LOGO-KM-BlogLOGO-KM-BlogLOGO-KM-BlogLOGO-KM-Blog
  • Home
  • เกี่ยวกับ
  • มทร.ธัญบุรี
  • คู่มือ/เอกสาร
  • ติดต่อเรา
  • เข้าสู่ระบบ
✕

การทำงานเป็นกลุ่ม

  • Home
  • Blog
  • การพัฒนาตนเอง
  • การทำงานเป็นกลุ่ม
การคิดเชิงวิจารญาณ
November 10, 2009
การนำเสนอผลงาน
November 10, 2009
Published by 1149105060515 on November 10, 2009
Categories
  • การพัฒนาตนเอง
  • ความรู้เพื่อการทำงาน
Tags

ในฐานะที่เป็นนักเรียน นักศึกษาจึงมีความจำเป็นที่ต้องทำงานเป็นกลุ่ม ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่หลายคนไม่ค่อยพึงปราถนา แต่ก็สามารถทำให้เป็นเรื่องที่สนุกขึ้นมาได้ และผลงานที่ออกมายังมีประสิทธิผลอีกด้วย ในความเป็นจริงหลายๆคนคงทราบกันดีว่า การทำงานเป็นกลุ่มนั้นมีข้อดีมากมาย เช่น

  • สมาชิกในกลุ่มสามารถแสดงความดิดเห็นได้หลากหลาย
  • งานกลุ่มที่เกิดขึ้นนั้นมีความหลากหลายและน่าสนใจมากขึ้น เพราะสมาชิกในกลุ่มช่วยกันหาทางแก้ปัญหา (ซึ่งได้ดีกว่าทำงานเดี่ยว)
  • สมาชิกในกลุ่มสามารถช่วยเหลือ และกระตุ้นกันและกันในการทำงานได้

ทักษะการทำงานกลุ่ม

ทักษะการทำงานเป็นกลุ่มหรือทำงานร่วมกับผู้อื่นนั้น เป็นทักษะที่ผู้ว่าจ้างหลายๆคนพึงปราถนา หรือคาดหวังว่านักเรียนหรือนักศึกษาต้องมี ซึ่งทักษะนี้สามารถแสดงให้เห็นถึงทักษะอื่นๆอีกหลายประการ อาทิเช่น ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น ทักษะการเจรจา ทักษะการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น และทักษะการคิดริ่เริ่มใหม่ๆ

ปัญหา

ทั้งๆที่มีประโยชน์มากมายสำหรับการทำงานเป็นกลุ่ม แต่นักเรียนหรือนักศึกษาต่างพากันต่อต้านการทำงานเป็นกลุ่ม นั้นอาจเป็นเพราะ อาทิเช่น อาจเป็นเพราะมีความกลัวที่สมาชิกบางคนจะไม่เข้าร่วมประชุมตามเวลาเรียกนัด หรือไม่ช่วยงานเพื่อนสมาชิกในกลุ่ม -โดยปกติคือสมาชิกพยายามจะปัดความรับผิดชอบ ใช่! หากสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจริง คุณก็จำเป็นต้องสามารถแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ (กรณีในสถานการณ์ทำงาน) วิธีแก้ปัญหามีเพียงทางเดียวคือการเขียนบันทึกงานที่สมาชิกแต่ละคนได้ทำเสร็จ

และถ้าหากคุณมีปัญหากับเพื่อนร่วมกลุ่มที่ไม่ส่งงานตามที่ได้รับหมอบหมาย คุณควรจะต้องพูดคุยเพื่อทำความเข้าใจ หากถ้าเพื่อนร่วมกลุ่มยังคงปฎิเสธการทำงานอยู่นั้น คุณอาจพูดได้ว่าจะนำเรื่องปรึกษาอาจารย์ผู้สอน หรือผู้บรรยาย

นอกจากปัญหาที่สมาชิกไม่ยอมมาประชุม หรือส่งงานนั้น ก็ยังมีอีกหลายปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ อาทิเช่นเรื่องการปกครอง – ผู้นำกลุ่มอาจมีคนหรือสองคนในการเป็นผู้นำทำงานต่างๆ แต่สมาชิกอื่นอื่นๆ ไม่ให้ความสนใจในคำสั่งเหล่านั้น ซึ่งอาจเป็นเพราะว่ามีสมาชิกบางคนสร้างพวกพองของตัวเองขึ้นมาภายนอกกลุ่ม

