LOGO-KM-BlogLOGO-KM-BlogLOGO-KM-BlogLOGO-KM-Blog
  • Home
  • เกี่ยวกับ
  • มทร.ธัญบุรี
  • คู่มือ/เอกสาร
  • ติดต่อเรา
  • เข้าสู่ระบบ
✕

การใช้งานโปรแกรม EndNote X8

  • Home
  • Blog
  • การพัฒนาตนเอง
  • การใช้งานโปรแกรม EndNote X8
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ และการประชุมคณะทำงานฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษา สถาบันอุดมศึกษา
February 8, 2017
การดำเนินงานระบบจัดเก็บเอกสารฉบับเต็มในรูปอิเล็กทรอนิกส์ (ThaiLIS)
July 5, 2017
Published by Wiriya Somboonphol on July 5, 2017
Categories
  • การพัฒนาตนเอง
  • กาารพัฒนาห้องสมุด
  • เทคโนโลยีสารสนเทศ
Tags
  • การจัดการบรรณานุกรม
  • โปรแกรม EndNote X8
  • โปรแกรมเอ็นโน้ต

นางสาววิริยา สมบูรณ์ผล
ตำแหน่ง บรรณารักษ์

เนื้อหาโดยสรุป

          การอบรม เรื่อง การใช้งานโปรแกรม EndNote X8  โดย คุณจิรวัฒน์ พรหมพร มีเนื้อหาการอบรมประกอบด้วยเรื่อง การสร้างคลังเก็บข้อมูลใหม่ ( New library), การตั้งค่าใน Library, การจัดการข้อมูล, การนำข้อมูลบรรณานุกรมเข้าใน Endnote, การนำข้อมูลที่จัดเก็บมาสร้างรูปแบบบรรณนุกรม (ฺBibliography Style) และการสำรองข้อมูล ดังนี้

          Endnote คือ โปรแกรมการจัดการข้อมูลบรรณานุกรมที่ได้มาจากการสืบค้นแหล่งข้อมูลต่าง ๆ รวมถึงสามารถจัดเก็บได้ทั้งรูปภาพ ตาราง กราฟ และบรรณานุกรม ซึ่งเก็บไว้ในลักษณะฐานข้อมูลห้องสมุดส่วนตัว (Private Reference Library) เพื่อนำมาใช้อ้างอิงในผลงานวิชาการ หรือบทความวิชาการได้


การสร้างคลังเก็บข้อมูลใหม่ (
New library)

          การสร้างคลังเก็บข้อมูลใหม่ สามารถสร้างได้ไม่จำกัดจำนวน และแต่ละ Library สามารถจัดเก็บรายการอ้างอิงได้ไม่จำกัดจำนวนเช่นกัน โดยมีวิธีการสร้าง ดังนี้

  • สำหรับการใช้งานครั้งแรกต้องสร้างคลังเก็บข้อมูลใหม่ก่อน พร้อมตั้งชื่อคลังข้อมูล หรือ ห้องสมุดส่วนตัว แต่ละ Library จะมีชื่อตามที่เราตั้งชื่อไว้
  • เลือก Disk Drive เพื่อใช้เป็นพื้นที่ในจัดเก็บข้อมูลรายการบรรณานุกรมทั้งหมดของ Library

 

การตั้งค่าใน Library

  1. การเปลี่ยน Font เป็นการเปลี่ยนรูปแบบตัวอักษรของชื่อเรื่อง ชื่อวารสาร หรือเขตข้อมูลที่ต้องการ รวมถึงทุกหน้าต่างของโปรแกรมจะขนาดและรูปแบบตัวอักษรเหมือนกันทั้งหมด
  2. การจัดวางตำแหน่งรูปแบบของหน้าจอ (Layout) เป็นการเปลี่ยนรูปแบบเค้าโครงหน้าจอการใช้งานโปรแกรม

 

การจัดการข้อมูล

          การจัดการข้อมูล เป็นการสร้างกลุ่มข้อมูลในแบบรูปแบบต่างๆ เช่น แบ่งตามเรื่อง แบ่งตามบทความ แบ่งตามปีที่พิมพ์ สามารถสร้างเป็น Group Set ได้สูงสุด 5,000 Group ต่อหนึ่งห้องสมุด ซึ่งมีด้วยกันทั้งหมด 3 รูปแบบ ดังนี้

  1. แบบ Custom Group เป็นการสร้างแบบตั้งเอง
  2. แบบ Smart Group เป็นการสร้างโดยให้เครื่องทำให้เป็นอัตโนมัติ
  3. แบบ Combine Group เป็นการผสมกันระหว่างแบบที่ 1 และแบบที่ 2

 

