การจัดการความรู้
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความเป็นมา
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ตั้งอยู่ที่ตำบลคลองหก อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ได้รับการจัดตั้งขึ้นให้เป็นหน่วยงานตามโครงสร้างการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ตามพระราชกฤษฎีกาเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2549 โดยการรวมสองหน่วยงานเข้าด้วยกันคือ สถาบันวิทยบริการ และสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ พื้นที่ดำเนินการประกอบด้วยอาคาร 3 หลัง คือ อาคาร 1(อาคารสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ) มีพื้นที่ขนาด 807 ตารางเมตร อาคาร 2 (อาคารฝึกอบรม) มีพื้นที่ขนาด 807 ตารางเมตร และอาคาร 3 (อาคารวิทยบริการ) มีพื้นที่ 8,000 ตารางเมตร โดยมีพื้นที่ให้บริการด้านวิชาการมากกว่า 8,000 ตารางเมตร
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศได้รวมเอาภารกิจหลักของหน่วยงานเดิมโดยปรับเปลี่ยนให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและความต้องการของผู้รับบริการ ภาระกิจหลักแบ่งเป็น 4 ด้านคือ
งานด้านระบบและเทคโนโลยีสารสนเทศ และการบริการ
งานบริการทรัพยากรกรสารนิเทศและการเรียนรู้
งานพัฒนาและเผยแพร่สื่อการศึกษา
งานพัฒนาศักยภาพบุคลากรและนักศึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการเรียนรู้
จากภารกิจดังกล่าว สำนักฯ ได้จัดทำโครงสร้างโดยแบ่งกลุ่มงานออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่
ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ
ปรัชญา ปณิธาน
สำนักฯ มีปณิธานที่ตอบสนองปณิธานของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี คือ มุ่งเน้นการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีทักษะความชำนาญด้านวิชาชีพ เสริมสร้างทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าให้กับประเทศไทย
วิสัยทัศน์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ (ARIT) ได้กำหนดวิสัยทัศน์จะตอบสนองแรงบันดาลใจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ “For Your Information Learning Technology (ILT) Inspiration” ให้กับบุคลากร นักศึกษา ศิตย์เก่า รวมทั้งประชาชาชนทั่วไป
พันธกิจ
รายชื่อคณะกรรมการการจัดการความรู้ KM
เหตุผลในการจัดการความรู้ภายในสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นหน่วยงานที่เหมาะสมและมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการจัดการความรู้ เนื่องจากเหตุผลต่างๆ ดังนี้
การสร้างองค์ความรู้ (Knowledge Creation)
การจัดเก็บความรู้ (Knowledge Capture)
การประมวลและกลั่นกรองความรู้ (Knowledge Codification)
การแบ่งปันความรู้ (Knowledge Sharing)
และการเผยแพร่ความรู้ (Knowledge Transfer)
ตลอดเวลาที่ผ่านมาสำนักฯ ให้ความสำคัญกับการจัดการความรู้ และพยายามหาวิธีการจัดการความรู้ ที่เหมาะสมเพื่อนำมาใช้พัฒนาการจัดการความรู้ของสำนักฯ ให้เหมาะสมกับการบริหารจัดการและวัฒนธรรมองค์กร บุคลากรสามารถใช้ความรู้ในองค์กรได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ สามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการเพิ่มศักยภาพในการให้บริการ บริหารจัดการ ทั้งของสำนักฯ และมหาวิทยาลัยโดยรวม
ประวัติการดำเนินการ
สำนักฯ ได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้เป็นเวลานานก่อนที่การจัดการความรู้จะเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการตรวจประเมินคุณภาพของมหาวิทยาลัยฯ โครงการกิจกรรมที่สำนักฯ มีส่วนร่วมกับการจัดการความรู้สามารถสรุปได้ดังนี้
งานวิจัย ความร่วมมือ ด้านการจัดการความรู้
โครงการพัฒนาระบบและเว็บไซต์เพื่อจัดทำศูนย์ความรู้ (Thailand Knowledge Center) กระทรวงสารสนเทศและการสื่อสาร (งบประมาณ 14 ล้านบาท)
องค์ความรู้ด้านยาเสพติดในชุมชนกรุงเทพมหานคร โครงการติดตามประเมินผลการดำเนินงานของศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดกรุงเทพมหานคร (ศตส. กทม.) กรุงเทพมหานคร (งบประมาณ 2.4 ล้านบาท)
