LOGO-KM-BlogLOGO-KM-BlogLOGO-KM-BlogLOGO-KM-Blog
  • Home
  • เกี่ยวกับ
  • มทร.ธัญบุรี
  • คู่มือ/เอกสาร
  • ติดต่อเรา
  • เข้าสู่ระบบ
✕

การพัฒนาศักยภาพบรรณารักษ์ยุคใหม่

  • Home
  • Blog
  • การจัดการความรู้
  • การพัฒนาศักยภาพบรรณารักษ์ยุคใหม่
การสร้างและการพัฒนาคู่มือเพื่อการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ
August 18, 2015
ทรัพย์สินทางปัญญากับการบริการสารสนเทศ และการก้าวสู่ยุคการบริการแบบเปิด
October 15, 2015
Published by lekyao on October 15, 2015
Categories
  • การจัดการความรู้
  • การพัฒนาตนเอง
  • กาารพัฒนาห้องสมุด
  • ความรู้เพื่อการทำงาน
Tags
  • การสอน
  • บรรณารักษ์
  • ลิขสิทธิ์
  • ห้องสมุด

นางเยาวลักษณ์ แสงสว่าง
ตำแหน่ง บรรณารักษ์

เนื้อหาโดยสรุป

ในการอบรมมี 2 การพัฒนาศักยภาพบรรณารักษ์ยุคใหม่ มีการจัดอบรม 2 หัวข้อ ดังนี้
1. การแนะนำการใช้งาน Infographic
2. ทรัพย์สินทางปัญญากับการบริการสารสนเทศ และการก้าวสู่ยุคการบริการแบบเปิด

  • การแนะนำการใช้งาน Infographic
    1. การอบรมวันแรกจะเป็นการแนะนำการใช้งาน Infographic ในการทำสื่อประชาสัมพันธ์ห้องสมุด ซึ่งเป็นการสรุปงานในลักษณะภาพ โดยนำสถิติ ความรู้ ตัวเลข ความหมายต่าง ๆ ฯลฯ มาทำการประชาสัมพันธ์ข่าวสารต่าง ๆ เกิดความน่าสนใจในการรับรู้ข่าวสารด้วยภาพ เพียงไม่กี่รูป เนื่องจากทุกวันนี้คนนิยมดูภาพมากกว่าการอ่านตัวอักษร ซึ่งการทำ icon Infographic อาจจะนำมาจากสัญลักษณ์ ที่มีการสื่อความหมายมารวมกันเพื่อก่อให้เกิดความรู้ในการนำเสนอตามที่ต้องการ ซึ่งมีเครื่องมือที่ที่ใช้หลายรูปแบบ หลายโปแกรม แต่จากที่วิทยากรแนะนำนั้นเป็นการใช้ icon จากการดาวโหลดไฟล์ที่ทำสำเร็จด้วย Illustrator และมาก็อปวางใส่ใน PowerPoint เพื่อนำรูปแบบมาเรียงเป็นสื่อที่ต้องการประชาสัมพันธ์ห้องสมุด เช่น การทำขั้นตอนการยืม-คืนกับนักศึกษาใหม่ได้

      ในการทำสื่อบางเรื่องอาจจะต้องมีกระบวนการร่างขั้นตอนการทำงานบนกระดาษเพื่อเตรียมวางแผนการจัดแต่งเพื่อให้ได้สัดส่วนของข้อมูล และไม่ให้การจัดภาพมีข้อมูลมากเกินไป จึงควรมีการแยกข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล เมื่อได้ข้อมูลที่ต้องการจึงทำการเรียบเรียง และออกแบบวางรูปภาพตามขั้นตอนที่วางไว้ ซึ่งการเลือกรูปภาพก็มีส่วนสำคัญ ภาพที่ใช้ต้องสื่อออกมาให้ได้เข้าใจความหมายทีเราต้องการจะบอก และภาพต้องไม่ไปละเมิดลิขสิทธิ์ของผลงานผู้อื่น ดังนั้นการนำภาพจึงควรนำภาพที่ไม่มีลิขสิทธิ์สามารถใช้ได้ทั่วไป เช่นน ภาพจากเว็บไซต์ www.freepik.com ก็สามารถเลือกค้นหาภาพที่ต้องการนำมาใช้งานได้ จะเป็นไฟล์ Illustrator สามารถมาแก้ไขตกแต่งได้ หรือจะเป็นการดาวโหลดภาพไอคอนในการใช้ตกแต่งสื่อที่เว็บไซต์ www.flaticon.com หรือดาวโหลดอักษรที่ถูกลิขสิทธิ์ในการพิมพ์เอกสารได้ที่ www.f0nt.com