ปัญหาการเพิกเฉย หรือการวิจารณ์ในด้านลบ – ในการยอมรับในความเป็นผู้นำ สมาชิกอาจต้องคิดเชิงวิจารณญาณมากกว่าการคิดในเชิงหยาบ แต่ในบางครั้งสมาชิกกลุ่มชอบทำงานเพียงคนเดียวเพื่อแข่งขันกับคนอื่นมากกว่าการทำงานเป็นกลุ่ม

ข้อขัดแย้งที่แฝงไว้ด้านใน – ความขัดแย้งนี้อาจสามารถเกิดขึ้นได้เนื่องจากความไม่พอใจของสมาชิกบางคนที่พยายามที่จะบงการสมาชิกผู้อื่นในกลุ่มที่เหลือ หรือความขัดแย้งที่เกิดขึ้นแต่ไม่แก้ไขร่วมกันซึ่งสามารถก่อให้เกิดยุบกลุ่ม หรือไม่ทำงานร่วมกันอีก ฉะนั้นจึงเป็นการดียิ่งขึ้นที่จะเอาความขัดแย้งที่ซ่อนอยู่ในทุกคนขึ้นมาปรึกษากันและกัน

การวางแผนการทำงานอาจเป็นอีกสิ่งนึงที่ช่วยให้สามารถหลีกเลี่ยงปัญหาเหล่านั้นได้ อาทิเช่น

  • อะไรคือจุดประสงค์หรือสิ่งปราถนาของกลุ่ม หรือการอยู่ด้วยกันเป็นกลุ่ม
  • วันสิ้นสุดกำหนดการแข่งขันเมื่อไหร่
  • อะไรคือข้อกำหนดของความสำเร็จ
  • วิธีการหรือแนวทางการดำเนินงานเช่นไรที่จะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการทำงาน
  • แหล่งที่มา หรือทรัพยากรอะไรที่จะต้องใช้ในการทำงาน

การเริ่มต้นการทำงาน

ในกลุ่มที่ดีนั้น สมาชิกในกลุ่มจะต้องมีความพยายามแสดงความสามารถของตนเองออกมาซึ่งสุดท้ายผู้นำที่ดีก็จะได้รับการคัดเลือกขึ้น ในเรื่องของการกระจายงานนั้นต้องมีความระมัดระวังเพื่อไม่ให้สมาชิกในกลุ่มเกิดความรู้สึกว่างานที่ได้นั้นไม่เท่าเทียมกับผู้อื่นซึ่งอาจมีความยากกว่า

ในการสร้างกฎเกณฑ์ในการทำงานนั้นเป็นอีกทางหนึ่งที่สำคัญเช่นเดียวกันเพื่อที่สามาชิกในกลุ่มจะได้รับรู้วิธีการทำงานร่วมกัน สิ่งไหนควรปฎิบัติ และสิ่งไหนไม่ควรปฎิบัติ คุณควรจะเห็นด้วยกับวัน เวลาสถานที่ที่นัดหมาย และนอกจากนี้ยังจำต้องตั้งบุคคลที่สามารถติดต่อได้อย่างสะดวกเพื่อง่ายต่อการทำงาน

คุณต้องการมีผู้นำไหม

คนบางคนอาจจะสมมุติบทบาทหน้าที่ของการเป็นผู้นำขึ้นมา และเป็นสิ่งที่ควรได้รับตราบเท่าที่สมาชิกกลุ่มยังรู้สึกมีความสุขอยู่ แต่อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่เกิดขึ้นคือการสมมุติบทบาทของผู้นำโดยไม่ได้มีการปรึกษากันก่อนซึ่งอาจทำให้บทบาทความเป็นผู้นำนั้นมีผลกระทบที่ไม่ดีต่อการทำงาน ในบางครั้งมันอาจจะเป็นสิ่งที่ดีที่จะต้องมีการประชุมกันเพื่อแบ่งหน้าที่ให้เกิดความเหมาะสมโดยไม่จำเป็นต้องมีผู้นำ แต่หากกลุ่มต้องการมีผู้นำ การทำงานจึงควรเป็นระบบที่ผู้นำเป็นผู้บังคับบัญชา ซึ่งหมายความว่าสามาชิกกลุ่มจำเป็นต้องบังคำสั่งของหัวหน้ากลุ่ม

พิจารณาขั้นตอนดังต่อไปนี้เป็นพื้นฐานในการพัฒนากลุ่ม

การรับสมาชิกใหม่ – (อาจจะเป็น) ความปลอดภัย คาวามสุภาพ ความสงบเงียบ และความยืดหยุ่น