องค์ความรู้ด้านทุนทางปัญญาของ SME ประเทศไทยกับยุโรป An interactive web-based model for knowledge management and improvement of quality management system (QMS) in the field of adjusted CRM for SME งานวิจัยร่วมระหว่างสถาบันวิจัยด้านเทคโนโลยีมีเดีย (STFI-Packforsk) ประเทศสวีเดน มหาวิทยาลัย Oviedo ประเทศสเปน และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (งบประมาณ 9 ล้านบาท)
องค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการของวิสาหกิจชุมชน โครงการ พัฒนาความเป็นผู้ประกอบการตามแผนปฏิบัติการงานส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น (OTOP) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (งบประมาณ 39 ล้านบาท)
การทำ MOU การพัฒนาสื่อดิจิทัล ร่วมกับอีก 18 มหาวิทยาลัย พิพิธภัณฑ์เสมือน (Virtual Museum) : บัว
การแหล่งเรียนรู้ ทรัพยากรการเรียนรู้
อาคารวิทยบริการ
การพัฒนา Digital Library (www.dl.rmutt.ac.th) เพื่อรวบรวมสื่อดิจิทัลในทุกรูปแบบทั้งการพัฒนาด้วยบุคลากรภายใน และจัดหาจากภายนอกเพื่อประโยชน์ต่อการเรียนรู้
การสร้างและการ Capture องค์ความรู้
พัฒนาสื่อการศึกษาทางไกลเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
การพัฒนาสื่อการเรียนการสอน
การเผยแพร่องค์ความรู้
ห้องเรียนออนไลน์
การจัดทำเว็บไซต์ RMUTT Knowledge Center (www.rmutt.ac.th/uploaddir/KC%20Web/index.html) เพื่อเป็นแหล่งรวมด้านการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยฯ
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
มุมกาแฟ / Lunch Time Discussion
Social Hub / Kaizen
การใช้ Outlook
การใช้ Share point
การตรวจสอบรายงาน Network ทุกเช้า
การประชุมกลุ่มย่อย
สนับสนุนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของนักศึกษา บุคลากร
– สนับสนุนการดำเนินการของชมรม ภาษาต่างประเทศ มัลติมีเดีย
– การใช้งานห้องเธียร์เตอร์, IT Zone, MDC
– ห้อง Discussion
การเตรียมบุคลากร
IT & Information Literacy
Language Literacy
อบรมเชิงปฏิบัติการชุมชนนักปฏิบัติ
แผนการดำเนินการ
จากการจัดการความรู้ดังกล่าวถึงแม้จะมีประโยชน์ต่อการบริหารจัดการภายในสำนักฯ แต่เป็นการดำเนินการที่ยังไม่มีรูปแบบชัดเจนมากนักเนื่องจากในเวลาที่ผ่านมา สำนักฯ ได้ดำเนินการตามทิศทางการบริหาร (Roadmap) ที่กำหนดไว้ ได้แก่
พ.ศ. 2550-2551 มุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ (Paradigm Shift)
พ.ศ. 2551-2553 มุ่งเน้นการจัดหาบริการเพื่อตอบสนองความต้องของผู้ใช้บริการ (Total Service Solutions)
พ.ศ. 2554 มุ่งเน้นการเป็นหน่วยงานที่จะผลักดันให้มหาวิทยาลัยฯ ก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งองค์ความรู้ (Knowledge Based University)
ดังนั้นเพื่อให้สำนักฯ สามารถก้าวสู่ระยะที่ 3 ของทิศทางการพัฒนา จึงจำเป็นต้องมีการจัดการความรู้ที่เป็นรูปธรรมขึ้น สามารถเพิ่มประสิทธิผลในการบริหารจัดการได้ดีขึ้น แผนการจัดการความรู้จะดำเนินการตามวงจรการพัฒนาระบบการจัดการความรู้ (KM System Life Cycle) ของ : Awad & Ghaziri โดยมีเป้าหมายการจัดการความรู้ด้านการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ เพื่อสนับสนุนการพัฒนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
การเตรียมพร้อม
การเตรียมความพร้อมเป็นขั้นตอนเริ่มแรกก่อนเริ่มต้นกระบวนการพัฒนาการจัดการความรู้ การเตรียมความพร้อมของสำนักฯ ประกอบด้วย การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ การติดต่อสื่อสาร การพัฒนาบุคลากร รวมทั้งช่องทางการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์
สำนักฯ ได้มีการเตรียมความพร้อมโดยการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของบุคลากรตั้งแต่พ.ศ. 2550 การเตรียมการที่สำคัญคือ
การปรับเปลี่ยนการให้บริการจาก Back Office เป็น Front Office
การปรับเปลี่ยนจากการทำงานโดยแยกส่วนเป็นทีมงาน
การปรับเปลี่ยนการทำงานโดยเน้นการให้บริการในทุกส่วนงาน
การปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรโดยการลดชั้นการบังคับบัญชา
การบริหารจัดการโดยไม่ยึดติดระบบราชการเพื่อการเตรียมพร้อมออกนอกระบบ