      การทำกราฟิกในการสื่อภาษาด้วยภาพนั้น จะต้องใช้ให้ถูกต้องเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย ในเรื่องวัย เวลา สถานที่ เพื่อให้ใช้คำและรูปภาพได้เหมาะสม โดยการใช้ภาพสื่อความหมายนั้นจะต้องเป็นภาพที่ใช้แทนข้อความและสื่อความหมายได้ดี นำไปใช้งานได้หลากหลาย และบอกเป้าหมายว่าทำอะไรได้อย่างชัดเจน ซึ่งการใช้กราฟประกอบข้อมูลต้อง เช่น
      (1) การแสดงรูประบุจำนวนประชากรใช้สำหรับข้อมูลที่มีการเปรียบเทียบจำนวนประชากร อัตราส่วนประชากร ที่หน่วย “ไม่เป็นร้อยละ”
      (2) กราฟวงกลม (Pie Chart) ใช้กับข้อมูลที่มีอัตราส่วนที่รวมกันทั้งหมดแล้วได้ 100 % เท่านั้น
      (3) กราฟแท่ง (Bar Chart) เหมาะสำหรับการเทียบอัตราส่วนที่แตกต่างกันของคนละชุดข้อมูล
      (4) กราฟเส้น (Timeline) เหมาะกับข้อมูลชุดเดียวกัน ที่มีความต่อเนื่องกันในเรื่องของเวลา
      (5) การแสดงตำแหน่ง (Location) เป็นแสดงระบุข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องตำแหน่งสถานที่/ข้อมูลที่มีการอ้างอิงพื้นที่
      (6) แผนผังองค์กร (Hierarchy Chart) เป็นข้อมูลที่แสดงถึง ลำดับความเกี่ยวข้องกันของข้อมูล ลำดับ ตำแหน่ง
      (7) ขั้นตอนการทำงาน (Process) เป็นการแสดงถึงลำดับขั้นตอนในการทำงานประเภทต่างๆ

  • ทรัพย์สินทางปัญญากับการบริการสารสนเทศ และการก้าวสู่ยุคการบริการแบบเปิด
    1. ทรัพย์สินทางปัญญากับการบริการสารสนเทศ และการก้าวสู่ยุคการบริการแบบเปิด เป็นการอบรมแนะนำการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการนำผลงานผู้อื่นมาใช้อ้างอิงมีขอบเขต แค่ไหน และการสำเนาหนังสือให้กับผู้ใช้บริการสามารถทำได้ในระดับใด ซึ่งอาจารย์บุญเลิศ อรุณพิบูลย์ ได้กล่าวว่าการวิจัยหรือศึกษา อาจมีการทำซ้ำงานวรรณกรรม เช่น บทความ ข้อความจากหนังสือ หรืองานศิลปกรรม เช่น รูปภาพ จากงานอันมีลิขสิทธิ์ของยุคคลอื่นเพื่อประโยชน์ในการเรียนการสอนนั้น มีหลักในการพิจารณาอย่างไรที่ทำแล้วไม่มีความผิดในการละเมิดผลงาน หรือการนำผลงานที่อยู่ในห้องสมุดให้บริการผู้ใช้ควรกระทำอย่างไร ซึ่งข้อมูลจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับกฎหมายพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พระราชบัญญัติการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ และพระราชบัญญัติการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อใช้ในการพิจารณา
      ส่วนใหญ่การให้บริการในสถานศึกษา จะมีข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ คือสามารถทำซ้ำเพื่อใช้ในห้องสมุด หรือให้แก่ห้องสมุดอื่น แต่ต้องแต่เป็นการคัดลอกในกรณีสำรองหนังสือเล่มนั้นกรณีหนังสือเล่มนั้นชำรุด หรือการคัดลอกทั้งเล่มให้กับห้องสมุดที่ซื้อหนังสือแล้ว แต่ไฟไหม้ไม่สามารถให้บริการกับผู้ใช้ในขณะนั้นได้ ก่อนที่จะซื้อเล่มจริงมาสามารถให้ห้องสมุดที่มีคัดสำเนาให้ก่อนได้

      สำหรับอาจารย์และนักวิจัย หรือบรรณารักษ์ สามารถทำซ้ำงานบางตอนตามสมควรให้แก่บุคคลอื่นเพื่อประโยชน์ในการศึกษาหรือวิจัยได้ โดยจะต้องไม่คัดลอกทั้งเล่ม และไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของเจ้าของผลงานในด้านหากำไร ซึ่งที่กล่าวนี้จะเกี่ยวข้องกับกฎหมายลิขสิทธิ์ ในมาตรา 32 วรรค หนึ่ง มาตรา 33 มาตรา 34 ซึ่งกฎหมายจะยกเว้นได้ตามความสมควรเท่านั้น

      ท่านอาจารย์บุญเลิศได้กล่าวว่า การนำผลงานผู้อื่นมานั้นได้เพียงบางส่วน เนื่องจากปัจจุบันมีการใส่ข้อมูลลิขสิทธิ์ไว้บนภาพ ไฟล์เอกสาร ไฟล์วีดีโอ ไฟล์เพลงต่างๆ เพื่อติดตามได้จากแหล่งออนไลน์ โดยข้อมุลจะมีสิทธิ์ในการให้ใช้ ดังนี้ ถ้าเป็นกราฟ ก็ 1 กราฟ ต่อ หนังสือ 1 เล่ม ถ้าเป็นภาพดาวโหลดก็ 5 ภาพต่อ 1 เจ้าของผลงาน หรือร้อยละ 10 ของจำนวนภาพของเจ้าของผลงาน ซึ่งการใช้ภาพหากไม่ถูกลิขสิทธิ์ หรือต้องการรู้ว่าภาพที่เราใช้มีใครนำไปอ้างอิงที่ไหนบ้าง สามารถดูได้ที่ https://images.google.com เจ้าของจะรู้ทันทีว่ามีใครนำภาพนี้ไปใช้บ้าง

      โดยการตรวจสอบลิขสิทธิ์ผลงานนั้น สามารถใช้โปรแกรมในการตรวจสอบได้ อังนี้
      (1) Anti_KobPae เป็นระบบตรตรวจสอบความเป็นต้นบับของเอกสารภาษาไทยแบบอัตโนมัติ (Anti-KobPae)
      (2) CopyCat ระบบตรวจสอบลิขสิทธิ์ผลงานวิชาการและวิทยานิพนธ์
      (3) อักขราวิสุทธิ์ ระบบตรวจสอบลิขสิทธิ์ผลงานวิชาการและวิทยานิพนธ์ เช่น จุฬาฯได้ใช้ร่วมกับระบบ Turnitin ในการตรวจสอบผลงานที่เป็นภาษาไทย
      (4) Turnitin เป็นระบบตรวจสอบลิขสิทธิ์ผลงานที่มีข้อมูลจากคลังสถาบัน และตามลิ้งบนเว็บไซตทั่วไป เช่น www.google.com ก็สามารถมาตรวจซ้ำได้เช่นกัน