การนำข้อมูลบรรณานุกรมเข้าใน Endnote

          การนำเข้าข้อมูลบรรณานุกรมสู่โปรแกรม Endnote สามารถได้ 4 วิธี ดังนี้

  1. การพิมพ์ข้อมูลบรรณานุกรมด้วยตนเอง (Entering a References)
  • การแนบไฟล์ สามารถแนบไฟล์รูปแบบต่างๆ ได้ เช่น ไฟล์ Word, Excel, PowerPoint, PDF เป็นต้น ไม่เกิน 45 ไฟล์ต่อหนึ่งรายการบรรณานุกรม ในส่วนของไฟล์ PDF ที่จัดเก็บในโปรแกรมสามารถเพิ่มหรือไฮไลท์ข้อความที่สำคัญค้นหาเรื่องที่สนใจภายในเอกสาร พร้อมทั้งบันทึกหรือสั่งพิมพ์เอกสารได้
  • การแก้ไขข้อมูล รายการบรรณานุกรมเมื่อนำเข้าสู่โปรแกรม EndNote แล้วสามารถกลับเข้าไปแก้ไขข้อมูลบรรณานุกรมแต่ละรายการเพิ่มเติมได้
  • การสร้างข้อมูลอ้างอิงสำหรับรูปภาพ สามารถแนบไฟล์รูปภาพได้ไม่เกิน 1 รูปต่อหนึ่งรายการบรรณานุกรม
  1. การนำเข้าข้อมูลบรรณานุกรมตรงจากฐานข้อมูลออนไลน์ต่างๆ (Direct Export) เป็นการถ่ายโอนรายการบรรณานุกรมที่สืบค้นจากฐานข้อมูลต่างๆ เข้าสู่ EndNote โดยตรง เช่น
  • ฐานข้อมูล CAB Abstract
  • ฐานข้อมูล Science Direct
  • ฐานข้อมูล SpringerLink
  • ฐานข้อมูล Web of Science
  • ฐานข้อมูลระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (Library OPAC)
  1. การนำเข้าข้อมูลบรรณานุกรมจากการบันทึกไฟล์รายการ (Importing Reference Data into EndNote) ต้องบันทึกรายการอ้างอิงที่สืบค้นจากฐานข้อมูลต่างๆ ก่อน แล้วนำมาถ่ายโอนเข้าสู่ EndNote โดยใช้ Filter ที่เหมาะสม
  1. การนำเข้าเอกสาร full text รูปแบบไฟล์ PDF ซึ่งเป็นการถ่ายโอนไฟล์เอกสารชนิดไฟล์ PDF เพื่อช่วยในการค้นหาและนำเข้าข้อมูลบรรณานุกรมสู่โปรแกรม EndNote

 

การนำข้อมูลที่จัดเก็บมาสร้างรูปแบบบรรณนุกรม (bibliography style)

          การจะสร้างรูปแบบบรรณานุกรม ก่อนอื่นต้องเลือกรูปแบบบรรณานุกรมจากส่วน Style ตามรูปแบบที่ต้องการ ซึ่งสามารถเลือกแก้ไขหรือการตั้งค่าการแสดงผลในเขตข้อมูล (field) ต่างๆ ของรูปแบบบรรณานุกรมได้ จากนั้นถึงทำการสร้างบรรณานุกรม ดังนี้

1. การทำบรรณานุกรม (bibliography) และ การอ้างอิงในเนื้อหา (citation in text) ร่วมกับโปรแกรม Microsoft Word ซึ่งการทำบรรณานุกรมมี 2 แบบ ดังนี้

  • การสร้างบรรณานุกรมแบบไฟล์เดียว เช่น การเขียนบทความ เป็นการสร้างบรรณานุกรมให้กับเอกสารฉบับเดียว
  • การสร้างบรรณานุกรมแบบแยกบทแยกไฟล์ เช่น การทำดุษฎีนิพนธ์ หรือ วิทยานิพนธ์ ภาคภาษาอังกฤษ เป็นการสร้างบรรณานุกรมให้กับหลายเอกสารในแต่ละบทโดยแยกเป็นหลายไฟล์ พร้อมทั้งสร้างเอกสารอ้างอิงที่อยู่ท้ายเอกสารให้ด้วย

2. การทำรายการบรรณานุกรม (bibliographies) และการแทรกรายการอ้างอิง (citation) ในสไลด์ ของโปรแกรม Microsoft Power Point รูปแบบการสร้างบรรณานุกรมให้กับเอกสารจะเหมือนกับโปรแกรม Microsoft Word ซึ่งจะทำการแทรกรายการบรรณานุกรมที่สไลด์สุดท้ายของงานนำเสนอ

 

การสำรองข้อมูล

          เป็นการสำรองข้อมูลไปจัดเก็บไว้ยังแหล่งจัดเก็บข้อมูลอื่นๆ ข้อมูลเหล่านี้ที่ทำการสำรองไว้สามารถถ่ายโอนข้อมูลกลับเข้ามาสู่เครื่องใหม่อีกครั้งได้ ซึ่งสามารถสำรองข้อมูลจากโปรแกรม EndNote ได้ 2 วิธีด้วยกัน