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการทำธุรกรรมและการให้บริการในทุกส่วน
การติดต่อสื่อสารภายในโดยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Outlook)
การทำงานบน Platform เดียวกัน (Share Point)
การสื่อสารและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับบุคคล หน่วยงานภายนอกโดยใช้ Blog, Hi5 และ Facebook
ถึงแม้การปรับเปลี่ยนดังกล่าวจะช่วยให้สำนักฯ มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว แต่ก็ยังมีปัญหาในทางปฏิบัติ เนื่องจากการขาดการสื่อสารที่ชัดเจนระหว่างฝ่ายบริหารและบุคลากรส่วนใหญ่ การปรับเปลี่ยนมักจะทำในลักษณะสั่งการ (Top Down) ซึ่งบุคลากรต้องทำตามโดยอาจจะมีทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ดังนั้นจากนี้ไปจึงต้องมีการเตรียมบุคลากรในลักษณะการมีส่วนร่วมมากขึ้นดังนี้
การติดต่อสื่อสาร
เมื่อบุคลากรในสำนักฯ มีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการความรู้แล้ว จะต้องสื่อสารให้กับบุคลากรทุกคนในสำนักฯ ทราบ แต่เนื่องจากบุคลากรของสำนักมีเพียง 80 คนการสื่อสารให้ทราบทั่วถึงกันไม่น่าจะยากนัก แต่การสื่อสารในปัจจุบันพบว่ามีข้อจำกัดซึ่งต้องการปรับแก้ไขให้ดีขึ้น
ช่องทางการสื่อสาร |
ข้อดี/สถานภาพปัจจุบัน |
ข้อบกพร่อง |
แนวทางปรับปรุงแก้ไข |
การสื่อสารผ่านระบบ Outlook | ช่องทางการสื่อสารหลักของสำนักฯ เพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสาร ลดกระดาษ เวลา ช่วยจัดเก็บข้อมูล แลกเปลี่ยนเรียนรู้
ใช้ทรัพยากรร่วมกัน |
ขาด Human Touch ขาดความอบอุ่น ความเป็นกันเอง บางคนยังละเลยที่จะใช้งาน บุคลากรบางกลุ่มยังไม่สามารถใช้งานได้ | ใช้ช่องทางการสื่อสารอื่นช่วย ตรวจสอบการใช้งานของบุคลากร |
การประชุม | สำนักฯ ใช้การประชุมกลุ่มย่อย ทีมงานแทนการประชุมทั้งสำนักฯ เนื่องจากไม่สามารถปิดการให้บริการได้ เมื่อมีการประชุมกลุ่มย่อย ทำให้สามารถสรุปและมอบหมายงานในที่ประชุมแทนการออกคำสั่งแต่งตั้งเป็นลายลักษณ์อักษร | การประชุมไม่ทั่วถึงเนื่องจากจะประชุมกับกลุ่มงานที่มีปัญหา แต่บางงานไม่มีการประชุม บุคลากรบางส่วนน้อยใจที่ขาดการมีส่วนร่วม บุคลากรบางคนยังต้องการการสั่งงานที่เป็นลายลักษณ์อักษร | ปรับปรุงวาระการประชุมให้บุคลากรมีส่วนร่วมมากขึ้น |
สื่อสิ่งพิมพ์ เอกสาร จดหมายเวียน | ยังไม่มีการใช้สื่อสิ่งพิมพ์ จดหมายข่าวมากนัก การใช้เอกสารจะมุ่งไปยังบุคลากรที่ต้องการให้ถือปฏิบัติหรือเพื่อทราบโดยตรง | บุคลากรบางส่วนยังต้องการสื่อสารในรูปเอกสาร |
การพัฒนาบุคลากร
สำนักฯ เน้นการพัฒนาบุคลากรโดยการลงทุนส่งบุคลากรเข้ารับการอบรม สัมมนา ดูงาน จำนวนมาก (ภาคผนวกที่ 1) ขณะเดียวกันสำนักฯ ได้ดำเนินการอบรมทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการเรียนรู้ รวมทั้งการใช้ภาษา การอบรมจะเป็นการอบรมที่ใช้เวลา ตั้ง 1-5 วัน หรือการอบรมสั้นๆ เพื่อแก้ไขปัญหาการทำงาน การพัฒนาบุคลกรฯ ยังเป็นภารกิจที่สำนักฯ ถือปฎิบัติต่อไปแต่มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบ กลุ่มเป้าหมาย จุดเน้นคามความเหมาะสม
ช่องทางการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
สำนักฯ ได้จัดสร้างเว็บไซต์การจัดการความรู้ตั้งแต่ พ.ศ. 2548 เพื่อเป็นศูนย์กลางด้านการจัดการความรู้ให้กับบุคลากรและหน่วยงานของมหาวิทยาลัยฯ แต่เว็บไซต์ดังกล่าวไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร จะมีเฉพาะช่วงเวลาที่มีการตรวจประเมิน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็จะกระตือรือร้น หลังจากการตรวจประเมินผ่านไปก็ไม่มีการดำเนินการต่อจนกว่าจะถึงการตรวจครั้งต่อไป
สำนักฯ ได้ปรับเปลี่ยนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้ง่ายขึ้นโดยการใช้ RMUTT BLOG ตามแนวคิด Web 2.0 ซึ่งเน้นการแลกเปลี่ยนและการจัดการสาระด้วยตนเอง
จากการเตรียมความพร้อมดังกล่าวทำให้บุคลากรของสำนักฯ มีความพร้อมในระดับหนึ่ง แต่สำนักฯ จะต้องผลักดันให้บุคลากรถ่ายทอดความรู้กับบุคคลอื่นและแปลงความรู้ที่อยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) โดยการจดบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร