบวนการหลังการผลิต (Post-Production) สรุปออกมาเป็น 3C คือ
-
File Checking คือการตรวจสอบไฟล์เราใช้หลังการบันทึกมา ในหลังจากที่เราบินโดรนลงมาเรียบร้อยแล้ว ไฟล์ที่เราบันทึกมาครบถ้วน
-
โดรน Checking ตรวจสอบอากาศยานของเรานะครับว่ามีความเสียหายบ้างตรงไหน
-
การ Create หรือการนำภาพที่ได้มานะครับ มาทำการลำดับ ทำการตัดต่อ
4. การนำเสนอ (Present) การ Publicizing ก็คือการเผยแพร่ออกไปบนช่องทางต่างๆ ในช่องทางต่างๆ ของสื่อที่เราจะเผยแพร่ไป ก็ตามวัตถุประสงค์ของการใช้งานเราต้องการจะผลิตมาเพื่อไปใช้ในสื่อตัวไหน ก็ควรจะปรับให้เหมาะสม เช่น ตรวจสอบช่องทางในการเผยแพร่ก่อน เช่น เราจะออกไปบน Youtube จะมีรายละเอียดของภาพเท่าไรบนโทรศัพท์มือถือ หรือ บนเครือข่าย Social media อื่นๆ เราควรจะใช้ภาพที่มีขนาดเท่าไร หรือการเผยแพร่ผลงาน โดยการ Wright ลงแผ่น DVD Blu-ray Disc หรือ CD เพื่อจะส่งงานให้ลูกค้า
ทักษะการควบคุมอากาศยานไร้คนขับ
ทักษะการควบคุมอากาศยานไร้คนขับมีอยู่ 3 ทักษะคือ
-
การควบคุมอากาศยานไร้คนขับเบื้องต้น คือ เรื่องของการ Take Off กับการ Landing การบินโดยใช้คันบังคับที่อยู่ทางด้านขวา ในการเคลื่อนที่ไปทางซ้าย ขวา บน ล่าง การหมุน เป็น Rotate ทั้งหมด 9 ขั้นตอน
-
การควบคุมทิศทางการบินตามเส้นทางที่กำหนด คือลักษณะของการหมุนแบบ 360 องศาตามเข็มนาฬิกาตามเข็มนาฬิกาก็คือจากซ้ายไปขวา และการหมุนแบบ 360 องศาแบบทวนเข็มนาฬิกาก็คือจากขวาไปซ้าย แบบฝึกที่ 2 ซึ่งมีด้วยกัน 6 ขั้นตอน
-
รูปแบบการควบคุมอากาศยานไร้คนขับตามภารกิจเฉพาะต่าง ๆ มี 9 ขั้นตอน
อย่างไรก็ตามการฝึกเป็นเพียงแค่ทฤษฎีควรจะหาโอกาสในการฝึกโดยอาจจะใช้ Drone ที่มีอยู่ใน Simulate ในเกมก็ได้ในที่ต่าง ๆ ก็ได้ลองฝึกลองใช้ในโทรศัพท์มือถือของเราลองโหลด App บางตัวที่เป็นลักษณะของการควบคุม Drone มาเพื่อลองฝึกก่อนก็ได้นะครับ เป็นการทดสอบก่อนที่เราจะไปใช้จริงทำให้ได้ตามมาตรฐานต่าง ๆ การควบคุมอากาศยานไร้คนขับในแบบฝึกต่าง ๆ เหล่านี้ถือเป็นมาตรฐานที่ทั่วโลกใช้กันครับเพราะฉะนั้นในการฝึกอบรมในการเรียนในครั้งนี้เราก็นำมาให้พวกเราได้เรียนรู้ เพื่อจะไปสู่มาตรฐานโลกต่อไปนะครับ
ประโยชน์ที่ได้รับ
-
ได้รับความรู้ในเรื่องวิวัฒนาการอากาศยานไร้คนขับ (Drone) องค์ประกอบ ทักษะการควบคุมอากาศยานไร้คนขับ ประเภท กฎระเบียบและเงื่อนไขในการบังคับหรือการปล่อยอากาศยานไร้คนขับ
-
ได้รับความรู้ในเรื่อง เทคนิคการถ่ายภาพสำหรับงานวีดิทัศน์ การประเมินคุณภาพของการถ่ายภาพทางอากาศยาน
Post Views: 2,003