  • การสร้างสำเนา library ขึ้นมาเพื่อสำรองข้อมูล ( Compressed library) เพื่อสามารถไปเปิดใช้งานโปรแกรม EndNote กับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นได้ โดยเปิดจาก library file ที่มีนามสกุล .enlx ที่ได้บันทึกหรือสำรองข้อมูลไว้
  • การเชื่อมต่อ EndNote X8 กับ EndNote Online และ Endnote Application เพื่อสำรองข้อมูล (synchronize) หรือเพื่อต้องการใช้ข้อมูลบรรณานุกรมใน Endnote จากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้ เพราะข้อมูลจะซิงก์กันในกรณีที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต

 

ประโยชน์ของ Endnote สำหรับการผลิตผลงานวิชาการ หรือ บทความวิชาการ

  1. ใช้เป็นเครื่องมือในการรวบรวม หรือทบทวนวรรณกรรม (literature review)
  2. ใช้เป็นเครื่องมือในการจัดทำข้อมูลบรรณานุกรมที่ใช้อ้างอิงเพื่อจัดเตรียมต้นฉบับสำหรับผลงานวิชาการต่างๆ
  3. ใช้เป็นเครื่องมือในการปกป้องวิทยานิพนธ์ หรือ บอกถึงที่มาของข้อมูลอ้างในวิทยานิพนธ์ ต่อคณะกรรมการที่ตรวจสอบ

 

ประโยชน์ที่ได้รับ

          ได้รับความรู้และความเข้าใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับรูปแบบการใช้งานและฟังก์ชันที่มีเพิ่มมากขึ้นในเวอร์ชัน EndNote X8 รวมถึงได้ทราบถึงเทคนิคและวิธีการใช้งานโปรแกรมเวอร์ชันใหม่ เพื่อนำความรู้เหล่านี้มาใช้ในการทำงานและการสอนการใช้งานโปรแกรมในครั้งต่อไปได้อย่างถูกต้อง

Post Views: 925
Share
4
Wiriya Somboonphol
Wiriya Somboonphol

Related posts

June 27, 2023

จิตวิทยาบุคลิกภาพและการปรับตัว | Personality Psychology and Adjustment


Read more
September 13, 2021

Online Library RMUTT


Read more
August 3, 2020

4 ขั้นตอนการจัดการเรียนการสอนออนไลน์


Read more

Comments are closed.

บล็อค เพื่อการจัดการความรู้ ราชมงคลธัญบุรี : KM Blog@RMUTT (Rajamangala University of Technology Thanyaburi)

บล็อค เพื่อการจัดการความรู้ มทร.ธัญบุรี

ห้องสมุด สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 39 หมู่ที่ 1 ตำบลคลองหก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12110

งานบริการทรัพยากรสารนิเทศอิเล็กทรอนิกส์

 Fanpage : eLibrary3.RMUTT

Line@ : @261pxuhc

elibrary@mail.rmutt.ac.th

02 549 3655

บริการด้านภาษา

Fanpage : Language Center

  Line@ : @261pxuhc

  • การสร้างความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ส่วนบุคคล บนระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-learning)July 25, 2024
  • แนะนำหนังสือ Knowledge management (KM)May 30, 2024
  • จิตวิทยาบุคลิกภาพและการปรับตัว | Personality Psychology and AdjustmentJune 27, 2023
  • การจัดเก็บและการใช้ข้อมูลอย่างปลอดภัยขององค์กรเพื่อรองรับ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562” สำหรับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีJune 27, 2023
  • Online Library RMUTTSeptember 13, 2021

(Knowledge Management blog Competency CRM EBSCO EndNote ICT intellectual capital Internet Protocol version 6 (IPv6) IPv6 KM knowledge presentation SEO training wordpress กฎหมาย การคัดลอกผลงาน การจัดการความรู้ การตลาด การทำงาน การนำเสนอ การบริการ การบริหารการเปลี่ยนแปลง การบริหารจัดการ การปฏิบัติงาน การพัฒนาบุคลากร การพัฒนาองค์กร การสืบค้น การสื่อสาร ความสำเร็จ คอมพิวเตอร์ ฐานข้อมูล ฐานข้อมูลออนไลน์ ฐานข้อมูลอ้างอิงงานวิจัย ทักษะการทำงาน. ประกันภัยรถยนต์ ประกันรถยนต์ ผู้นำ พระราชบัญญัติ ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ห้องสมุด องค์กร แนะนำหนังสือ

เข้าสู่ระบบ

Log in
สร้างและพัฒนาโดย.
ฝ่ายพัฒนาและเผยแพร่ข้อมูลเว็บไซต์

(cc) KM Blog@RMUTT (Rajamangala University of Technology Thanyaburi)