LOGO-KM-BlogLOGO-KM-BlogLOGO-KM-BlogLOGO-KM-Blog
  • Home
  • เกี่ยวกับ
  • มทร.ธัญบุรี
  • คู่มือ/เอกสาร
  • ติดต่อเรา
  • เข้าสู่ระบบ
✕

AEC กับการเปลี่ยนแปลงด้านแรงงานในไทย

  • Home
  • Blog
  • การบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ
  • AEC กับการเปลี่ยนแปลงด้านแรงงานในไทย
การใช้งานฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสืบค้น
April 7, 2015
ดีโอไอ-ไทยแลนด์ (DOI-Thailand)
April 24, 2015
Published by thanyaluk on April 7, 2015
Categories
  • การบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ
Tags
  • AEC
  • Asean Economics Community
  • ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
  • แรงงาน--ไทย

นางสาววราภรณ์ จันทคัต
ตำแหน่ง บรรณารักษ์

เนื้อหาโดยสรุป

การอบรมฯ  ครั้งนี้เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงแรงงานในไทยภายใต้การเป็นสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน  หรือ  AEC  (Asean  Economics  Community)  มีเนื้อหาโดยสรุปดังนี้

1. ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับ AEC

1.1      ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนแบ่งเป็นสองภาคส่วน  คือ  ภาคการผลิต  และ  ภาคการตลาด

1.2      เป้าหมายของการรวมกลุ่ม  คือ  สร้างขีดความสามารถด้านการแข่งขันทางเศรษฐกิจในกลุ่มอาเซียน  และ บูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก

1.3      ผลลัพธ์ที่ได้จากการรวมกลุ่มจะต้องลดกำแพงภาษีลงได้หรือมีอำนาจต่อรองทางการค้ากับกลุ่มอื่นๆ  ได้มากขึ้น  เช่น  สหรัฐอเมริกา  ยุโรป  เป็นต้น  (ปัจจุบันจำนวนประชากรในอาเซียนมีมากกว่ากลุ่มยุโรป  หรือ  Euro  Zone  และเป็นกลุ่มที่สหรัฐอเมริกากับจีนต้องการเข้ามามีบทบาททางเศรษฐกิจและการเมือง)  ไปจนถึงอัตราค่าจ้างแรงงานของแต่ละประเทศในอาเซียนจะต้องใกล้เคียงกัน

1.4      จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาเที่ยวในอาเซียนมีจำนวนมากเป็นอันดับสองของโลก  รองจากประเทศฝรั่งเศสเท่านั้น

1.5      ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะมีผลเป็นรูปธรรมตั้งแต่วันที่  31  ธันวาคม  2558  เป็นต้นไป

2. ผลกระทบหลังการรวมกลุ่ม AEC

2.1      มีเคลื่อนย้ายถิ่นฐานของชนชั้นกลางจึงส่งผลด้านกำลังซื้อสินค้าในแต่ละประเทศ

2.2      มีการท่องเที่ยวภายในภูมิภาคอาเซียนมากขึ้น

2.3      มีการส่งเสริมการเคลื่อนย้ายนักลงทุน  เจ้าของกิจการ  และแรงงานฝีมือ  ด้วยการออกบัตร  ASEAN Business  และการทำข้อตกลงวิชาชีพ  MRA  (Mutual  Recognition  Agreement)

2.4      มีการเคลื่อนย้ายกลุ่มอาชีพที่อยู่ภายใต้  MRA  ทั้ง  8  อาชีพ  ได้แก่  แพทย์  ทันตแพทย์  พยาบาล วิศวกร  สถาปนิก  ช่างสำรวจ  นักบัญชี  และมัคคุเทศก์

