LOGO-KM-BlogLOGO-KM-BlogLOGO-KM-BlogLOGO-KM-Blog
  • Home
  • เกี่ยวกับ
  • มทร.ธัญบุรี
  • คู่มือ/เอกสาร
  • ติดต่อเรา
  • เข้าสู่ระบบ
✕

การพัฒนาห้องสมุดสู่สากล

  • Home
  • Blog
  • กาารพัฒนาห้องสมุด
  • การพัฒนาห้องสมุดสู่สากล
การใช้งานฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสืบค้น EBSCO
April 9, 2013
“การวางแผนและการจัดการเชิงกลยุทธ์สำหรับองค์กรภาครัฐ ”
April 30, 2013
Published by lekyao on April 9, 2013
Categories
  • กาารพัฒนาห้องสมุด
Tags
นางเยาวลักษณ์  แสงสว่าง
ตำแหน่ง บรรณารักษ์
การพัฒนาห้องสมุดสู่สากล (Library Development Towards Internationalization)

จัดขึ้นในวันที่   20-21 มีนาคม 2556 ณ   โรงแรมแอมบาสชาเดอร์  กรุงเทพมหานคร โดยสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัด

สรุปรายละเอียดการอบรม

ความร่วมมือทางด้านการศึกษากับประชาคมอาเซียน กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมด้านการศึกษาต่อประชาคมอาเซียน กระทรวงศึกษาธิการได้มีการเตรียมความพร้อมไว้หลายประการ ซึ่งในส่วนของห้องสมุดตามที่วิทยากรกล่าวนั้น จะเป็นการกล่าวถึงบทบาทของห้องสมุดในบริบทของอาเซียน ซึ่งสถาบันการศึกษานั้นต้องมีห้องสมุดไว้บรการนักเรียนนักศึกษา ซึ่งปัจุบันการเข้าถึงนั้นอาจจะไม่ใช่เอยู่ในหนังสือที่เป็นกระดาษแต่เพียงอย่างเดียว จะเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีการเข้าถึ่งจากสถานที่ใด ๆ ก็ได้ ซึ่งเป็นการส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตที่เปิดโอกาสให้คนได้เรียนรู้ตลอดเวลาตลอดชึวิต ห้องสมุดจึงมีบทบาทใหม่มากกว่าเดิม คือ การบริหารจัดการความรู้และวัฒนธรรม ในการบริการให้คนทุกกลุ่มทุกวัยตลอดเวลา ผ่านเครื่องมือที่หลากหลายและทันสมัย จัดกิจกรรมให้ความรู้และส่งเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับอาเซียน รวมไปถึงการสร้างเครือข่ายกับหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ทั้งในประเทศและในภูมิภาคอาเซียน หรือภูมิภาคอื่น

สถานภาพของบรรณารักษ์และบุคลากรที่ปฏิบัติงานห้องสมุด กล่าวถึงสถานะภาพบรรณารักษ์ในปัจจุบันของห้องสมุดโรงเรียนและห้องสมุดประชาชน เน้นไปถึงห้องสมุดประชาชน โดยบรรณารักษ์และบุคลากรที่ปฏิบัติงานห้องสมุดประชาชนต้องตระหนักในการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ทางวิชาการนำไปใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ รวมถึงการเข้าไปมีส่วนร่วมในท้องถิ่นและชุมชนมากขึ้นเพื่อให้ได้รับการยอมรับต่อสังคมไทยในระดับสากลต่อไป การปรับสถานภาพของบรรณารักษ์และบุคลากรที่ปฏิบัติงานห้องสมุด มีการปรับสายงานได้ถึงระดับเชี่ยวชาญและชำนาญการซึ่งจะเน้นกล่าวถึงบรรณารักษ์ประเภทวิชาการที่จะมีการก้าวไปถึงตำแหน่งในระดับชำนาญการพิเศษ

การตลาดห้องสมุด กล่าวถึงการตลาด เป็นการวิเคราะห์ 3 ส่วน ซึ่งกล่าวถึงในลักษณะการวิเคราะห์ 3 C คือ (1) Customer : เปรียบกับผู้ใช้บริการ เราต้องการอะไรจากผู้ใช้บริการ เช่นต้องการให้มีผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้น 15% (2) Company : เปรียบกับห้องสมุด (3) Compatitor : คู่แข่ง / ทางเลือกอื่น ซึ่งถ้ามองจากการให้บริการห้องสมุดก็จะมองว่าคู่แข่งในที่นี้ จะเป็นปัจจัยอื่นๆ มากกว่าที่จะแย่งเวลาของผู้ใช้บริการที่จะเข้ามาใช้บริการห้องสมุด จากนั้นห้องสมุดต้องมาวิเคราะห์สถานการณ์ และเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่มีบทบาทในการแย่งเวลาจากผู้ใช้บริการไป เราจะทำอย่างไรให้ผู้ใช้บริการมาใช้บริการห้องสมุดให้นานขึ้น เพื่อนำส่วนนั้นมาพัฒนาห้องสมุด  การตลาดจะเป็นวิถีทางช่วยให้นำผลห้องสมุดไม่ว่าจะเป็นสินค้า และบริการ เพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคเห็นคุณค่าและเพิ่มความต้องการ และยอมที่จะกลับมาใช้บริการเพิ่มอีก