สาเหตุ – อำนาจการปกครองที่มีมากเกินไป – รับผิดชอบดูแลในการบริหารเพียงคนเดียว

ข้อขัดแย้ง อาทิเช่น การเผชิญหน้า ความลำบาก ความรุ้สึกที่ยึดติดตลอดจนการล้มเลิก

สาเหตุ – ข้อขัดแย้งที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข – ล้มเหลวในการปล่อยความขัดแย้งให้เลือนหายไป

การเกาะกลุ่มร่วมกัน – ทักษะการพัฒนา ความสามารถและความมั่นใจ รู้สิ่งที่ควรกระทำ

ข้อกีดกั้น – ติดขัดอยู่กับปัญหา – ไม่มีผู้นำทางหรือขาดข้อแนะนำที่ดี

กลุ่ม – มีแหล่งทรัพยากรที่ดี มีการสนับสนุน เปิดกว้าง และยืดหยุ่น

ข้อกีดกั้น – สันโดษและมีความมั่นใจมากเกินไป

คุณพอจะสามารถจดจำขั้นตอนดังกล่าวข้างต้นที่อยู่ในกลุ่มของคุรได้หรือไม่ ถึงแม้ว่าจะปัญหาเกิดขึ้นในกลุ่มของคุณ แต่กลุ่มของคุณก็ยังสามารถได้รับรางวัลได้หากคุณปฏิบัติตามคำแนะนำตามที่กล่าวไปนั้น และเริ่มที่จะคิดเกี่ยวกับกระบวนการบางสิ่งที่ได้วางแผนไว้ และเริ่มสนุกกับการทำงานเป็นกลุ่ม

Post Views: 557
Share
0
1149105060515
1149105060515

Related posts

September 20, 2019

ศึกษาดูงาน โรงไฟฟ้ากระบี่ จังหวัดกระบี่ และ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง จ.กระบี่


Read more
September 20, 2019

การเขียนผลงานเชิงวิเคราะห์และสังเคราะห์


Read more
September 21, 2018

โครงการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี หลักสูตร “การวิเคราะห์และออกแบบกระบวนการทำงาน (Work process design & analysis)


Read more

Leave a Reply

You must be logged in to post a comment.

บล็อค เพื่อการจัดการความรู้ ราชมงคลธัญบุรี : KM Blog@RMUTT (Rajamangala University of Technology Thanyaburi)

บล็อค เพื่อการจัดการความรู้ มทร.ธัญบุรี

ห้องสมุด สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 39 หมู่ที่ 1 ตำบลคลองหก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12110

งานบริการทรัพยากรสารนิเทศอิเล็กทรอนิกส์

 Fanpage : eLibrary3.RMUTT

Line@ : @261pxuhc

elibrary@mail.rmutt.ac.th

02 549 3655

บริการด้านภาษา

Fanpage : Language Center

  Line@ : @261pxuhc

  • การสร้างความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ส่วนบุคคล บนระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-learning)July 25, 2024
  • แนะนำหนังสือ Knowledge management (KM)May 30, 2024
  • จิตวิทยาบุคลิกภาพและการปรับตัว | Personality Psychology and AdjustmentJune 27, 2023
  • การจัดเก็บและการใช้ข้อมูลอย่างปลอดภัยขององค์กรเพื่อรองรับ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562” สำหรับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีJune 27, 2023
  • Online Library RMUTTSeptember 13, 2021

(Knowledge Management blog Competency CRM EBSCO EndNote ICT intellectual capital Internet Protocol version 6 (IPv6) IPv6 KM knowledge presentation SEO training wordpress กฎหมาย การคัดลอกผลงาน การจัดการความรู้ การตลาด การทำงาน การนำเสนอ การบริการ การบริหารการเปลี่ยนแปลง การบริหารจัดการ การปฏิบัติงาน การพัฒนาบุคลากร การพัฒนาองค์กร การสืบค้น การสื่อสาร ความสำเร็จ คอมพิวเตอร์ ฐานข้อมูล ฐานข้อมูลออนไลน์ ฐานข้อมูลอ้างอิงงานวิจัย ทักษะการทำงาน. ประกันภัยรถยนต์ ประกันรถยนต์ ผู้นำ พระราชบัญญัติ ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ห้องสมุด องค์กร แนะนำหนังสือ

เข้าสู่ระบบ

Log in
สร้างและพัฒนาโดย.
ฝ่ายพัฒนาและเผยแพร่ข้อมูลเว็บไซต์

(cc) KM Blog@RMUTT (Rajamangala University of Technology Thanyaburi)