3. ศักยภาพของประเทศหลักๆ  ใน AEC

3.1      ประเทศอินโดนีเซีย มีขนาดของเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน  มีจำนวนประชากรมากที่สุดในอาเซียน  คือ  225  ล้านคน  ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม  จึงเป็นโอกาสในการสร้างส่วนแบ่งทางการตลาด  นั่นคือ  การแปรรูปอาหารฮาลาล  นอกจากนี้ยังมีแนวโน้มที่จะถูกใช้เป็นฐานโรงงานผลิตรถยนต์แห่งใหม่ต่อจากไทย  (ค่าแรงแรงงานไทย  1  คน  เท่ากับ  ค่าแรงแรงงานอินโดนีเซีย  4  คน)

3.2      ประเทศสิงคโปร์ มีแรงงานที่มีทักษะสูงที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน  มีศักยภาพเป็นศูนย์กลางด้านบริการสุขภาพและที่พักผู้สูงวัย  ตลอดจนมีมาตรการสินค้าที่ปลอดภาษี

3.3      ประเทศฟิลิปปินส์ มีแรงงานที่มีทักษะภาษาอังกฤษดี  เป็นประเทศผู้ส่งออกแรงงานภาคบริการไปยังประเทศต่างๆ  อย่างไรก็ตามแรงงานผู้มีทักษะสูง  เช่น  กลุ่มอาชีพแพทย์  มักพากันย้ายไปทำงานที่สหรัฐอเมริกาเนื่องจากให้ค่าแรงสูงกว่าในประเทศถึง  30  เท่า

3.4      ประเทศเวียดนาม แรงงานชาวเวียดนามมีค่าแรงถูกกว่าไทย  5  เท่า  แต่กลับมีผลิตภาพสูงกว่าแรงงานไทยถึง  2  เท่า  โดยแรงงานส่วนใหญ่เป็นแรงงานที่มีคุณภาพ  มีอัตราการรู้หนังสือที่สูง  และเนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์ที่มีชายแดนติดต่อกับประเทศจีน  จึงเป็นโอกาสในการพัฒนาตนเองให้เป็นศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์

3.5      ประเทศไทย จำนวนผู้ใช้แรงงานเพื่อนบ้านในอาเซียนที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย  มาจากประเทศเมียนมาร์มากที่สุด  และกระจุกตัวอยู่ที่กรุงเทพมหานคร  จังหวัดสมุทรสาคร  จังหวัดสุราษฎร์ธานี  จังหวัดเชียงใหม่  และจังหวัดภูเก็ต  ซึ่งงานส่วนใหญ่ที่ผู้ใช้แรงงานทำจะเป็นงานที่อันตราย  และเป็นงานที่สกปรก  เช่น  งานประมง  ดังนั้นโอกาส คือ  1)  ไทยสามารถย้ายฐานการผลิตสินค้าประมงไปยังเมียนมาร์ได้อย่างเสรี  เนื่องจากค่าแรงถูกกว่าไทย  และรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจหลังเปิดท่าเรือน้ำลึกทวาย  2)  ไทยสามารถอาศัยความได้เปรียบทางด้านภูมิศาสตร์ที่ตั้งของประเทศที่อยู่ตรงกลางรายล้อมไปด้วยประเทศเพื่อนบ้าน  โดยจะต้องพยายามเป็นศูนย์กลาง  (Hub)  หลายๆ  ด้าน  นอกเหนือจากด้านการท่องเที่ยวและการบินให้ได้  อุปสรรค คือ  1)  แรงงานไทยส่วนใหญ่ขาดความพร้อมด้านทักษะภาษาต่างประเทศ  โดยเฉพาะภาษาอังกฤษที่ไม่สามารถสนทนาในระดับทั่วไปได้ดี  และภาษาเพื่อนบ้านซึ่งเป็นภาษาที่สามกลับใช้สื่อสารกันเฉพาะตามแนวชายแดนระหว่างประเทศเท่านั้น  อย่างไรก็ตามแรงงานไทยที่มีทักษะด้านภาษาอังกฤษดีอาจพากันย้ายไปทำงานในประเทศที่ให้ค่าแรงสูงกว่า  ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะสมองไหล  และขาดแคลนแรงงานบางอาชีพได้  2)  สำหรับงานชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และอุตสาหกรรมยานยนต์นั้น  เนื่องจากค่าแรงของไทยที่สูง  ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงไปด้วย  บริษัทรถยนต์ของสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นอาจย้ายฐานการผลิตบางส่วนไปยังประเทศอื่นในอาเซียนที่มีค่าแรงต่ำกว่าแทน  3)  แรงงานเพื่อนบ้านที่เข้ามาในประเทศไทยจะมีมากขึ้น  ซึ่งมีทั้งที่ถูกกฎหมาย  และผิดกฎหมาย  อาจนำมาซึ่งปัญหาทางสังคมมากขึ้นด้วย  เช่น  ชุมชนแออัด  การก่ออาชญากรรม  ยาเสพติด  และการค้าประเวณี  เป็นต้น