การสื่อสารกับชาวต่างชาติอย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวถึงวิธีการสื่อสารกับชาวต่างชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ  การทำให้บรรณารักษ์และผุ้ปฏิบัติงานห้องสมุดเก่งภาษาอังกฤษ วิธีการสนุกกับภาษาอังกฤษ ซึ่งกล่าวไว้ว่าทุกคนสามารถเก่งภาษาอังกฤษได้อย่าไปกลัว มั่นฝึกฝนและฝึกปฏิบัติอยู่เสมอก็จะเกิดความเก่งขั้นมาได้ ซึ่งการพูดของเราอาจจะไม่จำเป็นต้องตรงตามหลักไวยกรณ์ แต่ชาวต่างชาติก็เข้าใจ ขอให้ออกเสียงให้ชัด เพราะคำบางคำมีเสียงที่ใกล้เคียงกันมาก แต่ความหมายต่างกัน จึงต้องระวังเป็นพิเศษ

แผนการดำเนินงาน “เมืองหนังสือโลก 2556 (World Book Capital 2013” ของกรุงเทพมหานคร เป็นการกล่าวถึงการดำเนินการของโรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานครในการวางหลักสูตรการเรียนการสอนให้เด็กมีการอ่านหนังสือที่กำหนด ซึ่งโรงเรียนบางแห่งมีการกำหนดจำนวนหนังสือในการอ่านแต่ละเดือน ที่เข้าไว้ในหลักสูตรการอ่านหนังสือนอกเวลา ว่าจะต้องอ่านจากหนังสือหมวดใด นอกเหนือจากหนังสืออื่น ๆ ที่เขาสนใจ และใน 1 เดือนจะต้องอ่านให้ได้กี่เล่ม

บรรณารักษ์คิดบวก เน้นให้บรรณารักษ์มีการปรับอารมณ์ ซึ่งการให้บริการควรมองในด้านบวกเพื่อรับสถานการณ์กับผู้ใช้บริการได้ทุกรูปแบบและทำให้ผู้ใช้บริการประทับใจให้ได้มากที่สุด

 

ประโยชน์ที่ได้รับ

จากการอบรมครั้งนี้ได้ความรู้ในเรื่องการจัดการห้องสมุดในแต่ละกลุ่มประเภทของห้องสมุดว่ามีการบริการจัดการเพื่อให้เป็นเมืองหนังสือโลก ซึ่งตามกลุ่มโรงเรียนได้มีการวางนโยบายการอ่านว่าต้องอ่านหนังสือนอกเวลาประเภทไหน และต้องอ่านหนังสือกี่เล่มต่อเดือน ก็จะเป็นการช่วยให้เยาวชนมาสนใจรักการอ่านกันเพิ่มมากขึ้น

สามารถนำทักษะการเรียนรู้ต่างๆ มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาห้องสมุดรวมถึงการให้บริการได้

 

Post Views: 586
Share
1
lekyao
lekyao

Related posts

September 13, 2021

Online Library RMUTT


Read more
September 20, 2019

การปรับเปลี่ยนห้องสมุด : คิดใหม่ ฟอร์มใหม่ เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน


Read more

folio

September 25, 2018

การประชุม EBSCO Annual Conferences 2018


Read more

Leave a Reply

You must be logged in to post a comment.

บล็อค เพื่อการจัดการความรู้ ราชมงคลธัญบุรี : KM Blog@RMUTT (Rajamangala University of Technology Thanyaburi)

บล็อค เพื่อการจัดการความรู้ มทร.ธัญบุรี

ห้องสมุด สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 39 หมู่ที่ 1 ตำบลคลองหก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12110

งานบริการทรัพยากรสารนิเทศอิเล็กทรอนิกส์

 Fanpage : eLibrary3.RMUTT

Line@ : @261pxuhc

elibrary@mail.rmutt.ac.th

02 549 3655

บริการด้านภาษา

Fanpage : Language Center

  Line@ : @261pxuhc

  • การสร้างความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ส่วนบุคคล บนระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-learning)July 25, 2024
  • แนะนำหนังสือ Knowledge management (KM)May 30, 2024
  • จิตวิทยาบุคลิกภาพและการปรับตัว | Personality Psychology and AdjustmentJune 27, 2023
  • การจัดเก็บและการใช้ข้อมูลอย่างปลอดภัยขององค์กรเพื่อรองรับ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562” สำหรับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีJune 27, 2023
  • Online Library RMUTTSeptember 13, 2021

(Knowledge Management blog Competency CRM EBSCO EndNote ICT intellectual capital Internet Protocol version 6 (IPv6) IPv6 KM knowledge presentation SEO training wordpress กฎหมาย การคัดลอกผลงาน การจัดการความรู้ การตลาด การทำงาน การนำเสนอ การบริการ การบริหารการเปลี่ยนแปลง การบริหารจัดการ การปฏิบัติงาน การพัฒนาบุคลากร การพัฒนาองค์กร การสืบค้น การสื่อสาร ความสำเร็จ คอมพิวเตอร์ ฐานข้อมูล ฐานข้อมูลออนไลน์ ฐานข้อมูลอ้างอิงงานวิจัย ทักษะการทำงาน. ประกันภัยรถยนต์ ประกันรถยนต์ ผู้นำ พระราชบัญญัติ ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ห้องสมุด องค์กร แนะนำหนังสือ

เข้าสู่ระบบ

Log in
สร้างและพัฒนาโดย.
ฝ่ายพัฒนาและเผยแพร่ข้อมูลเว็บไซต์

(cc) KM Blog@RMUTT (Rajamangala University of Technology Thanyaburi)