      ผู้ให้บริการควรมีการแนะนำในการเขียนอย่างไรไม่ให้ละเมิดลิขสิทธิ์เจ้าของผลงาน หรืออบรมเพิ่มความรู้ในขอบเขตการเขียนข้อความเพื่อแนะนำให้กับผู้ใช้บริการได้อย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไป
      สุดท้ายอาจารย์ได้แนะนำข้อมูล Open source ที่สามารถนำมาใช้ได้ฟรีไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ เช่น
      – ต้องการอักษรสวยๆ สามารถดาวโหลดได้ที่ www.f0nt.com
      – ต้องการภาพสวย ๆ สามารถดาวโหลดได้ที่ http://openclipart.org

    ประโยชน์ที่ได้รับ

    1. ประโยชน์ทีได้รับจากการทำ Infographic ทำให้ทราบการในกราฟิกในการสื่อสารในแต่ละรูปแบบ ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสรุปข้อมูล และเผยแพร่งานได้อย่างเหมาะสม
    2. นำความรู้ที่ได้มาปรับใช้ในการปฏิบัติงาน เพื่อหาแนวทางป้องกัน และรวมถึงการประชาสัมพันธ์การใช้โปรแกรมตรวจสอบการละเมิดลิขสิทธิ์ได้อย่างเหมาะสม
    Post Views: 646
    Share
    1
    lekyao
    lekyao

    Related posts

    July 25, 2024

    การสร้างความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ส่วนบุคคล บนระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-learning)


    Read more
    May 30, 2024

    แนะนำหนังสือ Knowledge management (KM)


    Read more
    September 13, 2021

    Online Library RMUTT


    Read more

    Leave a Reply

    You must be logged in to post a comment.

    บล็อค เพื่อการจัดการความรู้ ราชมงคลธัญบุรี : KM Blog@RMUTT (Rajamangala University of Technology Thanyaburi)

    บล็อค เพื่อการจัดการความรู้ มทร.ธัญบุรี

    ห้องสมุด สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 39 หมู่ที่ 1 ตำบลคลองหก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12110

    งานบริการทรัพยากรสารนิเทศอิเล็กทรอนิกส์

     Fanpage : eLibrary3.RMUTT

    Line@ : @261pxuhc

    elibrary@mail.rmutt.ac.th

    02 549 3655

    บริการด้านภาษา

    Fanpage : Language Center

      Line@ : @261pxuhc

    • การสร้างความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ส่วนบุคคล บนระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-learning)July 25, 2024
    • แนะนำหนังสือ Knowledge management (KM)May 30, 2024
    • จิตวิทยาบุคลิกภาพและการปรับตัว | Personality Psychology and AdjustmentJune 27, 2023
    • การจัดเก็บและการใช้ข้อมูลอย่างปลอดภัยขององค์กรเพื่อรองรับ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562” สำหรับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีJune 27, 2023
    • Online Library RMUTTSeptember 13, 2021

    (Knowledge Management blog Competency CRM EBSCO EndNote ICT intellectual capital Internet Protocol version 6 (IPv6) IPv6 KM knowledge presentation SEO training wordpress กฎหมาย การคัดลอกผลงาน การจัดการความรู้ การตลาด การทำงาน การนำเสนอ การบริการ การบริหารการเปลี่ยนแปลง การบริหารจัดการ การปฏิบัติงาน การพัฒนาบุคลากร การพัฒนาองค์กร การสืบค้น การสื่อสาร ความสำเร็จ คอมพิวเตอร์ ฐานข้อมูล ฐานข้อมูลออนไลน์ ฐานข้อมูลอ้างอิงงานวิจัย ทักษะการทำงาน. ประกันภัยรถยนต์ ประกันรถยนต์ ผู้นำ พระราชบัญญัติ ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ห้องสมุด องค์กร แนะนำหนังสือ

    เข้าสู่ระบบ

    Log in
    สร้างและพัฒนาโดย.
    ฝ่ายพัฒนาและเผยแพร่ข้อมูลเว็บไซต์

    (cc) KM Blog@RMUTT (Rajamangala University of Technology Thanyaburi)