 

ประโยชน์ที่ได้รับ

ได้เรียนรู้แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของแรงงานในอาเซียน  โอกาสและอุปสรรค  ซึ่งทำให้ต้องตระหนักถึงการพัฒนาตนเองเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน  ผลกระทบส่วนหนึ่งคือ  อาจารย์และนักศึกษาต่างชาติที่จะเข้ามาทำงานและศึกษาในมหาวิทยาลัย  จึงเป็นความท้าทายอย่างยิ่งในเรื่องของการพัฒนาการให้บริการสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น


Post Views: 468
Share
0
thanyaluk
thanyaluk

Leave a Reply

You must be logged in to post a comment.

บล็อค เพื่อการจัดการความรู้ ราชมงคลธัญบุรี : KM Blog@RMUTT (Rajamangala University of Technology Thanyaburi)

บล็อค เพื่อการจัดการความรู้ มทร.ธัญบุรี

ห้องสมุด สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 39 หมู่ที่ 1 ตำบลคลองหก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12110

งานบริการทรัพยากรสารนิเทศอิเล็กทรอนิกส์

 Fanpage : eLibrary3.RMUTT

Line@ : @261pxuhc

elibrary@mail.rmutt.ac.th

02 549 3655

บริการด้านภาษา

Fanpage : Language Center

  Line@ : @261pxuhc

  • การสร้างความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ส่วนบุคคล บนระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-learning)July 25, 2024
  • แนะนำหนังสือ Knowledge management (KM)May 30, 2024
  • จิตวิทยาบุคลิกภาพและการปรับตัว | Personality Psychology and AdjustmentJune 27, 2023
  • การจัดเก็บและการใช้ข้อมูลอย่างปลอดภัยขององค์กรเพื่อรองรับ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562” สำหรับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีJune 27, 2023
  • Online Library RMUTTSeptember 13, 2021

(Knowledge Management blog Competency CRM EBSCO EndNote ICT intellectual capital Internet Protocol version 6 (IPv6) IPv6 KM knowledge presentation SEO training wordpress กฎหมาย การคัดลอกผลงาน การจัดการความรู้ การตลาด การทำงาน การนำเสนอ การบริการ การบริหารการเปลี่ยนแปลง การบริหารจัดการ การปฏิบัติงาน การพัฒนาบุคลากร การพัฒนาองค์กร การสืบค้น การสื่อสาร ความสำเร็จ คอมพิวเตอร์ ฐานข้อมูล ฐานข้อมูลออนไลน์ ฐานข้อมูลอ้างอิงงานวิจัย ทักษะการทำงาน. ประกันภัยรถยนต์ ประกันรถยนต์ ผู้นำ พระราชบัญญัติ ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ห้องสมุด องค์กร แนะนำหนังสือ

เข้าสู่ระบบ

Log in
สร้างและพัฒนาโดย.
ฝ่ายพัฒนาและเผยแพร่ข้อมูลเว็บไซต์

(cc) KM Blog@RMUTT (Rajamangala University of Technology Thanyaburi)